ภาพมายาที่เกิดขึ้นเพียงการได้ถ่ายรูปกับผู้นำสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วทำให้หลงเข้าใจผิดคิดว่าจะเกิดกลไกการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานตามที่คาดหวังก่อนหน้าที่จะขอเข้าพบนายตำรวจใหญ่นั้นมักเกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลที่ยึดติดพิธีกรรมและวิธีการเดิมๆ
โดยปราศจากการตั้งคำถามต่อผลที่จะเกิดขึ้น
ถึงแม้ว่าจะเคยมีประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วหลายครั้งหลายคราว่า
การเข้าพบดังกล่าวมีผลเพียงการได้ภาพถ่ายร่วมกันระหว่างคณะของตนกับผู้นำตำรวจ...จบเพียงแค่นั้น
“วันๆ แค่ถ่ายรูป แถลงข่าว ประชุมติดตามงานก็หมดเวลาแล้ว...ไม่มีเวลาที่จะมาคิด วิเคราะห์ วางแผนยุทธศาสตร์ใดๆ” นายตำรวจผู้ใกล้ชิดพูดถึงเวลาของนายที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการของคณะบุคคลต่างๆ ที่พยายามจะเข้ามาขอพบ “นาย” พร้อมพกพาความหวังในการสร้างความร่วมมือกับตำรวจ “ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นการขอให้ตำรวจทำอะไรมากกว่าจะมาชวนกันร่วมมือทำงาน” นายตำรวจกล่าว
ขอเพียงนำไปพูดได้ว่าได้ส่งข้อเสนอเชิงนโยบายกับนายโดยตรง ถึงแม้ว่านายจะไม่มีเวลาในการพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวมากนักก็ขอเพียงให้นายได้ร่วมถ่ายรูปและพบปะคณะผู้มาเยี่ยมเยียนเพื่อให้สามารถนำรูปดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณะและสร้างความหมายว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมารับข้อเสนอด้วยตนเองเลยนะ (ดังนั้น น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิบัติตามมา)”
ด้วยสถานการณ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิธีคิดเช่นนี้ส่งผลให้เกิดภาพประชาสัมพันธ์ตามที่ต่างๆ ในรูปแบบของการแสดงให้เห็นว่านายใหญ่ของตำรวจให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การปราบปรามยาเสพติด การกระทำรุนแรงต่อเด็ก สตรีและคนชรา การรณรงค์สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐% เป็นต้น
การกระทำดังกล่าวเกิดผลได้เพียง “การสร้างกระแส” โดยกระแสที่สร้างขึ้นนั้นเป็นกระแสระยะสั้นๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินการน้อยมาก
หากเข้าใจวัฒนธรรมการทำงานในโลกของตำรวจจะมองเห็นสัจธรรมข้อที่ว่าตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีตำรวจต่างๆ นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานทั้งหลายทั้งปวง พวกเขาเหล่านั้นถูก “สั่ง” ให้ปฏิบัติงานโดยคำสั่งที่ลงมายังผู้ปฏิบัตินั้นอุปมาอุปไมยได้ว่าเป็นรูปแบบของ “การสั่งรอบทิศทาง” รับคำสั่งเสียจนไม่มีเวลาที่จะใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองในการวิเคราะห์หาแนวทางในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพซึ่งมีความแตกต่างไปตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
เวลาที่หมดไปกับการทำงานตามคำสั่งจากเบื้องบนและคำสั่งรอบทิศทางนั้นยังไม่ได้สร้างความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจให้เกิดขึ้นกับเหล่าบรรดาตำรวจผู้ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจต่างๆ เท่ากับความรู้สึกที่ว่า “ต้องทำงานตามคำสั่งของนายอันเป็นผลมาจากการประสานขอความร่วมมือมาจากหน่วยอื่นโดยที่ฝ่ายอำนวยการของนายมิได้ไตร่ตรอง วิเคราะห์อย่างถ่องแท้ว่าเป็นภารกิจของตำรวจหรือไม่ สร้างภาระงานที่เกินจำเป็นหรือไม่ รวมไปถึงผลการปฏิบัตินั้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนจริงหรือไม่”
“พวกเขาใช้คำสั่งจากเบื้องบนมาบีบพวกเราให้ทำตาม...แต่มันไม่เกิดผลอย่างยั่งยืนหรอก” นายตำรวจกล่าว
“พวกเราอดนึกไม่ได้ว่าพวกเราเป็นข้าราชการตำรวจหรือว่าเป็นคนของกระทรวงไหนหรือบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าตกลงเราเป็นลูกจ้างของบริษัทไหนกันแน่?” นายดาบตำรวจระบายความรู้สึกที่อัดอั้นต่อการทำงานตามคำสั่งที่ส่งลงมาจากเบื้องบน “ผมอยากให้ ตร. (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) กลั่นกรองว่าเรื่องใดเราควรทำ เรื่องใดไม่ใช่งานของเรา...เพราะถ้าเรารับทุกเรื่องแบบนี้เราก็ต้องโดนสังคมประณามอยู่หน่วยเดียวแบบนี้ร่ำไป...ถ้าประชาชนมาเห็นมารับรู้อย่างอาจารย์เขาจะรู้ว่าตำรวจทำอะไรบ้างแล้วหน่วยอื่นทำอะไรบ้าง...เราจะทำยังไงให้คนเข้าใจว่าตำรวจทำงานหนักแค่ไหน”
หรือว่าตำรวจจะต้องทำตามอุดมคติของตำรวจให้ได้ “อดทนต่อความเจ็บใจ...ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก”?
