การโหมกระพือความรู้สึกในลักษณะกล่าวโทษผลการปฏิบัติงานของตำรวจที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ห้วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้นมีผลอย่างไรต่อสังคมไทย
?
การกระทำย่ำยีเกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นตำรวจผ่านการใช้วาจาและรูปแบบวิธีการต่างๆ ที่ปรากฏผ่านสื่อสารมวลชนจนเป็นที่ประจักษ์ทั่วกันในสังคมแล้วนั้นจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของตำรวจเป็นที่พึงพอใจตามที่สังคมต้องการจริงหรือ ? การคิดที่จะปฏิรูปตำรวจเกิดจากการเห็นความจำเป็นของการทำหน้าที่ของตำรวจในสังคมไทยอย่างแท้จริงใช่หรือไม่ ?แนวทางที่จะนำมาซึ่งการก่อให้เกิดการปฏิรูปตำรวจในเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริงควรจะเป็นเช่นไร ?
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปองค์กรตำรวจเพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและมีข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกันว่า “การวิจารณ์ตำรวจในเรื่องความบกพร่องผิดพลาดของตำรวจเพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรตำรวจที่เคยปฏิบัติกันในนานาประเทศนั้นล้วนทำให้การปฏิรูปเกิดความล้มเหลว เพราะตำรวจจะพากันผนึกกำลังต่อต้าน ทำให้การปฏิรูปตำรวจเกิดขึ้นยากกว่าเดิม” (กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ๒๕๕๐) โดยมีความเห็นว่าการเปิดโอกาสให้ตำรวจมีส่วนร่วมในการคิด ปรับปรุงและพัฒนาองค์กรของตนเองอย่างแท้จริงโดยเฉพาะการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจากภายในองค์กรตำรวจเองจะเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เพราะจะสามารถดึงเอาศักยภาพของคนในองค์กรที่มีความรักและความภาคภูมิใจในองค์กรและหวังจะให้องค์กรเป็นที่รักของประชาชนอยู่แล้วมาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรตำรวจ
ลองหันกลับมามองตำรวจไทยในความเป็นจริงโดยใช้สายตาของผู้ที่มีความเห็นว่าบทบาทหน้าที่และภารกิจตำรวจเป็นภารกิจที่มีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับคุณภาพชีวิตของคนไทยจะเห็นได้ว่า องค์กรตำรวจไม่ได้ลอยอยู่อย่างอิสระ หากแต่มีความเกี่ยวข้องผูกโยงกับคุณภาพของระบบการเมือง ระบบสังคม และวัฒนธรรมไทย อีกทั้งองค์กรตำรวจยังมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรอื่นๆ อีกด้วย ลองทบทวนดูเถิดว่า การที่ผู้คนในสังคมไทยต้องเผชิญอยู่กับปัญหาเด็กแว้นหรือการกระทำรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการบกพร่องในการทำหน้าที่ของตำรวจแต่เพียงหน่วยเดียวใช่หรือไม่ ? มีองค์กรใดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวบ้าง? โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว หรือการปล่อยปละละเลย เพิกเฉยจนปรากฏการณ์ดังกล่าวดำรงเป็นระยะเวลานานในสังคมไทย?
