"ดีแต่พูด"
เป็นข้อกล่าวหาเชิงดูแคลนและมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อคำพูดของผู้นำหมดสิ้นลงเพราะผู้นำไม่สามารถทำให้คำพูดดีๆ
เป็นจริงได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก นำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธามิใช่น้อย
สังคมไทยต้องยอมรับความจริงว่าบุคลิกลักษณะนิสัยและวิถีการดำเนินชีวิตต่างๆ ของคนในสังคมส่วนใหญ่ขาดวินัยและมีสำนึกต่อส่วนรวมต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ทำให้สังคมมีแนวโน้มที่จะมีสภาพสังคมในรูปแบบสังคมที่ไร้ระเบียบ วุ่นวาย ละเมิดสิทธิต่อกันของผู้คนในสังคมสูงด้วย นั่นหมายความว่าตำรวจไทยจะมีภารกิจที่หนักอึ้งมากมาย อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอย่างมากจนอาจเกิดข้อคำถามได้ว่า ในความเป็นจริงแล้วนั้น ตำรวจไทยใช้หลักรัฐศาสตร์และหลักนิติศาสตร์ในการควบคุมสังคมในสัดส่วนอย่างไร? การที่ตำรวจไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติศาสตร์อย่างเข้มแข็งได้จริงนั้น ทำให้ขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงานของตำรวจเพิ่มมากขึ้นด้วย และภาระที่มากขึ้นดำรงอยู่ภายใต้การบริหารทรัพยากรที่จำกัด นั่นหมายถึงผลการปฏิบัติงานของตำรวจไทยย่อมมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ปรากฏการณ์ของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นคือ ปรากฏการณ์ส่วนผิวที่ประชาชนผู้ใช้บริการของตำรวจได้รับประสบการณ์ตรง มองเห็นง่ายและมักตีความตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอนั้น โดยน้อยคนนักที่จะพยายามมองหาคำอธิบายเบื้องหลังปรากฏการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเหล่านั้น แล้วอะไรอยู่เบื้องหลังผลงานที่ไม่ดีของตำรวจในสายตาของประชาชน?
“นี่หรือตำรวจของประชาชน อย่างที่ ผบ.ตร.เคยกล่าวเป็นวิสัยทัศน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า เป็นตำรวจมืออาชีพเพื่อความผาสุกของประชาชน ดูตำรวจมืออาชีพเขาทำแบบนี้หรือ”
นี่คือคำขึ้นต้นของประชาชนซึ่งมีสถานะเป็นผู้สื่อข่าว สื่อสารความคิดเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ตนเองสู่สังคม ด้วยการโพสต์ข้อความลงในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับความไม่พอใจจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนายหนึ่งซึ่งเป็นต้นเรื่องที่มาของคำพูดดังกล่าว (ตำรวจหนึ่งนายสร้างความไม่พอใจจนต้องการคำตอบจาก ผบ.ตร.?)
เขาเล่าว่าได้รับความเดือดร้อนจากกรณีที่รถถูกชนแล้วหลบหนีไป จึงไปแจ้งความต่อตำรวจและคาดหวังเต็มเปี่ยมว่าตำรวจจะให้ความสำคัญกับคดีและช่วยเหลือติดตามจับกุมผู้กระทำผิดมารับการลงโทษตามกฎหมาย หากแต่สิ่งที่เขาคาดหวังกลับมิได้เป็นเช่นนั้น !
