ย้อนหลังไปกว่า ๒ ปี ก็ไม่ได้หมายความว่า
การค้นคว้าจำนวนตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนจะมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิต
และบาดเจ็บสาหัสด้วย หากแต่สิ่งที่มั่นใจได้คือ
จำนวนสถิติที่ประกาศให้สังคมรับรู้นั้นต่ำกว่าความจริงแน่นอน!!!
อัตราการตายในประเทศไทย ๓๘.๑ รายต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน จัดเป็นอันดับ ๓ ของโลก
จากรายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ประมาณการเสียชีวิตจากคดีจราจรของประเทศไทยในปี
๒๐๑๐ มีจำนวนสูงถึง ๒๖,๓๑๒ คน
มากกว่าการตายด้วยอาชญากรรมตามสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติคิดเป็น ๖.๘ เท่า
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเขียนไว้ในกฎหมายจราจรว่า ในอนาคตจะลดจำนวนอุบัติเหตุการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และทรัพย์สิน จะควบคุมและออกกฎหมายควบคุมจราจรอย่างไร และหากดำเนินการรัฐบาลจะต้องจัดหางบประมาณล่วงหน้า แต่ในกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ของไทยไม่มีกำหนดไว้แต่อย่างใด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นเพียงระเบียบการควบคุมการขับขี่รถยนต์และการปฏิบัติของคนเดินข้ามถนน แต่ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบอุบัติเหตุ การค้นหาพยานวัตถุ การนำเอาพยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์มาร่วมสืบสวนด้วย หากพนักงานสอบสวนไม่ร้องขอ ซึ่งแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเป็นระเบียบไว้ว่า คดีจราจรทางบก เจ้าหน้าที่ต้องนำพยานผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการสอบสวนเสมอ
จะเห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีความสำคัญในคดีจราจรเป็นอย่างมาก และเป็นผู้ที่ควรจะได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพิจารณาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างลึกซึ้งและเชื่อถือได้ มีความรู้ความสามารถในการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ในคดีจราจร มีความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของพยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์ในการนำมาใช้ประโยชน์ในคดีจราจรให้มากที่สุด เนื่องจากพยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์มีน้ำหนักและเหตุผลในการรับฟังเป็นพยานหลักฐานมากกว่าพยานบุคคล สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีเป็นที่ยุติได้ แต่กลับพบว่าที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเช่นนั้น
หลักการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุจราจรที่ถูกต้องนั้น ต้องมีการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักวิชาการอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ปัญหาอุปสรรคในการทำงานของพนักงานสอบสวนไทยในคดีจราจรนั้นสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของงานสอบสวนมิได้มองเพียงมุมของตำรวจแต่ด้านเดียว หากแต่ต้องมองและวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย
ถึงแม้ในขณะเกิดเหตุจะมีผู้เห็นเหตุการณ์ แต่พนักงานสอบสวนกลับขาดความร่วมมือในการเป็นพยานในคดีจราจร รวมถึงได้รับความร่วมมือน้อยมากในการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดทั้งในส่วนของราชการ หรือของเอกชน
คดีจราจรเป็นคดีที่เกิดจากความประมาท ไม่มีเจตนา คู่กรณีมุ่งหวังเพียงการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ได้ต้องการให้อีกฝ่ายต้องโทษจำคุก ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงมักจะให้คู่กรณีเจรจากันก่อน ถ้าตกลงกันได้ก็จะให้เป็นไปตามที่ตกลงกันจึงไม่ได้เน้นการเก็บและรวบรวมหลักฐานไว้ก่อนจากที่เกิดเหตุ ต่อมาเมื่อมีปัญหาตกลงกันไม่ได้ในภายหลังก็จะทำให้ขาดพยานหลักฐานในการดำเนินคดีต่อหลังจากนั้น
