..........
คนเราสมัยก่อนนั้นการจะติดต่อสื่อสารหรือส่งข้อความถึงอีกคนหนึ่งซึ่งอยู่ ไกลออกไปไม่ว่าจะคนละอำเภอ,จังหวัดหรือแม้แต่คนละประเทศส่วนใหญ่เขาจะส่ง เป็นจดหมายกันแม้จะถึงช้าหน่อยแต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นและสะดวกมากแล้ว เรื่องโทรศัพท์ไม่ต้องพูดถึงไม่มีหรอกรวมถึงไม่รู้จักด้วยซ้ำ
แต่หากเรื่องที่จะส่งที่จะแจ้งนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นเรื่องเจ็บป่วย
เรื่องตายอะไรทำนองนี้เขาจะไปที่ “โรงสาย”
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีที่ทำการตั้งอยู่ในเขตตัวอำเภอหรือตัวจังหวัดที่แม้จะไกล
จากบ้านหน่อยแต่ก็ต้องไปใช้บริการเพราะต้องการให้เรื่องราวนั้นถึงผู้รับโดย
เร็วแล้วก็ถึงเร็วจริงๆ
ด้วยถ้าพูดถึงยุคนั้นประมาณว่าส่งเช้าน่ะตอนสายหรือบ่ายๆ ก็ถึงผู้รับแล้ว
การส่งข้อความลักษณะนี้ “โรงสาย” เขาจะคิดราคาค่าส่งเป็นคำๆ
โดยนับข้อความที่เขียน ข้อความยาวก็เสียเงินเยอะ ข้อความสั้นๆ
ก็เสียน้อยหน่อยเพราะฉะนั้นบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกๆ
ซึ่งไปเรียนหนังสืออยู่ที่ไกลๆ
ถ้าจะส่งข้อความไปยังพ่อแม่ที่ต่างจังหวัดก็มักจะเขียนให้สั้นเข้าไว้เพื่อ
ประหยัดสตางค์ อย่างที่เคยได้ยินบ่อยๆ
ก็ดังตัวอย่างที่ผมชักมาข้างบนนั่นแหละ “ข้อความเหมือนเดิม เพิ่มเติม ๕๐๐ /
จากลูกหัวแก้วหัวแหวน”
แบบนี้เมื่อพ่อแม่ได้รับข้อความแล้วเป็นอันรู้กันทันที กะทัดรัด สั้นๆ
ง่ายๆ ได้ใจความแถมได้สตางค์ด้วย
“โรงสาย” ของไทยเราเริ่มมีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๒ สมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และเปิดดำเนินการตลอดเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๒๐.๐๐ น.จึงยกเลิกบริการ
“โรงสาย” ศัพท์เสียงสำเนียงร่ะยองก็หมายถึง “ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข” นั่นเองครับพี่น้อง
จากสุพจน์ มัจฉา ลูกเพาะเหียนแมะเผือนมัจฉา คนบ้านพังราดไทย หมู่ ๔ ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดร่ะยอง
“โรงสาย” ของไทยเราเริ่มมีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๒ สมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และเปิดดำเนินการตลอดเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๒๐.๐๐ น.จึงยกเลิกบริการ
“โรงสาย” ศัพท์เสียงสำเนียงร่ะยองก็หมายถึง “ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข” นั่นเองครับพี่น้อง
จากสุพจน์ มัจฉา ลูกเพาะเหียนแมะเผือนมัจฉา คนบ้านพังราดไทย หมู่ ๔ ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดร่ะยอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น