วิกฤติทางการเมืองหลายๆ
ครั้งที่ผ่านมากลุ่มที่มักตกเป็นจำเลยคือ “ตำรวจ” ท่ามกลางข้อกล่าวหา “ถูกแทรกแซงโดยนักการเมือง” ทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าของการปฏิรูป
โดยผู้ที่รับหน้าที่ไปคิดวิธีการคือ “คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจ” สภาปฏิรูปแห่งชาติ และล่าสุดก็ได้นำเสนอรายงาน โดยมีเป้าหลักอยู่ที่การให้ “ปลอดจากการเมือง”
สำหรับการทำให้ตำรวจปลอดจากการเมืองนั้นเป้าหลักอยู่ที่การปรับโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.), คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ทั้งหมดมีหลักคิดว่าให้มีตำรวจเข้าไปมีส่วนร่วมให้มากที่สุดและตัดสัดส่วนของฝ่ายการเมืองให้เหลือน้อยสุด อย่างแรกคือ การปรับกตช. โดยดึงอำนาจการเห็นชอบรายชื่อที่ผู้ที่สมควรเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกไป เพราะมองว่าฝ่ายการเมืองมุ่งใช้ประโยชน์ด้านนี้โดยละเลยด้านอื่นเช่น การวางนโยบายขับเคลื่อนสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด
และผู้ที่จะเข้ามาเป็น กตช. ตามข้อเสนอจะมีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง ก็เพิ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนมาร่วมด้วย อาทิ อัยการสูงสุด ผู้แทนจากสภาทนายความ และผู้แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประการต่อมาคือ การปรับสัดส่วนของ ก.ตร. และการเลือก ผบ.ตร. ที่ต้องเอาสองอย่างนี้มารวมกัน เพราะมีจุดร่วมคือต้องผ่านการ “เลือกตั้ง”
การคัดเลือก ผบ.ตร. เดิมนั้น ผบ.ตร.คนปัจจุบันจะเป็นผู้เสนอรายชื่อ “ว่าที่ ผบ.ตร.” ให้ กตช. เห็นชอบ แต่ในข้อเสนอใหม่นี้ เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกล่าวคือ ดึงอำนาจออกจากทั้งมือของ ผบ.ตร. และกตช.
สำหรับขั้นตอนที่คิดขึ้นมานั้นจะให้ก.ตร. เป็นผู้คัดเลือกรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งขึ้นมา ๓ รายชื่อ โดยคัดเลือกจากจเรตำรวจแห่งชาติ , รองผบ. ตร. หรือเทียบเท่า (ยศ พล.ต.อ.) จากนั้นก็ให้ตำรวจระดับตั้งแต่ผู้กำกับการหรือเทียบเท่า (พ.ต.อ.) ขึ้นไป เป็นผู้ลงคะแนนเลือกให้เหลือหนึ่งคน จากนั้น ก.ตร.ก็จะนำชื่อเสนอต่อนายกฯ เพื่อทูลเกล้าต่อไป
ขณะที่ก.ตร.นั้น ปรับสัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิออกไป โดยสัดส่วนใหม่กำหนดให้ประธานก.ตร. คัดเลือกจากอดีตข้าราชการตำรวจ ระดับรอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่า (ยศ พล.ต.อ.) ซึ่ง “เลือกตั้ง” โดยตำรวจระดับผู้กำกับขึ้นไปเช่นเดียวกับการเลือกผบ.ตร.
ส่วนกรรมการ ก.ตร. ที่ต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้งเช่นเดียวกันก็มีอีกสองประเภทคือ ๑.จเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่า (พล.ต.อ.) ให้เลือกตั้งเหลือ ๖ คน และ ๒.อดีตข้าราชการตำรวจะดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าขึ้นไป (พล.ต.ท.) ให้เลือกตั้งเหลือ ๓ คน และกรรมการที่เหลือก็จะประกอบด้วย ผบ.ตร., เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ผู้แทนคณะรัฐมนตรี, ผู้แทนวุฒิสภา, ผู้มีความรู้ในสาขาต่างๆ จำนวน ๒ คน
ที่ต้องนำมาพิจารณาคือกระบวนการเลือกตั้ง ทั้งผบ.ตร. ประธานก.ตร. และกรรมการก.ตร. นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาจริงหรือไม่ โดยต้นคิดของปัญหานี้ที่ต้องมาแตะทั้ง ผบ.ตร. และก.ตร. ก็เนื่องจากมองว่าทั้งสองส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมและโปร่งใส
แต่เมื่อเลือกตั้งแล้วคิดว่าจะบริสุทธิ์จริงหรือไม่ เมื่อผู้ถูกเลือกตั้งสามารถให้คุณให้โทษกับผู้เลือกตั้งได้ อีกทั้งหากก่อนหน้านี้มีการวางกำลังคนเอาไว้ก็ย่อมมีความได้เปรียบมากกว่า หรือเรียกให้ง่ายกว่านั้น ใครมี “เด็ก” มากกว่า ก็ย่อมได้เปรียบ และยังมีข้อห่วงใยว่าหากปฏิบัติจริงระบบนี้จะมีการวิ่งเต้น มีระบบอุปถัมภ์หนักมากขึ้นไปกว่าเดิม
ประกอบกับการปิดกั้นที่คล้ายกับองค์กรนี้ไม่มีคนนอกเข้ามายุ่มย่ามได้ และอาศัยสัดส่วนตำรวจเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ยิ่งยากกับการเข้าไปตรวจสอบและเป็นคล้ายลักษณะองค์กรปิดเข้าไปอีก
