สภาพเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองเราเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้สภาวะแวดล้อมทางสังคมเกิดการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันครอบครัวและชุมชนตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป เยาวชนตกอยู่สภาพครอบครัวแตกแยก ขาดความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดทำให้เด็กมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าถูกทอดทิ้งขาดผู้เอาใจใส่เหลียวแลจากผู้ปกครอง ปัญหาเหล่านี้นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาพสังคมในปัจจุบันไม่ว่าในเมืองใหญ่หรือมีความเจริญจะเห็นว่ามีสถานเริงรมย์และแหล่งอบายมุขมากมาย หรือแม้แต่ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ก็ได้กลายเป็นแหล่งชุมชนของเด็กและเยาวชนที่เกิดค่านิยมใหม่และถูกมอมเมาด้วยอบายมุขและสิ่งเสพติดในเด็ก เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาซึ่งเป็นอนาคตของชาติและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ประเทศชาติต้องประสบกับปัญหาสังคมอย่างแน่นอน
สถานีตำรวจภูธรเวียงเชียงรุ้งได้ตระหนักถึงพิษภัยของ “ยาเสพติดให้โทษ” ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในสถานศึกษาอย่างหนักและยังพบปัญหาอบายมุขสิ่งมอมเมาอย่างอื่นได้แก่การพนัน สื่อลามกและการทะเลาะวิวาทอันเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนที่ต้องได้รับการป้องกันแก้ไขรวมถึงการให้การดูแลเอาใจใส่จากสังคมทุกรูปแบบเพื่อเตรียมเยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อการพัฒนาประเทศต่อไปจึงได้จัดทำโครงการครู ๕ นาทีหน้าเสาธงขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาและสนองตอบนโยบายการป้องกันปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
๒. วัตถุประสงค์และความมุ่งหมาย
๒.๑ เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างคณะข้าราชการตำรวจกับผู้บริหาร ครู อาจารย์ สร้างแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย
๒.๒ เพื่อสร้างความคุ้มกันให้กับเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษาและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันกันสารเสพติด การพนัน สื่อลามก การทะเลาะวิวาทให้หมดไปจากสถานศึกษา
๒.๓ เพื่อให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
๒.๔ เพื่อสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสถานศึกษา “โครงการโรงเรียนสีขาว”
เยาวชนวัยเรียนในสถานศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเวียงเชียงรุ้ง
๔. การปฏิบัติ
จัดชุดปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วยชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์สัมพันธ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเข้าดำเนินการตามขั้นการปฏิบัติตามโครงการนี้อย่างต่อเนื่องที่ได้กำหนดไว้
๕.๑ จัดชุดปฏิบัติการไปบรรยายให้ความรู้ในสถานศึกษาตามข้อ ๓ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้งตามหัวข้อบรรยายในข้อ ๖
๕.๒ ประสานการปฏิบัติกับสถานศึกษาเพื่อกำหนดวันเวลาในการปฏิบัติล่วงหน้า
๕.๓ ใช้เวลาบรรยายดังกล่าวในช่วงหลังเคารพธงชาติ ก่อนเข้าห้องเรียนในตอนเช้าประมาณ ๕-๑๐ นาทีหรือตามความเหมาะสมโดยประสานกับสถานศึกษากำหนดขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๕.๔ กรณีไม่สามารถดำเนินการช่วงเคารพธงชาติได้ชุดปฏิบัติการสามารถเข้าไปพบปะและให้ความรู้ตามเวลาที่เห็นสมควรโดยประสานการปฏิบัติกับโรงเรียน
๕.๕ เมื่อได้ดำเนินการตามโครงการแล้วให้รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติประจำเดือนให้ ภ.จว.เชียงรายทราบ
๖.๑ ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและการป้องกัน
๖.๒ ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
๖.๓ กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนกระทำผิด
๖.๔ ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็ก เยาวชนและสตรี
๖.๕ ความรู้เกี่ยวกับการล่อล่วงเด็กหญิงเพื่อการค้าประเวณี
๖.๖ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
๖.๗ การแจ้งข่าวอาชญากรรมอย่างปลอดภัย
๗. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
๘. งบประมาณ
ใช้งบประมาณของหน่วย
๙.๑ ข้าราชการตำรวจกับข้าราชการครู เด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษาและเยาวชนเป็นมิตรสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
๙.๒ ข้าราชการตำรวจกับคณะครู อาจารย์มีรูปแบบการป้องกันปราบปรามยาเสพติดในสถานศึกษาเป็นแนวเดียวกันสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของสารเสพติดได้ในระดับหนึ่ง
๙.๓ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและเยาวชนมีความรู้เท่ากันผู้ค้ายาเสพติดในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา มีภูมิคุ้มกันตนเองได้เป็นอย่างดีและเลิกเสพสารเสพติดในที่สุด
๑๐. การประเมินผลและการรายงาน
๑๐.๑ ติดตามประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เป็นผลจากการที่ได้ทำเป็นโครงการและกิจกรรมไปแล้วว่าได้ผลมากน้อยเพียงใดแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขแผนงานและแผนปฏิบัติการตามโครงการ
๑๐.๒ รายงานผลการปฏิบัติตามของชุดปฏิบัติการทุกวันที่ ๕ ของเดือนถัดไปส่ง ภ.จว.เชียงรายต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น