การตำหนิเพ่งโทษตำรวจในฐานะของผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุม ปราบปราม ซึ่งควรจะเป็นการกระทำในกระบวนการท้ายสุด ในขณะที่ให้อภัยหรือมองข้ามองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันยับยั้งปัญหาในขั้นต้นนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรมแก่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ? นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการตำหนิเพ่งโทษประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจโดยมิได้ทำความเข้าใจที่มาที่ไปของปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างชัดเจนรอบด้าน ส่งผลต่อการตกต่ำของขวัญและกำลังใจของตำรวจที่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่เข้มแข็งที่สุดแต่กลับกลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกตำหนิเพ่งโทษในขณะที่องค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกลับไม่ได้รับการพิจารณาความบกพร่องที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขในฐานะต้นธารแห่งปัญหาและปัญหาก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป
ถึงแม้ว่าจะเห็นด้วยในส่วนหนึ่งที่ว่า “การวิจารณ์ตำรวจในเรื่องความบกพร่องผิดพลาดของตำรวจจะทำให้ตำรวจพากันผนึกกำลังต่อต้าน” แต่ก็ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ว่า “ตำรวจไทยจะพากันต่อต้านการปฏิรูปองค์กรตำรวจ” หากแต่กลับมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าตำรวจส่วนใหญ่ตระหนักเป็นอย่างดีว่าภาระงานที่หนักอึ้งที่พวกเขากระทำอยู่ท่ามกลางบริบทการทำงานที่มีต้นทุนในสังคมที่ต่ำเกินจริงนั้นถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจในสังคมทั้งหลายควรที่จะเหลียวกลับมาดูแลและให้ความเป็นธรรมในการทำหน้าที่ของพวกเขาเหล่านั้นให้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพียงแต่ขอตั้งคำถามแทนเหล่าบรรดาไพร่พลตำรวจว่า คนที่จะปฏิรูปตำรวจนั้นมีความเข้าใจธรรมชาติงานตำรวจไทยมากน้อยเพียงใด ? ตำรวจได้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการปฏิรูปองค์กรของพวกเขาหรือไม่ ? และสิ่งที่สำคัญคือต้องไม่ลืมว่าองค์กรตำรวจไม่ได้อยู่อย่างอิสระ ดังนั้น ความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอของระบบการเมือง ระบบสังคมวัฒนธรรมและประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานตำรวจล้วนมีผลกระทบกับประสิทธิภาพงานตำรวจด้วยทั้งสิ้น
ถ้าท่านคิดเพียงแค่ว่าโจรชั่วใช้ระเบิดป่วนเมืองมากเพราะตำรวจไม่จับกุมให้ได้อย่างรวดเร็วนั้นก็อาจเป็นคำตอบที่ถูกเพียงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าท่านคิดตั้งคำถามใหม่ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังหรือเป็นที่มาของการใช้ระเบิดป่วนเมืองของโจรชั่ว ท่านก็จะพบคำตอบที่นำไปสู่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นต้นตอของปัญหาสังคมที่แท้จริง
เราจะลองปรับเปลี่ยนวิธีการมองสังคมเพื่อให้เห็นแง่ปมที่อยู่เบื้องหลังความซับซ้อนซ่อนเงื่อนได้บ้างหรือไม่ ? การเปลี่ยนมุมมองอาจจะไม่ช่วยทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างได้ แต่อย่างน้อยก็ทำให้คนที่ทำงานด้วยความยากลำบากไม่ต้องมากลายเป็น “แพะ” จนหมดขวัญและกำลังใจในการเป็นตำรวจที่ดีไม่ใช่หรือ ?
การกระทำย่ำยีเกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นตำรวจผ่านการใช้วาจาและรูปแบบวิธีการต่างๆ ที่ปรากฏผ่านสื่อสารมวลชนจนเป็นที่ประจักษ์ทั่วกันในสังคมแล้วนั้นจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของตำรวจเป็นที่พึงพอใจตามที่สังคมต้องการจริงหรือ ? การคิดที่จะปฏิรูปตำรวจเกิดจากการเห็นความจำเป็นของการทำหน้าที่ของตำรวจในสังคมไทยอย่างแท้จริงใช่หรือไม่ ?แนวทางที่จะนำมาซึ่งการก่อให้เกิดการปฏิรูปตำรวจในเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริงควรจะเป็นเช่นไร ?
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปองค์กรตำรวจเพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและมีข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกันว่า “การวิจารณ์ตำรวจในเรื่องความบกพร่องผิดพลาดของตำรวจเพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรตำรวจที่เคยปฏิบัติกันในนานาประเทศนั้นล้วนทำให้การปฏิรูปเกิดความล้มเหลว เพราะตำรวจจะพากันผนึกกำลังต่อต้าน ทำให้การปฏิรูปตำรวจเกิดขึ้นยากกว่าเดิม” (กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ๒๕๕๐) โดยมีความเห็นว่าการเปิดโอกาสให้ตำรวจมีส่วนร่วมในการคิด ปรับปรุงและพัฒนาองค์กรของตนเองอย่างแท้จริงโดยเฉพาะการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจากภายในองค์กรตำรวจเองจะเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เพราะจะสามารถดึงเอาศักยภาพของคนในองค์กรที่มีความรักและความภาคภูมิใจในองค์กรและหวังจะให้องค์กรเป็นที่รักของประชาชนอยู่แล้วมาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรตำรวจ
ลองหันกลับมามองตำรวจไทยในความเป็นจริงโดยใช้สายตาของผู้ที่มีความเห็นว่าบทบาทหน้าที่และภารกิจตำรวจเป็นภารกิจที่มีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับคุณภาพชีวิตของคนไทยจะเห็นได้ว่า องค์กรตำรวจไม่ได้ลอยอยู่อย่างอิสระ หากแต่มีความเกี่ยวข้องผูกโยงกับคุณภาพของระบบการเมือง ระบบสังคม และวัฒนธรรมไทย อีกทั้งองค์กรตำรวจยังมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรอื่นๆ อีกด้วย ลองทบทวนดูเถิดว่า การที่ผู้คนในสังคมไทยต้องเผชิญอยู่กับปัญหาเด็กแว้นหรือการกระทำรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการบกพร่องในการทำหน้าที่ของตำรวจแต่เพียงหน่วยเดียวใช่หรือไม่ ? มีองค์กรใดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวบ้าง? โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว หรือการปล่อยปละละเลย เพิกเฉยจนปรากฏการณ์ดังกล่าวดำรงเป็นระยะเวลานานในสังคมไทย?
