วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตั้งจุดตรวจที่หน่วยบริการประชาชนตำบลแม่เย็น (๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔)


วันนี้ตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น.เป็นต้นไปผมเดินทางไปร่วมตั้งจุดตรวจกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริการประชาชนโดยจุดตรวจวันนี้ ร.ต.ท.เกรียงศักดิ์ มณีจันสุข รอง สวป.เป็นหัวหน้าชุดมีกำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัิติรวม ๗ คน








ผมอยู่ปฏิบัติหน้าที่กับเจ้าหน้าที่จนถึงเวลาประมาณ ๑๘.๑๐ น.จึงเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่อื่น ขณะปฏิบัติหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ๑ ราย เพศชายข้อหาผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ



ภาพประกอบส่วนหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้




<< ภาพประกอบทั้งหมด (๔๔ ภาพ) >>

ประชุมเจ้าหน้าที่สายตรวจมอบหมายภารกิจก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ (๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔)


วันนี้เวลาประมาณ ๑๕.๕๐ น.ผมเรียกประชุมเจ้าหน้าที่สายตรวจรถจักรยานยนต์ผลัดที่จะปฏิบัติหน้าที่ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐-๒๔.๐๐ น.เพื่อชี้แจงและมอบหมายภารกิจก่อนออกปฏิบัติหน้าที่หน้าอาคารที่ทำการสถานี โดยก่อนชี้แจงและมอบหมายภารกิจได้ตรวจสอบความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในเรื่องเครื่องแต่งกาย,อาวุธปืนประจำกาย,อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายตรวจและยานพาหนะแล้วพบว่าทุกความมีความพร้อมเป็นอย่างดี

เจ้าหน้าที่ผลัดนี้ประกอบด้วย
๑.ด.ต.จรัส โกฎิสืบ
๒.ด.ต.อดุลย์ อุ่นเอ้ย
๓.ด.ต.อดุลย์ นามวงค์
๔.ด.ต.นิพนธ์ ศรีพรม




ภารกิจที่แจ้งและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่นำไปปฏิบัติมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประชุมเมื่อครั้งที่ผ่านๆ มา รวมถึงผมได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ ที่นำมาเสนอช่วงเช้าของวันนี้อีกส่วนหนึ่งด้วย

เจ้าหน้าที่รับทราบ

การดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ (๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔)


บ่้ายวันนี้มีเรื่องมาบันทึกในบล็อกเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนทราบเรื่องหนึ่งนั่นก็คือการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ ครับ สาระสำคัญเรื่องนี้มีอยู่ว่าตำรวจภูธรจังหวัดเชียงรายมีหนังสือสั่งการไปยังสถานีตำรวจทุกแห่งในปกครองให้เข้มงวดกวดขันและดำเนินการตามอำนาจหน้าในมาตรา ๒๒ แห่ง พ.ร.บ.นี้ โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามอนุมาตรา ๓ และกำหนดแนวทางปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการในการลดและเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามอนุมาตรา ๔ ด้วยการกำหนดมาตรการการปฏิบัติของจังหวัดที่เป็นรูปธรรมรวมถึงงดรับทุนสนับสนุนจากบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการบริโภค ปกป้องเยาวชนจากโทษพิษภัยและสร้างจิตสำนึกใหม่ให้เยาวชนของชาติอันเป็นการป้องกันการริเริ่มการบริโภคเครื่องดื่ีมแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชน


ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือที่ สธ ๐๔๐๗.๘/ว๔๖๔ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ขอความร่วมมือพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ สืบเนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดงานวันมหิดลในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ โดยป้ายประชาสัมพันธ์การจัดงานได้ปรากฏภาพสัญญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ภาคประชาชน อาทิ แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ ทนายความ นักวิชาการ นักวิจัย นักกฎหมาย ผู้นำศาสนา แกนนำชุมชนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น ๔๓๖ รายยื่นข้อเรียกร้องให้งดการเผยแพร่ป้ายประสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่้เกิดขึ้นและแสดงความรับผิดชอบด้วยการงดเผยแพร่ป้ายประชาสัมพันธ์ที่ปรากฏภาพลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มนั้นรวมทั้งแจ้งขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดกวดขันและดำเนินการตามข้อความที่ปรากฏในวรรคแรกของบทความวันนี้ (รายละเอียดทั้งหมดกรุณาคลิกที่นี่)

จึงขออนุญาตแจ้งข้อมูลและขอความร่วมมือมายังพี่น้องทุกท่านเพื่อทราบและปฏิบัติตามหนังสือที่ผมนำมาเรียนให้ทราบผ่านบล็อกของผมอีกทางหนึ่ง และในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเราก็จะเข้มงวดกวดขันและดำเนินการตาม พ.ร.บ.นี้เพื่ออนาคตของเยาวชน ลูกหลานของเราอย่างจริงจังครับ

