"ข่าวสด" รวบรวมประเด็นน่าสนใจ รายงานดังนี้
วิษณุ เครืองาม
อีกทั้งตำรวจและการเมืองต่างเข้ามามีอิทธิพลต่อกันและกัน ซึ่งปฎิสัมพันธ์เช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหา แต่ไม่ได้เกิดปัญหาเฉพาะกับตำรวจแต่เกิดขึ้นกับข้าราชการในทุกหน่วยงาน
สิ่งที่ตำรวจแตกต่างจากข้าราชการประเภทอื่นคือ ตำรวจมีอำนาจที่มาจากกฎหมาย ทั้งการจับกุมคุมขัง มียศ ซึ่งยศนี่แหละที่จะเอาเป็นเอาตายกันให้ได้และมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์หรือโอกาสที่จะทำให้เสียประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง โอกาสที่จะทำให้คนรวยขึ้นหรือจนลง โอกาสที่จะทำให้คนชนะหรือแพ้ สิ่งเหล่านี้ข้าราชการอื่นไม่มี ทั้งหมดนี้ฝรั่งพูดไว้นานเเล้วว่าคือ PRO (โปร) ตัวP (Power) คือตำรวจมีอำนาจ R (Rank) คือ มียศ และ O (opportunity) คือมีโอกาส
ทุกวันนี้ที่ตำรวจขวนขวายจะเป็นจะตายก็เพราะ "โปร" นี่แหละ ที่มีอำนาจก็อยากจะมีให้มากขึ้น อยากมียศที่สูงขึ้น และมีโอกาสในการฉกฉวยโอกาสจากหน้าที่การงานปัญหาทั้งหมดที่ว่านี้ทำให้ฝ่ายการเมืองรู้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนตรงนี้
นักการเมืองที่อยากเลี้ยงตำรวจก็มอบ "โปร" ให้กับตำรวจคนนั้น แต่ถ้าไม่ชอบหน้าตำรวจคนไหนก็จะบั่นทอนโปรตรงนี้ เช่นถ้าอยู่ในนครบาลแล้วอำนาจเยอะก็ส่งไปอยู่ที่สุไหงปาดี เป็นต้น ฉะนั้นถ้าเขาจะสร้างคุณ เขาก็จะให้สิ่งที่ดี แต่ถ้าเขาเหม็นหน้าเขาก็จะสร้างโทษด้วยสิ่งเหล่านี้
การเมืองมี ๒ มิติ เหมือนเหรียญ ๒ ด้าน
ด้านแรกคือ การเมืองคืออำนาจ การจัดสรรอำนาจ การจัดระเบียบสังคมส่วนอีกด้านหนึ่งการเมืองก็คือวิชามาร เล่ห์เพทุบาย มายา และการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
ฉะนั้นหากตำรวจตกไปในเหรียญด้านใดประโยชน์ที่ประเทศได้รับก็จะต่างกัน
หากเป็นเหรียญด้านแรกก็จะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นคุณและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชน
แต่เหรียญอีกด้านทำให้ตำรวจใช้ความพยายามทุกอย่างเพื่อให้ได้โปรไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม และถ้าได้ในสิ่งที่ต้องการเเล้วก็พยายามรักษาสิ่งนั้นไว้ให้นาน รวมทั้งพยายามทำให้ตำแหน่งสูงขึ้น
"ตำรวจที่ปฎิบัติงานทุกวันนี้ถูกล้อมกรอบอยู่หลายชั้นและท่านจะแหวกกรอบเหล่านั้นออกไปได้ยาก กรอบแรกคือหลักนิติธรรม กรอบที่สองคือหลักธรรมาภิบาล กรอบที่สามคือคุณธรรมจริยธรรม ส่วนทางออกของปัญหาทั้งหมดคือข้อแรก คือต้องให้ความรู้และการศึกษาแก่ข้าราชการตำรวจให้มากทั้งเรื่องหลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล เรื่องความเป็นกลางทางการเมืองและเรื่องคุณธรรมจริยธรรม แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเจ้าหน้าที่ตำรวจรู้เรื่องเหล่านี้หรือไม่
ข้อสองคือกระจายอำนาจของตำรวจออกเป็นกรมกองต่างๆ ซึ่งจะเป็นกรอบป้องกันอำนาจการแทรกแซงทางการเมืองได้ดี
ข้อสามคือ ตำรวจต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจนในการเป็นช่องทางลดช่องว่างการทุจริต
ข้อสี่คือ แก้เรื่องโปรของตำรวจให้ลดลง ทั้งอำนาจ ยศ และโอกาสในการทุจริตคอร์รัปชั่น
ข้อห้าคือการตั้งสหภาพแรงงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ข้อหกคือ การตั้งคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมเพื่อป้องกันอำนาจทางการเมือง และข้อเจ็ดคือ ตำรวจต้องคิดว่าตัวเองเป็นประชาชน และอยากให้ความคิดเรื่องตำรวจเพื่อชุมชนเป็นรูปธรรมที่สุด เพราะชุมชนและประชาชนจะได้เป็นเกราะป้องกันให้ตำรวจ " นายวิษณุกล่าว
ที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1qUXlPVGcyTUE9PQ==§ionid=
ข้อสามคือ ตำรวจต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจนในการเป็นช่องทางลดช่องว่างการทุจริต
ข้อสี่คือ แก้เรื่องโปรของตำรวจให้ลดลง ทั้งอำนาจ ยศ และโอกาสในการทุจริตคอร์รัปชั่น
ข้อห้าคือการตั้งสหภาพแรงงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ข้อหกคือ การตั้งคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมเพื่อป้องกันอำนาจทางการเมือง และข้อเจ็ดคือ ตำรวจต้องคิดว่าตัวเองเป็นประชาชน และอยากให้ความคิดเรื่องตำรวจเพื่อชุมชนเป็นรูปธรรมที่สุด เพราะชุมชนและประชาชนจะได้เป็นเกราะป้องกันให้ตำรวจ " นายวิษณุกล่าว
พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช
ตำรวจกับการเมืองแยกกันไม่ออก เพราะกฎหมายบัญญัติให้การเมืองบังคับบัญชาตำรวจทั้งโดยตรงคือนายกรัฐมนตรีและดาบในมือคือ ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินที่จะจัดการกับข้าราชการที่ผิดระเบียบวินัย
แต่ไม่มีกฎหมายฉบับไหนที่ระบุไว้ว่านักการเมืองและการเมืองเป็นกลางทางราชการมีแต่ข้าราชการต้องเป็นกลางทางการเมือง
การแทรกแซงทางการเมืองจึงมีมาโดยตลอดตามคำว่า "โปร" ที่นายวิษณุกล่าวเมื่อสักครู่นั้น ในฐานะที่เป็นตำรวจอยากบอกว่า O หรือโอกาสใน "โปร" นั้นคือผลประโยชน์ไม่มีอย่างอื่น ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างการเมืองกับตำรวจผูกโยงกันด้วยผลประโยชน์และต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน
เมื่อการเมืองช่วยเหลือตำรวจให้ได้ "โปร" ตำรวจก็จะผูกผลประโยชน์ให้กับนักการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ฉะนั้นวันนี้ถ้าตำรวจมีจริยธรรมปัญหาเรื่องนี้น่าจะเบาบางลงได้
ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นมีอยู่ ๒ ประเด็นที่ทำให้เกิดความแตกต่างคือกลัว ระบบและอิทธิพลของการเมืองจึงก่อให้เกิดการโกง จึงไม่มีเกียรติ
แต่ถ้าตำรวจไม่กลัวและไม่โกง เกียรติของตำรวจก็จะเกิดขึ้น
การแทรกแซงทางการเมืองจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีจริยธรรมตั้งแต่ระดับหัวหน้าคือ ผบ.ตร. ลงไป ถ้าวันนี้ ผบ.ตร.และผู้บังคับบัญชาตำรวจมีอิสระทั้งทางความคิดและทางการเมือง การทำงานเพื่อรับใช้บ้านเมืองและประชาชนก็จะเป็นอิสระ
ที่บอกว่าคุมตำรวจส่วนหัวได้เเล้วจะคุมทุกอย่างได้หมดนั้นไม่จริง เพราะด้วยประสบการณ์การเป็นตำรวจบอกให้รู้ว่าผู้ที่มีอิทธิพลที่แท้จริงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) คือตำรวจชั้นผู้น้อย เนื่องจากจำนวนตำรวจชั้นประทวนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีถึง ๑ แสนนาย
ฉะนั้นถ้าจะคุมตร.ได้ต้องย้ายตำรวจชั้นประทวนทั้ง ๑ แสนนายออกไปให้หมดถึงจะคุมได้
การเมืองมาเเล้วก็ไป เหมือนลมพัดลมเพ ฉะนั้นไม่ต้องไปกลัวใคร ตำรวจต้องมีศักดิ์ศรี คุณธรรมจริยธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชนเป็นหลัก
โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งไม่ต้องกลัว ใครทำดีก็แต่งตั้งคนนั้นไปเลย เนื่องจากเป็นอำนาจของเราที่สามารถทำได้
แต่ถ้ายังไม่มีใครทำตามผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน ๒ ปีต้องมีผู้ติดคุกจากการโยกย้ายแต่งตั้งแน่นอน
รศ.จุรี วิจิตรวาทการ
ปัญหาตำรวจและการเมืองเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งเเต่อดีตเหมือนพันธนาการของระบบอุปถัมภ์ที่ผูกรัดมาอย่างยาวนาน ผลพวงของระบบอุปถัมภ์ตรงนี้เป็นพันธนาการที่ผูกรัดมาจนปัจจุบันดิ้นหนีออกไปได้ยาก
ยิ่งเมื่อมองพัฒนาการทางการเมืองของไทย ตั้งเเต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมาก็จะเห็นได้ชัดว่ามันเป็นการตอกย้ำพันธนาการโดยไม่มีการคลี่คลายปมเท่าที่ควร
แต่เดิมระบบอุปถัมภ์สร้างประโยชน์ให้คนในสมัยนั้น แต่พอเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย ได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางโครงสร้างและระบบ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือเราไม่ได้เปลี่ยนความคิดและจิตสำนึกของคนให้สอดคล้องกับระบบและโครงสร้างที่เราเปลี่ยนแปลง
ระบบของตำรวจในปัจจุบันโดยเฉพาะงบประมาณไม่จุนเจือให้ตำรวจทำหน้าที่อย่างสง่างาม เป็นแรงกดดันให้ตำรวจต้องหันไปหาผู้มีอำนาจผู้อุปถัมภ์ที่จะช่วยจุนเจือให้อยู่ได้
ปัญหาใหญ่อยู่ที่ระบบอุปถัมภ์ ทำให้ลืมมองเรื่องจิตสาธารณะ เเละครอบงำการเมืองการปกครองของเรา
ฉะนั้น เราต้องมาคิดกันใหม่และสร้างจิตสำนึกกันใหม่เพื่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมของคนในสังคมให้สอดคล้องกับโครงสร้างระบบและกฎหมายในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1qUXlPVGcyTUE9PQ==§ionid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น