ทำจิตของตนให้ ผ่องแผ้ว
บริสุทธิ์สะอาดใส สิ่งชั่ว ละเฮย
โอวาทอันเพริศแพ้ว แจ่มแจ้ว พุทธองค์
วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)
วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวก 1,250 รูปได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ และมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบัน หญิงสาวมักเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน (ข้อมูลจากวิกีพีเดีย)
อาหารเช้าวันมาฆปุรมี : ข้าวต้มปลาหมึก+ไข่ดาว+อาหารเสริม
เที่ยงวันหลานที่เป็นพยาบาลมาฉีดยาให้ที่บ้านตามปกติโดยยาที่หมอให้มานี้ ช่วงแรกๆ ต้องฉีดทุกวันแต่ตอนนี้ให้ลดปริมาณลงโดยไม่ต้องฉีดในวันเสาร์-อาทิตย์ ยาอื่นๆ ก็เหมือนกัน ยาบางตัวให้หยุดกิน นี่แสดงว่าเราดีขึ้นเป็นลำดับแล้วซิ่ แหม่ ดีใจจังเลย อ้ะฮ้า
ดีใจ๊ดีใจ จะหายแล้วนี่ ยินดี๊ยินดี ชีวีสดใส
อีกไม่นานหนอ บินปร๋อออกไป สู่โลกกว้างใหญ่ ได้ดั่งดังเดิม
ก๋วยเตี๋ยวหมู เส้นหมี่ มีรสเด็ด
ทั้งหวานเผ็ด เค็มเปรี้ยว เคี้ยวอร่อย
กินง่ายง่าย สบายสบาย รายจ่ายน้อย
ใช่ของไทย เต็มร้อย มาแต่จีน
ไทยรับมา ผสมผสาน กับบ้านเรา
ตกนานเข้า เป็นของไทย ไปเสียสิ้น
น้ำลายสอ แม้พอ เพียงได้ยิน
อร่อยลิ้น อิ่มท้อง ต้องลองเอย
........
อาหารกลางวันวันนี้จ้า : ก๋วยเตี๋ยวหมู+หมี่กรอบซึ่งเป็นของหวาน
ออกกำลัง วังชาดี มีเรี่ยวแรง
กายแข็งแกร่ง โรคภัย ไม่ถามหา
ออกกำลัง ทุกวัน นั้นแหละนา
จะนำพา กายใจ ให้สมบูรณ์
......
เย็นนี้ออกกำลังกายด้วยการกายบริหารท่าต่างๆ ก้าวขึ้น-ลง,ปั่นรถถีบและเดินรอบบ้านเหมือนเดิมจ้า เหื่อ(เหงื่อ) งี้โชกเลย อ้ะอ๊า เอาได้ๆ
อาหารเย็นเย็นนี้จ้า
เกิดมาต้องตาย ง่ายง่ายรู้รู้
หวานหวานหมูหมู คำตอบคำถาม
ถ้าเกิดไม่ตาย คงไม่ได้ความ
โลกคนล้นหลาม จะทำยังไง
ตื่นแล้วต้องหลับ ใช่ครับแน่นอน
เวลาพักผ่อน ไม่นอนไฉน
นอนนะพี่น้อง เพื่อนพ้องผองไทย
หลับให้สบาย กายใจทุกคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น