เมื่อเขาไปติดตามเรื่องกลับได้รับคำตอบว่า "งานยุ่ง ไม่มีเวลาไปตามคดีให้เพราะคดีล้นมือ" พนักงานสอบสวนผู้นั้นยังแนะนำต่ออีกว่า "ให้ลองไปหาคนที่เขาว่างๆ ที่ห้องสืบสวนว่ามีใครจะช่วยได้หรือไม่" (นี่ก็ความคิดเห็นของตำรวจจริงๆ อีกเช่นกัน..ที่มีหน้าที่ในงานสืบสวนติดตามจับกุมผู้กระทำผิด (คง) จะมีเวลาว่างกว่างานสอบสวน...และเป็นความจริงในโลกของตำรวจที่การทำงานระหว่างงานต่างๆ ในสถานีตำรวจยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาช่วยเหลือวางระบบให้มีความเป็นทีมมากยิ่งขึ้น) และ "ให้ผู้เสียหายไปตามดูกล้องวงจรปิดเอาเอง” (พนักงานสอบสวนท่านนั้นคงจะอยากให้ประสบการณ์แก่ประชาชนท่านนี้ได้รู้ว่าการที่ตำรวจจะขอดูข้อมูลจากกล้องวงจรปิดนั้นไม่ใช่เรื่องที่สามารถกระทำได้ง่ายอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน)
ผู้โพสต์ข้อความตั้งคำถามโดยหวังว่าจะได้รับคำตอบจาก ผบ.ตร. ๕ ข้อ (แต่ ผบ.ตร.คงไม่ตอบ) คือ ๑.เป็นหน้าที่ของตำรวจหรือประชาชน ๒.เมื่องานล้นมือแสดงว่าจะไม่สามารถทำคดีอะไรได้อีกแล้วใช่หรือไม่? ๓.ถ้าให้ประชาชนไปตามคดีเอาเองอย่างนี้จะมีตำรวจไว้ทำไม ๔.ตำรวจกินเงินเดือนของประชาชนใช่หรือไม่? และ ๕.หน้าที่ของตำรวจทำอะไรให้แก่ประชาชนบ้าง? พร้อมเสนอแนะให้ปฏิรูปในเรื่องนี้ แต่ลงท้ายด้วยการลูบหลังด้วยคำชมที่ว่า "แต่ผมอยากจะบอกว่าตำรวจที่ดีๆ และเป็นมืออาชีพก็มีอยู่มากนะ”
หากจะขอตอบในฐานะนักวิชาการด้านวัฒนธรรมองค์กรตำรวจว่าการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่ของทุกๆ คนในสังคมและหากคนในสังคมมุ่งแต่ตั้งคำถามและกำหนดขอบเขตที่แข็งตัวว่าการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่เฉพาะของตำรวจแต่เพียงเท่านั้นเราจะไม่เห็นความผาสุกในสังคม (ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเราจะเห็นได้ว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยได้กระทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีในการช่วยสร้างความผาสุกทางสังคมด้วยจิตอาสาในรูปแบบต่างๆ จนบ่อยครั้งพวกเขาเหล่านั้นต้องบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตก็มีเป็นจำนวนมาก)
เสียงของประชาชนที่ตั้งคำถามต่อบทบาทและการกระทำของตำรวจตามที่ยกตัวอย่างมานั้นมีจำนวนไม่น้อยเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมไทยปัจจุบันยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในการรักษาความสงบของสังคมอย่างแท้จริง และติดกับดักที่ว่าการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่เฉพาะของตำรวจแต่เพียงเท่านั้น แสดงว่าผลงานของตำรวจด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังสอบไม่ผ่าน ไม่ว่าจะเป็นงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ตำรวจร่วมมวลชนลดอาชญากรรม (ตมอ.) กองปราบอาสา หรือตามแต่จะใช้ชื่อเรียกขาน
อย่างไรก็แล้วแต่คงต้องย้อนกลับมาทบทวนวิธีคิดและวิธีการ โดยสรุปบทเรียนและบูรณาการให้เห็นเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อทำให้คนในสังคมและตำรวจมีวิธีคิดเดียวกันให้ได้ว่าหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่ของคนทุกคนในสังคม โดยอาจเริ่มต้นที่ผู้บริหารงานตำรวจอย่าเผลอไปรับงานในรูปแบบที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการเข้าใจผิดและเฝ้ารอให้ตำรวจไปป้องกันเหตุแต่เพียงฝ่ายเดียว มิเช่นนั้นแล้วตำรวจไทยจะหมดเวลาไปกับการตรวจร้านสะดวกซื้อ ร้านทอง ธนาคาร บ้านพักของบุคคลสำคัญ ยังไม่นับรวมกับการเฝ้ากลุ่มผู้ชุมนุมในรูปแบบต่างๆ
นี่เพียงแค่คิดก็ยังสับสนว่าหากเป็นเช่นนั้น ตำรวจไทยจะเอาเวลาที่ไหนหายใจ !!
