การศึกษาดูงานครั้งนี้ พ.ต.อ.ธนกฤต เรือนแก้ว รอง ผบก.อก.ภ.๕ และคณะนายตำรวจประจำ ศปก.ภ.๕ ให้การต้อนรับ,บรรยายสรุป ชี้แจงรายละเอียด แนวทางการปฏิบัติพร้อมตอบข้อซักถาม ต่างๆ แก่พวกเราสรุปได้ดังนี้
ความเป็นมาของ ศปก.ภ.๕ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้สามารถรองรับภารกิจในการรักษาความมั่นคงภายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตลอดจนติดตามสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องนั้นจึงมีนโยบายให้มีการพัฒนาให้พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการทุกระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือของผู้บังคับบัญชาในการขับเคลื่อนการปฏิบัติการและบูรณาการการทำงาน โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ตำรวจภูธรภาค ๕ จึงได้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ โดยได้จัดทำโครงการรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเป็นจำนวนเงิน ๑ ล้านบาทเศษ ในการปรับปรุงห้องและจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยประกอบด้วยโทรทัศน์สี Lcd จำนวน ๑๐ เครื่อง สำหรับเป็นมอนิเตอร์สำหรับรับข้อมูลข้าวสารตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วนสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี
ขีดความสามารถของ ศปก.ภ.๕
๑.ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการผ่านระบบ ศปก.ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยสามารถเรียกข้อมูลต่างๆ จากฝ่ายอำนวยการ แผนที่และภาพจากกล้อง CCTV ในพื้นที่มาเพื่อการตัดสินใจและการวางแผนได้ตลอดเวลา
๒.มีระบบการแจ้งข่าวสารผ่านระบบ LINE ไปยังผู้บังคับบัญชาระดับ บช. และ ภ.จว. โดย ศูนย์ ศปก.ฯ จะเป็นผู้รวบรวมและกลั่นกรองข้อมูล จาก ศปก.ภ.จว. ก่อน ๐๘.๐๐ น. และ รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบก่อน ๐๙.๐๐ น. ของทุกวัน
๓.ติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบ VDO CONFERENCE กับ สภ.ฯ ในสังกัด และ ด่านตรวจถาวร ผ่านระบบ Microsoft Lync และสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ทุกสถานี โดยเฉพาะทุกวันอังคาร เวลา ๐๙.๐๐ น. ในการประชุม ศปก.ตร. ซึ่ง ผบ.ตร. ,รอง ผบ.ตร. และ ผู้บังคับบัญชาระดับภาค มีข้อราชการ เพื่อให้ สภ.สามารถดำเนินการตามสั่งการได้ทันที
๔. สามารถเชื่อมต่อระบบ CCTV ,ระบบอ่านแผ่นป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (License Plate) มาแสดงผลทางจอภาพ ณ ศปก. โดย ขณะนี้สามารถเชื่อมต่อระบบ CCTV ได้จากแยกต่างๆ ของ จว.เชียงใหม่ จำนวน ๒๔ ช่อง และ จว.ลำพูน จำนวน ๑๒ ช่อง และจะดำเนินเชื่อมต่อให้ครบทั้ง ๘ จังหวัด
๕. พัฒนาระบบ e-cop ให้สามารถรองรับระบบ Smart Office รองรับผู้บังคับบัญชา และ ฝ่ายอำนวยการสามารถทำงานผ่าน Smart Phone หรือ Ipad ได้ และสามารถให้ผู้บังคับบัญชาสามารถยืนยันเอกสาร ผ่านระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
๖. ใช้หลักการการทำงานที่มีข้อมูลพื้นที่จาก สถานีตำรวจ โดยปรับเปลี่ยนการรายงานทางเอกสารปกติ เป็นระบบการบันทึกข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อไม่ให้เกิดการรายงานที่ซ้ำซ้อน ประกอบด้วย การรายงานสถานภาพกำลังพล ,การรายงานการข่าวและสถานภาพอาชญากรรม, การรายงานสถิติอุบัติเหตุจราจร ,การรายงานสถานภาพวัสดุอุปกรณ์ คุรุภัณท์ ,การรายงานข้อมูลหมู่บ้านเป้าหมายงานมวลชนสัมพันธ์,การรวบรวมสถิติข้อมูลร้องเรียนข้าราชการตำรวจ และการจัดทำระบบสารบัญคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล
นอกจากนี้คณะวิทยากรยังได้แนะนำพวกเราถึงเทคนิค วิธีการ แนวทางที่จะต้องปฏิบัติต่างๆ ใน ศปก.ของแต่ละหน่วยว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในแต่ละช่วงหรือแต่ละวันเพื่อการดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ผู้บังคับบัญชากำหนดไว้
การศึกษาดูงานของพวกเราในวันนี้เสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น.หลังจากนั้น พ.ต.อ.มงคล สัมภวะผล กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกแก่คณะวิทยากรแล้วเดินทา่งกลับที่ตั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น