เย็นนี้ขอนำเรื่องหน้าที่ของ สวป.หรือคำเต็มก็คือสารวัตรป้องกันปราบปรามมาฝากกันว่าตามระเบียบตำรวจของเรานั้ันกำหนดหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งนี้ไว้อย่างไร โดยผมนำมาจากคู่มือการปฏิบัติในการจัดและควบคุมสายตรวจ (ฉบับปรับปรุงปี ๒๕๔๓) ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยในคู่มือนี้กำหนดหน้าที่ของ สวป.ไว้ดังนี้
"นอกจากในหน้าที่ของ สวป.ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วให้ สวป.ปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
ภารกิจ
๑. สวป.จะต้องร่วมกับ รอง ผกก.ป.จัดทำแผนการตรวจและตรวจการปฏิบัติของสายตรวจว่าเป็นไปตามแผนการตรวจหรือไม่ พร้อมทั้งร่วมกันประชุมหัวหน้าสายตรวจตำบลและสายตรวจตำบลทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนผลัดเพื่อสรุปสถานการณ์ให้ทราบและมอบหมายภารกิจให้ปฏิบัติ
๒. สวป.ต้องประชุมปล่อยแถวสายตรวจรถยนต์รถจักรยานยนต์ทุกวันอย่างน้อยวันละ ๑ ผลัดแล้วให้บันทึกการประชุมชี้แจงไว้ในสมุดบันทึกด้วยลายมือของตนเอง
การตรวจ
๑. สวป.จะต้องตรวจในเขตชุมชน (ตู้่แดง ตู้ยาม สายตรวจต่างๆ และยามจุด) อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ วันและนอกเขตชุมชน (ตรวจหมู่บ้าน ตำบลและที่พักสายตรวจ) อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของสายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์และสายตรวจตำบล ในการตรวจแต่ละครั้งให้ตรวจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจุดตรวจทุกประเภทและลงชื่อในสมุดตรวจทุกครั้ง
๒. สวป.จะต้องตรวจความถูกต้องของสมุดตู้แดงที่หัวหน้าสายตรวจนำเสนอและจะต้องนำเสนอ รอง ผกก.ป.ทุกวันและเสนอหัวหน้าสถานีตำรวจทุก ๗ วัน กรณีที่ตรวจพบว่าไม่ถูกต้องให้พิจารณาดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่และบันทึก ข้อสั่งการดังกล่าวไว้ในสมุดตู้แดงนั้นๆ ด้วย
๓. สวป.จะต้องตรวจความถูกต้องของสมุดสายตรวจตำบลที่หัวหน้าสายตรวจตำบลนำเสนอและจะต้องนำเสนอ รอง ผกก.ป.หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกการเปลี่ยนผลัด
๔. สวป.จะต้องตรวจรายงานการปฏิบัติของหัวหน้าสายตรวจหรือร้อยเวร ๒๐ และสายตรวจทุกชนิดในแต่ละวันว่ามีผลเป็นประการใดและมีข้อมูลใดบ้างที่จะต้องแจ้งให้ทราบทั่วกัน รวมทั้งนำเสนอ รอง ผกก.ป.ทราบด้วยทุกวัน"
ครับ นั่นก็คือหน้าที่ของ สวป.ที่กำหนดไว้ซึ่งกระผมในฐานะดำรงตำแหน่งนี้จะพยายามและตั้งใจปฏิบัติ หน้าที่ตามที่รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องทุกคนตลอดไป
รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น