“วันๆ แค่ถ่ายรูป แถลงข่าว ประชุมติดตามงานก็หมดเวลาแล้ว...ไม่มีเวลาที่จะมาคิด วิเคราะห์ วางแผนยุทธศาสตร์ใดๆ” นายตำรวจผู้ใกล้ชิดพูดถึงเวลาของนายที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการของคณะบุคคลต่างๆ ที่พยายามจะเข้ามาขอพบ “นาย” พร้อมพกพาความหวังในการสร้างความร่วมมือกับตำรวจ “ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นการขอให้ตำรวจทำอะไรมากกว่าจะมาชวนกันร่วมมือทำงาน” นายตำรวจกล่าว
ขอเพียงนำไปพูดได้ว่าได้ส่งข้อเสนอเชิงนโยบายกับนายโดยตรง ถึงแม้ว่านายจะไม่มีเวลาในการพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวมากนักก็ขอเพียงให้นายได้ร่วมถ่ายรูปและพบปะคณะผู้มาเยี่ยมเยียนเพื่อให้สามารถนำรูปดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณะและสร้างความหมายว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมารับข้อเสนอด้วยตนเองเลยนะ (ดังนั้น น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิบัติตามมา)”
ด้วยสถานการณ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิธีคิดเช่นนี้ส่งผลให้เกิดภาพประชาสัมพันธ์ตามที่ต่างๆ ในรูปแบบของการแสดงให้เห็นว่านายใหญ่ของตำรวจให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การปราบปรามยาเสพติด การกระทำรุนแรงต่อเด็ก สตรีและคนชรา การรณรงค์สวมหมวกนิรภัย ๑๐๐% เป็นต้น
การกระทำดังกล่าวเกิดผลได้เพียง “การสร้างกระแส” โดยกระแสที่สร้างขึ้นนั้นเป็นกระแสระยะสั้นๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินการน้อยมาก
หากเข้าใจวัฒนธรรมการทำงานในโลกของตำรวจจะมองเห็นสัจธรรมข้อที่ว่าตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีตำรวจต่างๆ นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานทั้งหลายทั้งปวง พวกเขาเหล่านั้นถูก “สั่ง” ให้ปฏิบัติงานโดยคำสั่งที่ลงมายังผู้ปฏิบัตินั้นอุปมาอุปไมยได้ว่าเป็นรูปแบบของ “การสั่งรอบทิศทาง” รับคำสั่งเสียจนไม่มีเวลาที่จะใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองในการวิเคราะห์หาแนวทางในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพซึ่งมีความแตกต่างไปตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
เวลาที่หมดไปกับการทำงานตามคำสั่งจากเบื้องบนและคำสั่งรอบทิศทางนั้นยังไม่ได้สร้างความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจให้เกิดขึ้นกับเหล่าบรรดาตำรวจผู้ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจต่างๆ เท่ากับความรู้สึกที่ว่า “ต้องทำงานตามคำสั่งของนายอันเป็นผลมาจากการประสานขอความร่วมมือมาจากหน่วยอื่นโดยที่ฝ่ายอำนวยการของนายมิได้ไตร่ตรอง วิเคราะห์อย่างถ่องแท้ว่าเป็นภารกิจของตำรวจหรือไม่ สร้างภาระงานที่เกินจำเป็นหรือไม่ รวมไปถึงผลการปฏิบัตินั้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนจริงหรือไม่”
“พวกเขาใช้คำสั่งจากเบื้องบนมาบีบพวกเราให้ทำตาม...แต่มันไม่เกิดผลอย่างยั่งยืนหรอก” นายตำรวจกล่าว
“พวกเราอดนึกไม่ได้ว่าพวกเราเป็นข้าราชการตำรวจหรือว่าเป็นคนของกระทรวงไหนหรือบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าตกลงเราเป็นลูกจ้างของบริษัทไหนกันแน่?” นายดาบตำรวจระบายความรู้สึกที่อัดอั้นต่อการทำงานตามคำสั่งที่ส่งลงมาจากเบื้องบน “ผมอยากให้ ตร. (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) กลั่นกรองว่าเรื่องใดเราควรทำ เรื่องใดไม่ใช่งานของเรา...เพราะถ้าเรารับทุกเรื่องแบบนี้เราก็ต้องโดนสังคมประณามอยู่หน่วยเดียวแบบนี้ร่ำไป...ถ้าประชาชนมาเห็นมารับรู้อย่างอาจารย์เขาจะรู้ว่าตำรวจทำอะไรบ้างแล้วหน่วยอื่นทำอะไรบ้าง...เราจะทำยังไงให้คนเข้าใจว่าตำรวจทำงานหนักแค่ไหน”
หรือว่าตำรวจจะต้องทำตามอุดมคติของตำรวจให้ได้ “อดทนต่อความเจ็บใจ...ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก”?
ที่มา : http://goo.gl/FQ62ew
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น