คดีจราจรส่วนใหญ่เป็นคดีอัตราโทษน้อย อยู่ในอำนาจศาลแขวง เมื่อแจ้งข้อหาจับกุมแล้วต้องผัดฟ้องทุก ๖ วัน และส่งฟ้องภายใน ๓๐ วัน ในขณะที่จำนวนคดีมีมาก ดังนั้นการดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานจึงเป็นไปอย่างรีบเร่ง ทั้งในส่วนของพยาน แพทย์ ผู้ตรวจร่องรอยเฉี่ยวชน ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบและไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งในกรณีที่บาดเจ็บสาหัสแพทย์มักจะยังไม่ออกความเห็นในใบชันสูตรบาดแผลให้ในระยะเวลา ๒๐-๓๐ วัน แต่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องใช้หลักฐานข้อมูลดังกล่าวในการประกอบสำนวนส่งฟ้องภายใน ๓๐ วัน
สถานที่เกิดเหตุอยู่บนถนน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนต้องใช้ในการสัญจรตลอดเวลา ไม่สามารถกั้นที่เกิดเหตุได้นาน พยานหลักฐานที่อยู่บนพื้นถนนมักจะกระจัดกระจาย วัตถุพยานมักถูกทำลายได้ง่าย และขาดวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุที่มีประสิทธิภาพ
พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น แต่กลับมีปัญหาในการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง เช่น การวัดระยะรอยเบรก เพื่อคำนวณความเร็วรถ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีปัจจัยอื่นแทรกหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของพื้นถนน สภาพยางรถที่ชนแล้วยางแตก ระยะจุดชนก่อนที่จะถึงจุดหยุดรถจริง รวมถึงการตรวจหาแรงที่กระทำต่อโลหะ ตัวรถ ที่ยังไม่มีหน่วยงานราชการใดสามารถดำเนินการได้ หากคิดจะพัฒนาประสิทธิภาพงานของพนักงานสอบสวนก็ควรจะมองทุกงานทุกหน้าที่ ทุกปัญหาและทุกเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพนักงานสอบสวนด้วย งานตำรวจไม่ได้ลอยอยู่ในสุญญากาศ หากคิดจริงจังโดยมุ่งหวังให้ตำรวจมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น โปรดมองให้ลึกซึ้งและรอบด้าน
อย่ามองแค่เพียงงานสอบสวนของตำรวจที่ทำอยู่เป็นปกติประจำเท่านั้น แต่ต้องมองทั้งองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวนด้วย ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงจะรอดปลอดภัยได้อย่างแท้จริง
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเขียนไว้ในกฎหมายจราจรว่า ในอนาคตจะลดจำนวนอุบัติเหตุการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และทรัพย์สิน จะควบคุมและออกกฎหมายควบคุมจราจรอย่างไร และหากดำเนินการรัฐบาลจะต้องจัดหางบประมาณล่วงหน้า แต่ในกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ของไทยไม่มีกำหนดไว้แต่อย่างใด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นเพียงระเบียบการควบคุมการขับขี่รถยนต์และการปฏิบัติของคนเดินข้ามถนน แต่ยังไม่ได้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบอุบัติเหตุ การค้นหาพยานวัตถุ การนำเอาพยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์มาร่วมสืบสวนด้วย หากพนักงานสอบสวนไม่ร้องขอ ซึ่งแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเป็นระเบียบไว้ว่า คดีจราจรทางบก เจ้าหน้าที่ต้องนำพยานผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการสอบสวนเสมอ
จะเห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีความสำคัญในคดีจราจรเป็นอย่างมาก และเป็นผู้ที่ควรจะได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพิจารณาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างลึกซึ้งและเชื่อถือได้ มีความรู้ความสามารถในการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ในคดีจราจร มีความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของพยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์ในการนำมาใช้ประโยชน์ในคดีจราจรให้มากที่สุด เนื่องจากพยานผู้เชี่ยวชาญและหลักนิติวิทยาศาสตร์มีน้ำหนักและเหตุผลในการรับฟังเป็นพยานหลักฐานมากกว่าพยานบุคคล สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีเป็นที่ยุติได้ แต่กลับพบว่าที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเช่นนั้น
หลักการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุจราจรที่ถูกต้องนั้น ต้องมีการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักวิชาการอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ปัญหาอุปสรรคในการทำงานของพนักงานสอบสวนไทยในคดีจราจรนั้นสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของงานสอบสวนมิได้มองเพียงมุมของตำรวจแต่ด้านเดียว หากแต่ต้องมองและวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย
ถึงแม้ในขณะเกิดเหตุจะมีผู้เห็นเหตุการณ์ แต่พนักงานสอบสวนกลับขาดความร่วมมือในการเป็นพยานในคดีจราจร รวมถึงได้รับความร่วมมือน้อยมากในการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดทั้งในส่วนของราชการ หรือของเอกชน
คดีจราจรเป็นคดีที่เกิดจากความประมาท ไม่มีเจตนา คู่กรณีมุ่งหวังเพียงการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ได้ต้องการให้อีกฝ่ายต้องโทษจำคุก ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงมักจะให้คู่กรณีเจรจากันก่อน ถ้าตกลงกันได้ก็จะให้เป็นไปตามที่ตกลงกันจึงไม่ได้เน้นการเก็บและรวบรวมหลักฐานไว้ก่อนจากที่เกิดเหตุ ต่อมาเมื่อมีปัญหาตกลงกันไม่ได้ในภายหลังก็จะทำให้ขาดพยานหลักฐานในการดำเนินคดีต่อหลังจากนั้น
คดีจราจรส่วนใหญ่เป็นคดีอัตราโทษน้อย อยู่ในอำนาจศาลแขวง เมื่อแจ้งข้อหาจับกุมแล้วต้องผัดฟ้องทุก ๖ วัน และส่งฟ้องภายใน ๓๐ วัน ในขณะที่จำนวนคดีมีมาก ดังนั้นการดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานจึงเป็นไปอย่างรีบเร่ง ทั้งในส่วนของพยาน แพทย์ ผู้ตรวจร่องรอยเฉี่ยวชน ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบและไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งในกรณีที่บาดเจ็บสาหัสแพทย์มักจะยังไม่ออกความเห็นในใบชันสูตรบาดแผลให้ในระยะเวลา ๒๐-๓๐ วัน แต่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องใช้หลักฐานข้อมูลดังกล่าวในการประกอบสำนวนส่งฟ้องภายใน ๓๐ วัน
สถานที่เกิดเหตุอยู่บนถนน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนต้องใช้ในการสัญจรตลอดเวลา ไม่สามารถกั้นที่เกิดเหตุได้นาน พยานหลักฐานที่อยู่บนพื้นถนนมักจะกระจัดกระจาย วัตถุพยานมักถูกทำลายได้ง่าย และขาดวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุที่มีประสิทธิภาพ
พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น แต่กลับมีปัญหาในการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง เช่น การวัดระยะรอยเบรก เพื่อคำนวณความเร็วรถ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีปัจจัยอื่นแทรกหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของพื้นถนน สภาพยางรถที่ชนแล้วยางแตก ระยะจุดชนก่อนที่จะถึงจุดหยุดรถจริง รวมถึงการตรวจหาแรงที่กระทำต่อโลหะ ตัวรถ ที่ยังไม่มีหน่วยงานราชการใดสามารถดำเนินการได้ หากคิดจะพัฒนาประสิทธิภาพงานของพนักงานสอบสวนก็ควรจะมองทุกงานทุกหน้าที่ ทุกปัญหาและทุกเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพนักงานสอบสวนด้วย งานตำรวจไม่ได้ลอยอยู่ในสุญญากาศ หากคิดจริงจังโดยมุ่งหวังให้ตำรวจมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น โปรดมองให้ลึกซึ้งและรอบด้าน
อย่ามองแค่เพียงงานสอบสวนของตำรวจที่ทำอยู่เป็นปกติประจำเท่านั้น แต่ต้องมองทั้งองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวนด้วย ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงจะรอดปลอดภัยได้อย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น