จะกล่าวถึงพลายแก้วแววไว
เมื่อบิดาบรรลัยแม่พาหนี
ไปอาศัยอยู่ในกาญจน์บุรี
กับนางทองประศรีผู้มารดา
อยู่มาจนเจ้าเจริญวัย
อายุนั้นได้ถึงสิบห้า
ไม่วายคิดถึงพ่อที่มรณา
แต่นึกนึกตรึกตรามากว่าปี ฯลฯ
ภูมิปัญญาจากวรรณกรรม เรื่อง ขุนช้างขุนแผน
๑. บทนำ
ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ และค่านิยมในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน จะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นในช่วงเวลาที่อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตกยังไม่แพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทยมากนัก โดยพิจารณาจากลักษณะของวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นไทยได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริง
ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผนจะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้และนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมเผยแพร่ให้ชาวบ้านนำภูมิปัญญาเหล่านั้นไปสืบทอดปรับปรุงต่อไป
๒. ภูมิหลัง
๒.๒ ภูมิหลังของเรื่อง เรื่องขุนข้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๗๒ เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้างมาผูกกับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีแล้วเล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในหนังสือ “คำให้การของชาวกรุงเก่า” ซึ่งนับว่าเป็นเค้าที่มาของเรื่องขุนช้างขุนแผนนับเป็นนิทานพื้นบ้านเรื่องยาวที่สุดของชาวสุพรรณบุรีครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นคือสมัยสมเด็จพระพันวษา ซึ่งเข้าใจกันว่า คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เพราะมีเนื้อเรื่องตรงกับประวัติศาสตร์ตอนทำศึกเมืองเชียงใหม่
๒.๓ ภูมิหลังของกลอนเสภา มีผู้สันนิษฐานกำเนิดของการขับเสภาเกิดขึ้นเพราะสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าการเล่านิทานเป็นการมหรสพอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีการจัดงานไม่ว่าจะเป็นงานโกนจุก งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพก็ตาม เจ้าภาพจะว่าจ้างนักเล่านิทานมาเล่านิทานให้แขกในงานฟัง นิทานที่นิยมเล่ากันมากที่สุดคือเรื่องขุนช้างขุนแผน การขับเสภาคงเนื่องมาจากการเล่านิทานคือเล่านิทานฟังกันนานๆ เข้าก็จืด จึงมีคนคิดจะเล่าให้แปลกโดยแต่งเป็นบทกลอนให้คล้องจองกันใช้ขับลำนำ มีกรับเป็นเครื่องเคาะจังหวะ
๓. เนื้อหา และบทวิเคราะห์ภาพสะท้อนของภูมิปัญญาจากวรรณกรรม
วรรณกรรมเรื่องนี้ให้คุณค่าทางสติปัญญา หรือ ความรู้ ความคิด ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและสภาพสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลอดจนสำนวนโวหารที่ไพเราะ และเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณีต่างๆ ทั้งจากประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนาและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับเทศกาลต่างๆ ไว้ ดังนี้
๔.๑ วิถีชีวิต วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ วิถีชีวิตตั้งแต่อ้อนออกสู่ความเป็นหนุ่มสาว ทั้งชาววัด ชาววัง และชาวบ้าน หมายรวมถึงวิถีชีวิตเจ้ากับไพร่.... คติ ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม วัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยนั้นได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริงมาก
ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อ และค่านิยมในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน จะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นในช่วงเวลาที่อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตกยังไม่แพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทยมากนัก โดยพิจารณาจากลักษณะของวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นไทยได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริง
ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผนจะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้และนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมเผยแพร่ให้ชาวบ้านนำภูมิปัญญาเหล่านั้นไปสืบทอดปรับปรุงต่อไป
๒. ภูมิหลัง
๒.๒ ภูมิหลังของเรื่อง เรื่องขุนข้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๗๒ เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้างมาผูกกับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีแล้วเล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในหนังสือ “คำให้การของชาวกรุงเก่า” ซึ่งนับว่าเป็นเค้าที่มาของเรื่องขุนช้างขุนแผนนับเป็นนิทานพื้นบ้านเรื่องยาวที่สุดของชาวสุพรรณบุรีครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นคือสมัยสมเด็จพระพันวษา ซึ่งเข้าใจกันว่า คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เพราะมีเนื้อเรื่องตรงกับประวัติศาสตร์ตอนทำศึกเมืองเชียงใหม่
๒.๓ ภูมิหลังของกลอนเสภา มีผู้สันนิษฐานกำเนิดของการขับเสภาเกิดขึ้นเพราะสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าการเล่านิทานเป็นการมหรสพอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีการจัดงานไม่ว่าจะเป็นงานโกนจุก งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพก็ตาม เจ้าภาพจะว่าจ้างนักเล่านิทานมาเล่านิทานให้แขกในงานฟัง นิทานที่นิยมเล่ากันมากที่สุดคือเรื่องขุนช้างขุนแผน การขับเสภาคงเนื่องมาจากการเล่านิทานคือเล่านิทานฟังกันนานๆ เข้าก็จืด จึงมีคนคิดจะเล่าให้แปลกโดยแต่งเป็นบทกลอนให้คล้องจองกันใช้ขับลำนำ มีกรับเป็นเครื่องเคาะจังหวะ
๓. เนื้อหา และบทวิเคราะห์ภาพสะท้อนของภูมิปัญญาจากวรรณกรรม
วรรณกรรมเรื่องนี้ให้คุณค่าทางสติปัญญา หรือ ความรู้ ความคิด ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและสภาพสังคมไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลอดจนสำนวนโวหารที่ไพเราะ และเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประเพณีต่างๆ ทั้งจากประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนาและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับเทศกาลต่างๆ ไว้ ดังนี้
๔.๑ วิถีชีวิต วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ วิถีชีวิตตั้งแต่อ้อนออกสู่ความเป็นหนุ่มสาว ทั้งชาววัด ชาววัง และชาวบ้าน หมายรวมถึงวิถีชีวิตเจ้ากับไพร่.... คติ ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม วัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยนั้นได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริงมาก
ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น