สังคมไทยต้องยอมรับความจริงว่าบุคลิกลักษณะนิสัยและวิถีการดำเนินชีวิตต่างๆ ของคนในสังคมส่วนใหญ่ขาดวินัยและมีสำนึกต่อส่วนรวมต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ทำให้สังคมมีแนวโน้มที่จะมีสภาพสังคมในรูปแบบสังคมที่ไร้ระเบียบ วุ่นวาย ละเมิดสิทธิต่อกันของผู้คนในสังคมสูงด้วย นั่นหมายความว่าตำรวจไทยจะมีภารกิจที่หนักอึ้งมากมาย อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอย่างมากจนอาจเกิดข้อคำถามได้ว่า ในความเป็นจริงแล้วนั้น ตำรวจไทยใช้หลักรัฐศาสตร์และหลักนิติศาสตร์ในการควบคุมสังคมในสัดส่วนอย่างไร? การที่ตำรวจไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติศาสตร์อย่างเข้มแข็งได้จริงนั้น ทำให้ขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงานของตำรวจเพิ่มมากขึ้นด้วย และภาระที่มากขึ้นดำรงอยู่ภายใต้การบริหารทรัพยากรที่จำกัด นั่นหมายถึงผลการปฏิบัติงานของตำรวจไทยย่อมมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ปรากฏการณ์ของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นคือ ปรากฏการณ์ส่วนผิวที่ประชาชนผู้ใช้บริการของตำรวจได้รับประสบการณ์ตรง มองเห็นง่ายและมักตีความตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอนั้น โดยน้อยคนนักที่จะพยายามมองหาคำอธิบายเบื้องหลังปรากฏการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเหล่านั้น แล้วอะไรอยู่เบื้องหลังผลงานที่ไม่ดีของตำรวจในสายตาของประชาชน?
“นี่หรือตำรวจของประชาชน อย่างที่ ผบ.ตร.เคยกล่าวเป็นวิสัยทัศน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า เป็นตำรวจมืออาชีพเพื่อความผาสุกของประชาชน ดูตำรวจมืออาชีพเขาทำแบบนี้หรือ”
นี่คือคำขึ้นต้นของประชาชนซึ่งมีสถานะเป็นผู้สื่อข่าว สื่อสารความคิดเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ตนเองสู่สังคม ด้วยการโพสต์ข้อความลงในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับความไม่พอใจจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนายหนึ่งซึ่งเป็นต้นเรื่องที่มาของคำพูดดังกล่าว (ตำรวจหนึ่งนายสร้างความไม่พอใจจนต้องการคำตอบจาก ผบ.ตร.?)
เขาเล่าว่าได้รับความเดือดร้อนจากกรณีที่รถถูกชนแล้วหลบหนีไป จึงไปแจ้งความต่อตำรวจและคาดหวังเต็มเปี่ยมว่าตำรวจจะให้ความสำคัญกับคดีและช่วยเหลือติดตามจับกุมผู้กระทำผิดมารับการลงโทษตามกฎหมาย หากแต่สิ่งที่เขาคาดหวังกลับมิได้เป็นเช่นนั้น !