การตำหนิเพ่งโทษตำรวจในฐานะของผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุม ปราบปราม ซึ่งควรจะเป็นการกระทำในกระบวนการท้ายสุด ในขณะที่ให้อภัยหรือมองข้ามองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันยับยั้งปัญหาในขั้นต้นนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรมแก่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ? นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการตำหนิเพ่งโทษประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจโดยมิได้ทำความเข้าใจที่มาที่ไปของปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างชัดเจนรอบด้าน ส่งผลต่อการตกต่ำของขวัญและกำลังใจของตำรวจที่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่เข้มแข็งที่สุดแต่กลับกลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกตำหนิเพ่งโทษในขณะที่องค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกลับไม่ได้รับการพิจารณาความบกพร่องที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขในฐานะต้นธารแห่งปัญหาและปัญหาก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป
ถึงแม้ว่าจะเห็นด้วยในส่วนหนึ่งที่ว่า “การวิจารณ์ตำรวจในเรื่องความบกพร่องผิดพลาดของตำรวจจะทำให้ตำรวจพากันผนึกกำลังต่อต้าน” แต่ก็ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ว่า “ตำรวจไทยจะพากันต่อต้านการปฏิรูปองค์กรตำรวจ” หากแต่กลับมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าตำรวจส่วนใหญ่ตระหนักเป็นอย่างดีว่าภาระงานที่หนักอึ้งที่พวกเขากระทำอยู่ท่ามกลางบริบทการทำงานที่มีต้นทุนในสังคมที่ต่ำเกินจริงนั้นถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจในสังคมทั้งหลายควรที่จะเหลียวกลับมาดูแลและให้ความเป็นธรรมในการทำหน้าที่ของพวกเขาเหล่านั้นให้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพียงแต่ขอตั้งคำถามแทนเหล่าบรรดาไพร่พลตำรวจว่า คนที่จะปฏิรูปตำรวจนั้นมีความเข้าใจธรรมชาติงานตำรวจไทยมากน้อยเพียงใด ? ตำรวจได้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการปฏิรูปองค์กรของพวกเขาหรือไม่ ? และสิ่งที่สำคัญคือต้องไม่ลืมว่าองค์กรตำรวจไม่ได้อยู่อย่างอิสระ ดังนั้น ความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอของระบบการเมือง ระบบสังคมวัฒนธรรมและประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานตำรวจล้วนมีผลกระทบกับประสิทธิภาพงานตำรวจด้วยทั้งสิ้น
ถ้าท่านคิดเพียงแค่ว่าโจรชั่วใช้ระเบิดป่วนเมืองมากเพราะตำรวจไม่จับกุมให้ได้อย่างรวดเร็วนั้นก็อาจเป็นคำตอบที่ถูกเพียงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าท่านคิดตั้งคำถามใหม่ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังหรือเป็นที่มาของการใช้ระเบิดป่วนเมืองของโจรชั่ว ท่านก็จะพบคำตอบที่นำไปสู่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นต้นตอของปัญหาสังคมที่แท้จริง
เราจะลองปรับเปลี่ยนวิธีการมองสังคมเพื่อให้เห็นแง่ปมที่อยู่เบื้องหลังความซับซ้อนซ่อนเงื่อนได้บ้างหรือไม่ ? การเปลี่ยนมุมมองอาจจะไม่ช่วยทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างได้ แต่อย่างน้อยก็ทำให้คนที่ทำงานด้วยความยากลำบากไม่ต้องมากลายเป็น “แพะ” จนหมดขวัญและกำลังใจในการเป็นตำรวจที่ดีไม่ใช่หรือ ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น