วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นำเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้าวัดรับฟังธรรมะจากพระภิกษุสงฆ์ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ (๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

วันนี้เวลา ๐๘.๐๐ น.ผมนำนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรและเจ้าหน้่าที่สายตรวจรถยนต์,จักรยานยนต์และจราจรที่จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันนี้เดินทางไปรับฟังธรรมะจากพระภิกษุสงฆ์ที่วัดศรีดอยเรือง ตำบลทุ่งก่อ ตา่มโครงการตำรวจสายตรวจเข้าวัดก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ของ สภ.เวียงเชียงรุ้ง






เจ้าหน้าที่ผู้เข้าร่วมรับฟังธรรมะครั้งนี้ประกอบด้วย
๑. ร.ต.ต.ภาณุพันธ์ ชื่นใจ รอง สวป.
๒. ร.ต.ต.วิชิน กล้าหาญ รอง สวป.
๓. จ.ส.ต.สริทธิ์พล จันทร์อิฐ
๔. จ.ส.ต.ทศพร อาริยะ
๕. จ.ส.ต.ชูชาติ ระเวงวรรณ
๖. จ.ส.ต.สุทัศน์ กองตา



เมื่อพร้อมแล้วพระคุณเจ้าได้แสดงธรรมะแก่พวกเราภายในวิหารของวัดโดยก่อนแสดงธรรมท่านได้กล่าวชมเชยถึงโครงการนี้ว่าเป็นโครงการที่ดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเราหันหน้าเข้าวัดเพื่อน้อมนำพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตประจำวันทั้งเรื่องส่วนตัวและการงานได้เป็นอย่างดีโดยขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะดียิ่ง



สำหรับหัวข้อธรรมะที่พระคุณเจ้าได้เมตตาแสดงธรรมในครั้งนี้คือเรื่องอิทธิบาล ๔ ซึ่งมีดังนี้

คำว่าอิทธิบาทแปลว่าบาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึงสิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใดต้องทำตนให้สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่เรียกว่าอิทธิบาทซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน


ฉันทะ คือความพอใจในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้ข้อนี้เป็นกำลังใจอันแรกที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้อต่อไปทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึงการการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอนเป็นระยะยาวจนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่


จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ คำนี้รวมความหมายของคำว่าสมาธิอยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่



พระคุณเจ้าได้มีัเมตตาขยายความประกอบด้วยว่าในส่วนของตำรวจนั้นสามารถนำหลักธรรมที่แสดงว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริงโดยตำรวจทุกคนจะต้องมีความพอใจหรือ "ฉันทะ" ในหน้าที่การทำงานของตนเองเป็นเบื้องต้นก่อนว่างานที่ได้รับมอบหมายหรือมีหน้าที่รับผิดชอบนั้นล้วนแล้วแต่เกิดประัโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนในด้านการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข การดูแลรักษาความปลอดภัยในชีัวิตและทรัพย์สินเป็นหลักซึ่งเป็นหน้าที่ที่น่าภูมิใจยิ่้ืงที่ได้มาทำ ณ จุดนี้ ต่อไปเมื่อมีความพอใจในหน้าที่การงานนั้นแล้วตำรวจเราจะต้องมี "วิริยะ" หรือความขยันหมั่นเพียรตั้่งใจปฏิบัติหน้าที่ที่รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถโดยไม่ีหวันไหวต่ออุปสรรคใดๆ หากมีปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขให้ต่อไป



ประการต่อมาก็คือตำรวจจะต้องมี "จิตตะ" ต่องานที่รับมอบหมายซึ่งหมายถึงนอกจากตั้งใจทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วจะต้องมีจิตใจจดต่อ มุ่งมั่นทุ่มเทในงานนั้นๆ ด้วย และประการสุดท้ายตำรวจจะต้องมี "วิมังสา" สอดส่องดูแลและมุ่งเน้นถึงความสำเร็จของงานที่ทำซึ่งในหน้าที่ของตำรวจที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือความปลอดภัยในชีัวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนนั่นเอง จึงขอให้ผู้เข้ารับฟังธรรมะครั้งนี้ทุกคนจงนำหลักธรรมะที่ได้รับนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป



ในนามของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงเชียงรุ้งขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าวัดศรีดอยเรืองที่กรุณามีเมตตาแสดงธรรมะอันสำคัญยิ่งครั้งนี้แก่พวกเราเป็นอย่างสูง โดยพวกเราทุกคนจะนำหลักธรรมะที่ได้รับนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติสืบไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น