วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำโรงพัก (๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)

สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้วันเสาร์ แรมค่ำ ๑ เดือน ๓ ปีขาล รัตนโกสินทร์ศก ๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ วันหยุดสำหรับหลายๆ คนซึ่งก็รวมทั้งผมด้วยหลังจากทำงานกันมาเต็มๆ ทั้ง ๕ วันที่ผ่านมา ก็ขอให้มีความสุข สนุกสนานเบิกบานฤทัยโดยทั่วถ้วนกันขอรับกระผม

วันนี้ผมมีเรื่องมาบันทึกและเล่าให้ฟังกันเรื่อง ๑ นั่นก็คือเรื่องที่ สภ.พานประชุมนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาโดยการประุชุมวันนั้นผมจะขอหยิบยกมาเฉพาะเรื่องที่จะัเล่าให้ฟังนั่นก็คือ "การจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำโรงพัก"

การประชุึมวันนั้น พ.ต.อ.ไพรัช คุ้มล้วนล้อม ผกก.สภ.พานให้ข้อคิดว่าปัจจุบันการให้บริการประชาชนบนโรงพักในการประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลเบื้องต้น การสอบถามพี่น้องประชาชนที่มาติดต่อส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สิบเวรซึ่งบางครั้งอาจเ้กิดปัญหาข้อขัดข้องอยู่้บ้างทำให้การบริการพี่น้องประชาชนเป็นไปได้ไม่ทั่วถึงนัก เช่้น ความรู้ความเข้าใจในบางเรื่องของเจ้าหน้าที่อาจจะไม่มีเท่าที่ควรในกรณีที่พี่น้องสอบถามข้อมูลบางประการ รวมถึงการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นๆ อาทิเช่นการควบคุมผู้ต้องหา,การนำผู้ต้องหาไปพบพนักงานสอบสวน เป็นต้น ทำให้เกิดช่องว่างขึ้นได้หากพี่น้องไปติดต่อราชการในเวลานั้นจึงมีนโยบายที่จะจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ไว้เป็นการเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ตามนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือโครงการโรงพักเพื่อประชาชนในด้านการให้บริการประุชาชนเพียงอย่างเดียว ส่วนเจ้าหน้าที่สิบเวรก็ทำหน้าที่ของตนเองไป ซึ่งหากทำเช่นนี้แล้วจะช่วยให้การบริการเป็นไปได้อย่างทั่วถึงและพี่น้องมีึความประทับใจมากขึ้นรวมทั้งนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ว่า "บริการดุจญาติ พิทักษ์ราษฎร์ดุจครอบครัว" ก็จะบังเกิดผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นอีกด้วย



การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์นั้นที่ประชุมมีมติให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ช่วงเวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. นอกเหนือจากนั้นให้ัเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สิบเวรเพราะห้วงวันเวลาที่พูดถึงนี้มักจะมีพี่น้องประชาชนมาติดต่อราชการมากเป็นพิเศษกว่า่ช่วงอื่น

ในส่วนของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์นั้นที่ประชุมได้พิจารณาคัดเลือกข้าราชการตำรวจ สภ.พานจำนวน ๘ คนทำหน้าที่ โดยพิจารณาจากบุคลิกลักษณะ ท่าทาง ท่วงทีวาจา กริยา มารยาท รวมถึงความรู้ที่ร่ำเรียนมาเป็นส่วนประักอบซึ่งจะเป็นใครบ้างนั้นผมจะนำมารายงานให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป

การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะให้ยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายเร่งด่วนระยะที่ ๓ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ประชาสัมพันธ์ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

(๑) เข้าไปทักทาย ถามข้อมูลกับผู้มารับบริการทันที เมื่อพบเห็นหรือมาติดต่อราชการ และทักทายโดยใช้คำว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ มีอะไรให้ช่วยเหลือครับ/ค่ะ” ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และนำผู้มาติดต่อราชการไปพบข้าราชการตำรวจผู้รับผิดชอบ (อย่านั่งอยู่กับที่รอการติดต่อจากผู้รับบริการ) มีการปรับทัศนคติในการให้บริการแก่ประชาชนใหม่

(๒) เมื่อมีโทรศัพท์มาติดต่อราชการ กล่าวว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ สถานีตำรวจ กระผม/ดิฉัน (ยศ ชื่อ – สกุล) รับสายครับ/ค่ะ” แล้วใช้วาจาสุภาพนุ่มนวล

(๓) พาผู้มาติดต่อราชการเข้าพบพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ

(๔) จัดที่นั่งพักให้แก่ผู้ที่มาติดต่อราชการและทักทายสอบถามทุกข์สุขผู้รับบริการว่าพอใจหรือไม่อย่างไร

(๕) แต่งกายสะอาด สุภาพ และเรียบร้อย ในการจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ให้ปฏิบัติด้วยความละมุนละม่อม อธิบายข้อกฎหมายให้ประชาชนเข้าใจ และแจ้งถึงการสิ้นสุดของแต่ละเรื่องที่ดำเนินการให้ประชาชนทราบด้วย


ครับ นั่นก็คือเรื่องราวใหม่ๆ ของ สภ.พานที่จะนำมาใช้บริการพี่น้องประชาชนให้ได้ผลอย่างแท้จริงที่ผมนำมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น