วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่วมพิธีปิดการอบรมโครงการ D.A.R.E.ที่โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งป่าแดด (๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)

วันนี้เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. สถานีตำรวจภูธรพานร่วมกับโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งป่าแดด ตำบลป่าหุ่ง ได้ทำพิธีปิดการอบรมและมอบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนผู้ผ่านการอบรมโครงการต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษาหรือโครงการ D.A.R.E. ณ ห้องประชุมโรงเรียนฯ โดยมี พ.ต.ท.อนุพนธ์ สนิท รอง ผกก.ป.เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนฯ (นายสุนทร รินเที่ยง) ,คณะครู,ผู้ปกครองและนักเรียนที่ผ่านการอบรมประมาณ ๑๒๐ คน







สำหรับพิธีการในครั้งนี้มีดังนี้

เมื่อพร้อมแล้ว พ.ต.ท.สุพจน์ มัึจฉา สวป.สภ.พาน กล่าวรายงานต่อประธาน




ประธานมอบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้แทนโรงเรียน,องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งและผู้มีส่วนร่วมในการอบรมครั้งนี้



ประธาน,ผู้อำนวยการโรงเรียน,ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งและคณะข้าราชการตำรวจของเราร่วมกันทำพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรม






ผู้อำนวยการโรงเรียนฯและผู้แทนองค์การบริการส่วนตำบลป่าหุ่งพบปะพูดคุยกับผู้ร่วมพิธีจากนั้นประธานกล่าวให้โอวาท



ถ่ายภาพร่วมกันไว้เป็นที่้ระลึก




เสร็จสิ้นการปิดการอบรมครั้งนี้เวลาประมาณ ๑๕.๑๐ น.

อนึ่ง การให้ความรู้ความเข้าใจในโครงการ D.A.R.E. ของ สภ.พานแก่นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งป่าแดดครั้งนี้สถานีึตำรวจภูธรพานมอบหมายให้ั ด.ต.สาโรจน์ คำมาบุตร เจ้าหน้าที่ประจำชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรทำหน้าที่เป็นวิทยากรหลักโดยร่วมกับโรงเรียนจัดให้มีหลักสูตรนี้ขึ้นจำนวน ๑๐ สัปดาห์โดยทำการอบรมให้ความรู้ทุกวันพุธช่วงระหว่างเวลาประมาณ ๑๓.๓๐-๑๕.๓๐ น.เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ เป็นต้นมาโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง มีนักเรียนของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ ๑-๓ ประมาณ ๗๐ คนเข้ารับการอบรมโดยทุกคนผ่านการอบรมตามหลักสูตรและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี สำหรับการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้

๑. เพื่อควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติดลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาโดย เป็นการรวมพลังจากทุกภาคส่วนของสังคมให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
๒. เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เด็กนักเรียนและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงโทษ พิษภัยของยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัยและส่งผลกระทบต่อปัญหาของสังคมตลอดจนความมั่งคงของชาติ
๓. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด
๔. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนต่อต้านยาเสพติดภายในสถานศึกษา
๕.. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเด็กนักเรียนรวมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการกระทำความดีตั้งแต่ในวัยเด็ก ให้มีการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อเนื่องภายใต้แนวทาง “สร้างความดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ห่างไกลยาเสพติด รักชีวิตและสิ่งแวดล้อม


ที่มาของโครงการ D.A.R.E.

D.A.R.E. ย่อมาจากคำว่า Drug Abuse Resistance Education ก่อ ตั้งเมื่อกันยายน ๒๕๒๖ โดยกรมตำรวจเมืองลอสแอนเจลลิส (LAPD) กับเขตการศึกษาร่วมเมืองลอสแอนเจลลิส (LAUSD) เป็นหลักสูตรการป้องกันยาเสพติดซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการด้านการศึกษาและสอน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ (ตำรวจ D.A.R.E.) เพื่อให้เด็กนักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านการใช้ยาเสพติดและวิธีหลีก เลี่ยงการใช้ความรุนแรง

ประเทศไทยเริ่มนำหลักสูตร D.A.R.E. มาใช้ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดเป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาและนำมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับสังคมและ วัฒนธรรมของประเทศไทยโดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก
- องค์กร D.A.R.E. lnternational
- สำนักงานงบประมาณป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (Narcotics Affairs Section) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
- ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

โครงการ D.A.R.E. เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้ หลักการป้องกันนำหน้าการปราบปราม มุ่งเน้นกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดให้มีภูมิคุ้มกันยาเสพติดและใช้ปรัชญาของการศึกษาแผนใหม่ที่ให้เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ตลอดจนจัดให้มีกิจกรรมที่ผู้ปกครองชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก

หลักการสำคัญของ D.A.R.E. คือ การให้ข้อมูลและทักษะที่จำเป็นแก่เด็กนักเรียนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือการใช้ความรุนแรง สร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างตำรวจเด็กนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และสมาชิกในชุมชน

เนื้อหาหลักสูตรของ D.A.R.E. มุ่งเน้น

- ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุราและยาเสพติด

- ให้เด็กรู้จักใช้ทักษะในการตัดสินใจ

- ให้เด็กรู้จักวิธีต่อต้านแรงกดดันของกลุ่มเพื่อน

- ให้เด็กรู้จักใช้ทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง

โครงการ ดังกล่าวประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งเนื่องจากเป็นการรวมพลังของสถานที่มีบทบาท สำคัญในสังคมได้แก่สถาบันตำรวจ สถาบันการศึกษาและสถาบันครอบครัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น