เมื่อเขาไปติดตามเรื่องกลับได้รับคำตอบว่า "งานยุ่ง ไม่มีเวลาไปตามคดีให้เพราะคดีล้นมือ" พนักงานสอบสวนผู้นั้นยังแนะนำต่ออีกว่า "ให้ลองไปหาคนที่เขาว่างๆ ที่ห้องสืบสวนว่ามีใครจะช่วยได้หรือไม่" (นี่ก็ความคิดเห็นของตำรวจจริงๆ อีกเช่นกัน..ที่มีหน้าที่ในงานสืบสวนติดตามจับกุมผู้กระทำผิด (คง) จะมีเวลาว่างกว่างานสอบสวน...และเป็นความจริงในโลกของตำรวจที่การทำงานระหว่างงานต่างๆ ในสถานีตำรวจยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาช่วยเหลือวางระบบให้มีความเป็นทีมมากยิ่งขึ้น) และ "ให้ผู้เสียหายไปตามดูกล้องวงจรปิดเอาเอง” (พนักงานสอบสวนท่านนั้นคงจะอยากให้ประสบการณ์แก่ประชาชนท่านนี้ได้รู้ว่าการที่ตำรวจจะขอดูข้อมูลจากกล้องวงจรปิดนั้นไม่ใช่เรื่องที่สามารถกระทำได้ง่ายอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน)
ผู้โพสต์ข้อความตั้งคำถามโดยหวังว่าจะได้รับคำตอบจาก ผบ.ตร. ๕ ข้อ (แต่ ผบ.ตร.คงไม่ตอบ) คือ ๑.เป็นหน้าที่ของตำรวจหรือประชาชน ๒.เมื่องานล้นมือแสดงว่าจะไม่สามารถทำคดีอะไรได้อีกแล้วใช่หรือไม่? ๓.ถ้าให้ประชาชนไปตามคดีเอาเองอย่างนี้จะมีตำรวจไว้ทำไม ๔.ตำรวจกินเงินเดือนของประชาชนใช่หรือไม่? และ ๕.หน้าที่ของตำรวจทำอะไรให้แก่ประชาชนบ้าง? พร้อมเสนอแนะให้ปฏิรูปในเรื่องนี้ แต่ลงท้ายด้วยการลูบหลังด้วยคำชมที่ว่า "แต่ผมอยากจะบอกว่าตำรวจที่ดีๆ และเป็นมืออาชีพก็มีอยู่มากนะ”
หากจะขอตอบในฐานะนักวิชาการด้านวัฒนธรรมองค์กรตำรวจว่าการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่ของทุกๆ คนในสังคมและหากคนในสังคมมุ่งแต่ตั้งคำถามและกำหนดขอบเขตที่แข็งตัวว่าการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่เฉพาะของตำรวจแต่เพียงเท่านั้นเราจะไม่เห็นความผาสุกในสังคม (ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเราจะเห็นได้ว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยได้กระทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีในการช่วยสร้างความผาสุกทางสังคมด้วยจิตอาสาในรูปแบบต่างๆ จนบ่อยครั้งพวกเขาเหล่านั้นต้องบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตก็มีเป็นจำนวนมาก)
เสียงของประชาชนที่ตั้งคำถามต่อบทบาทและการกระทำของตำรวจตามที่ยกตัวอย่างมานั้นมีจำนวนไม่น้อยเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมไทยปัจจุบันยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในการรักษาความสงบของสังคมอย่างแท้จริง และติดกับดักที่ว่าการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่เฉพาะของตำรวจแต่เพียงเท่านั้น แสดงว่าผลงานของตำรวจด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังสอบไม่ผ่าน ไม่ว่าจะเป็นงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ตำรวจร่วมมวลชนลดอาชญากรรม (ตมอ.) กองปราบอาสา หรือตามแต่จะใช้ชื่อเรียกขาน
อย่างไรก็แล้วแต่คงต้องย้อนกลับมาทบทวนวิธีคิดและวิธีการ โดยสรุปบทเรียนและบูรณาการให้เห็นเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อทำให้คนในสังคมและตำรวจมีวิธีคิดเดียวกันให้ได้ว่าหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมเป็นหน้าที่ของคนทุกคนในสังคม โดยอาจเริ่มต้นที่ผู้บริหารงานตำรวจอย่าเผลอไปรับงานในรูปแบบที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการเข้าใจผิดและเฝ้ารอให้ตำรวจไปป้องกันเหตุแต่เพียงฝ่ายเดียว มิเช่นนั้นแล้วตำรวจไทยจะหมดเวลาไปกับการตรวจร้านสะดวกซื้อ ร้านทอง ธนาคาร บ้านพักของบุคคลสำคัญ ยังไม่นับรวมกับการเฝ้ากลุ่มผู้ชุมนุมในรูปแบบต่างๆ
นี่เพียงแค่คิดก็ยังสับสนว่าหากเป็นเช่นนั้น ตำรวจไทยจะเอาเวลาที่ไหนหายใจ !!
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20140430/183785.html
บ่ายวันนี้ที่แม่จริมแดดร้อนมากเลย แต่ก็ดีในการตากเสื้อผ้าเพราะแห้งสนิทเลยทีเดียว
บ่ายวันนี้ที่แม่จริมแดดร้อนมากเลย แต่ก็ดีในการตากเสื้อผ้าเพราะแห้งสนิทเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น