ภาพด้านล่างเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจตราร้านอาหาร/สถานบริการและสถานที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเรา


วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สวัสดีวันหยุด (๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)


สวัสดีครับ วันนี้วันอาทิตย์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๓๐ ตุึลาคม พุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๒๕๕๔ ปี วันหยุดวันที่ ๒ ของสัปดาห์นี้สำหรับพี่น้องหลายๆ คน ขอให้ใช้ชีวิตในวันหยุดอย่างมีความสุขรวมถึงขอส่งแรงใจและความปรารถนาดีมายังพี่น้องที่ต้องประสบอุทกภัยในขณะนี้ด้วย ในส่วนของตำรวจเราก็พร้อมที่จะให้การบริการพี่น้องทุกเมื่อ มีอะไรจะให้ตำรวจเรารับใช้บอกได้เลยนะครับ

เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ขอนำเรื่องหน้าที่ของ สวป.หรือคำเต็มก็คือสารวัตรป้องกันปราบปรามมาฝากกันว่าตามระเบียบตำรวจของเรานั้ันกำหนดหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งนี้ไว้อย่างไร โดยผมนำมาจากคู่มือการปฏิบัติในการจัดและควบคุมสายตรวจ (ฉบับปรับปรุงปี ๒๕๔๓) ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยในคู่มือนี้กำหนดหน้าที่ของ สวป.ไว้ดังนี้

"นอกจากในหน้าที่ของ สวป.ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วให้ สวป.ปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

ภารกิจ

. สวป.จะต้องร่วมกับ รอง ผกก.ป.จัดทำแผนการตรวจและตรวจการปฏิบัติของสายตรวจว่าเป็นไปตามแผนการตรวจหรือไม่ พร้อมทั้งร่วมกันประชุมหัวหน้าสายตรวจตำบลและสายตรวจตำบลทุกครั้งที่มีการ เปลี่ยนผลัดเพื่อสรุปสถานการณ์ให้ทราบและมอบหมายภารกิจให้ปฏิบัติ



. สวป.ต้องประชุมปล่อยแถวสายตรวจรถยนต์ รถจักรยานยนต์ทุกวันอย่างน้อยวันละ ๑ ผลัดแล้วให้บันทึกการประชุมชี้แจงไว้ในสมุดบันทึกด้วยลายมือของตนเอง



การตรวจ

. สวป.จะต้องตรวจในเขตชุมชน (ตู้่แดง ตู้ยาม สายตรวจต่างๆ และยามจุด) อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ วันและนอกเขตชุมชน (ตรวจหมู่บ้าน ตำบลและที่พักสายตรวจ) อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของสายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์และสายตรวจตำบล ในการตรวจแต่ละครั้งให้ตรวจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจุดตรวจทุกประเภทและลงชื่อในสมุดตรวจทุกครั้ง

. สวป.จะต้องตรวจความถูกต้องของสมุดตู้แดงที่หัวหน้าสายตรวจนำเสนอและจะต้องนำเสนอ รอง ผกก.ป.ทุกวัน และเสนอหัวหน้าสถานีตำรวจทุก ๗ วัน กรณีที่ตรวจพบว่าไม่ถูกต้องให้พิจารณาดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่และบันทึกข้อสั่งการดังกล่าวไว้ในสมุดตู้แดงนั้นๆ ด้วย



. สวป.จะต้องตรวจความถูกต้องของสมุดสายตรวจตำบลที่หัวหน้าสายตรวจตำบลนำเสนอ และจะต้องนำเสนอ รอง ผกก.ป.หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกการเปลี่ยนผลัด

๔. สวป.จะต้องตรวจรายงานการปฏิบัติของหัวหน้าสายตรวจหรือร้อยเวร ๒๐ และสายตรวจทุกชนิดในแต่ละวันว่ามีผลเป็นประการใดและมีข้อมูลใดบ้างที่จะต้องแจ้งให้ทราบทั่วกัน รวมทั้งนำเสนอ รอง ผกก.ป.ทราบด้วยทุกวัน"

ครับ นั่นก็คือหน้าที่ของ สวป.ที่กำหนดไว้ซึ่งกระผมในฐานะดำรงตำแหน่งนี้จะพยายามและตั้งใจปฏิบัติ หน้าที่ตามที่รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องทุกคนตลอดไป

ปิดท้ายด้วยส่วนหนึ่งของประมวลภาพในหน้าที่ของผมครับ



รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะครับ

สวัสดีครับผม