โดยผู้ที่รับหน้าที่ไปคิดวิธีการคือ “คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจ” สภาปฏิรูปแห่งชาติ และล่าสุดก็ได้นำเสนอรายงาน โดยมีเป้าหลักอยู่ที่การให้ “ปลอดจากการเมือง”
สำหรับการทำให้ตำรวจปลอดจากการเมืองนั้นเป้าหลักอยู่ที่การปรับโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.), คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ทั้งหมดมีหลักคิดว่าให้มีตำรวจเข้าไปมีส่วนร่วมให้มากที่สุดและตัดสัดส่วนของฝ่ายการเมืองให้เหลือน้อยสุด อย่างแรกคือ การปรับกตช. โดยดึงอำนาจการเห็นชอบรายชื่อที่ผู้ที่สมควรเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกไป เพราะมองว่าฝ่ายการเมืองมุ่งใช้ประโยชน์ด้านนี้โดยละเลยด้านอื่นเช่น การวางนโยบายขับเคลื่อนสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด
และผู้ที่จะเข้ามาเป็น กตช. ตามข้อเสนอจะมีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง ก็เพิ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนมาร่วมด้วย อาทิ อัยการสูงสุด ผู้แทนจากสภาทนายความ และผู้แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประการต่อมาคือ การปรับสัดส่วนของ ก.ตร. และการเลือก ผบ.ตร. ที่ต้องเอาสองอย่างนี้มารวมกัน เพราะมีจุดร่วมคือต้องผ่านการ “เลือกตั้ง”
การคัดเลือก ผบ.ตร. เดิมนั้น ผบ.ตร.คนปัจจุบันจะเป็นผู้เสนอรายชื่อ “ว่าที่ ผบ.ตร.” ให้ กตช. เห็นชอบ แต่ในข้อเสนอใหม่นี้ เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกล่าวคือ ดึงอำนาจออกจากทั้งมือของ ผบ.ตร. และกตช.
สำหรับขั้นตอนที่คิดขึ้นมานั้นจะให้ก.ตร. เป็นผู้คัดเลือกรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งขึ้นมา ๓ รายชื่อ โดยคัดเลือกจากจเรตำรวจแห่งชาติ , รองผบ. ตร. หรือเทียบเท่า (ยศ พล.ต.อ.) จากนั้นก็ให้ตำรวจระดับตั้งแต่ผู้กำกับการหรือเทียบเท่า (พ.ต.อ.) ขึ้นไป เป็นผู้ลงคะแนนเลือกให้เหลือหนึ่งคน จากนั้น ก.ตร.ก็จะนำชื่อเสนอต่อนายกฯ เพื่อทูลเกล้าต่อไป
ขณะที่ก.ตร.นั้น ปรับสัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิออกไป โดยสัดส่วนใหม่กำหนดให้ประธานก.ตร. คัดเลือกจากอดีตข้าราชการตำรวจ ระดับรอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่า (ยศ พล.ต.อ.) ซึ่ง “เลือกตั้ง” โดยตำรวจระดับผู้กำกับขึ้นไปเช่นเดียวกับการเลือกผบ.ตร.
ส่วนกรรมการ ก.ตร. ที่ต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้งเช่นเดียวกันก็มีอีกสองประเภทคือ ๑.จเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่า (พล.ต.อ.) ให้เลือกตั้งเหลือ ๖ คน และ ๒.อดีตข้าราชการตำรวจะดับผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าขึ้นไป (พล.ต.ท.) ให้เลือกตั้งเหลือ ๓ คน และกรรมการที่เหลือก็จะประกอบด้วย ผบ.ตร., เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ผู้แทนคณะรัฐมนตรี, ผู้แทนวุฒิสภา, ผู้มีความรู้ในสาขาต่างๆ จำนวน ๒ คน
ที่ต้องนำมาพิจารณาคือกระบวนการเลือกตั้ง ทั้งผบ.ตร. ประธานก.ตร. และกรรมการก.ตร. นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาจริงหรือไม่ โดยต้นคิดของปัญหานี้ที่ต้องมาแตะทั้ง ผบ.ตร. และก.ตร. ก็เนื่องจากมองว่าทั้งสองส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมและโปร่งใส
แต่เมื่อเลือกตั้งแล้วคิดว่าจะบริสุทธิ์จริงหรือไม่ เมื่อผู้ถูกเลือกตั้งสามารถให้คุณให้โทษกับผู้เลือกตั้งได้ อีกทั้งหากก่อนหน้านี้มีการวางกำลังคนเอาไว้ก็ย่อมมีความได้เปรียบมากกว่า หรือเรียกให้ง่ายกว่านั้น ใครมี “เด็ก” มากกว่า ก็ย่อมได้เปรียบ และยังมีข้อห่วงใยว่าหากปฏิบัติจริงระบบนี้จะมีการวิ่งเต้น มีระบบอุปถัมภ์หนักมากขึ้นไปกว่าเดิม
ประกอบกับการปิดกั้นที่คล้ายกับองค์กรนี้ไม่มีคนนอกเข้ามายุ่มย่ามได้ และอาศัยสัดส่วนตำรวจเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ยิ่งยากกับการเข้าไปตรวจสอบและเป็นคล้ายลักษณะองค์กรปิดเข้าไปอีก
จึงน่าสงสัยว่าข้อเสนอนี้เป็นการแก้ปัญหาด้วยปัญหาหรือไม่
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20150812/211459.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น