ก้าวเดินหน้า ด้วยใจ ไม่ประวิง,หรือเกรงกริ่ง ครั่นคร้าม แม้ยามใด
เดินคู่ชาย ที่เปรียบไว้ อกสามศอก,ทั้งในนอก สืบสาน งานยิ่งใหญ่
ความสามารถ นั้นแท้ ไม่แพ้ชาย,สุขสดใส น้องพี่ วันสตรีสากล
ประวัติความเป็นมาของ
"วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง
และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง ๑๑๙ คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้
ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่
โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๗ (พ.ศ. ๒๔๐๐)
จากนั้นในปี
ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ. ๒๔๕๐) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก
ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ
ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส
เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ ๑๖-๑๗ ชั่วโมง
โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ
เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้
"คลาร่า เซทคิน" นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม
ชาวเยอรมันตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ ๘ มีนาคม
ค.ศ.๑๙๐๗ พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง
อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
อย่างไรก็ตาม
แม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม
แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน"
และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่
๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๘ (พ.ศ. ๒๔๕๑) มีแรงงานหญิงกว่า
๑๕,๐๐๐ คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก
โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ"
ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่
๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๐ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ
เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก ๑๗ ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ ๒ ณ
เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม ๘ คือ
ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง
ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก ๘ ชั่วโมง และอีก ๘ ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน
พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย
และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ
"คลารา เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ ๘ มีนาคม ของทุกปีเป็น
วันสตรีสากล (ที่มา : https://goo.gl/0bFcAU)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น