ตำรวจปริญญาเอกคือหนังสือเล่มสำคัญที่อาจใช้ในการสร้างความรู้ด้านยุทธวิธีในการเพิ่มมุมมองเพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลที่ลึกซึ้ง
เพื่อให้ "เข้าใจตำรวจ" ในบริบทการทำงานที่แท้จริงของตำรวจไทย ที่นับได้ว่าเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญของทีมงานสื่อสารองค์กรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(มีหรือไม่?) การประชาสัมพันธ์องค์กรเป็นภารกิจที่สมควรทำมากกว่าการประชาสัมพันธ์ตำรวจรายบุคคลดังเช่นที่เรามักพบภาพนายตำรวจบนป้ายข้างทางจนดูราวกับว่าท่านเตรียมตัวสร้างความคุ้นเคยให้ประชาชนจดจำชื่อของตำรวจท่านนั้นแต่เพียงเท่านั้น
มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ประการใดต่อองค์กรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งหมายถึงเหล่าพลพรรคตำรวจกว่า ๒ แสนชีวิต
การสื่อสารองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนนี้ จะก่อให้เกิดคุณูปการที่แง่ของการเพิ่มทุนทางสังคมให้แก่เพื่อนตำรวจร่วมอาชีพด้วย การที่ตำรวจมีต้นทุนทางสังคมที่ต่ำ (พิจารณาจากความรู้สึกที่แสดงออกในรูปแบบต่างๆ ของประชาชนที่มีต่อตำรวจไทย) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ ขวัญและกำลังใจในการทำงาน และสุขภาพจิตของตำรวจไทยตำรวจไทยจำนวนไม่น้อยมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริบทของการทำงานและวิถีชีวิต (ที่วุ่นวายสับสนระหว่างงานและครอบครัวอย่างที่ฝรั่งเขาเรียกว่า work-family conflict)
ข้อถกเถียงท้าทายระหว่างนักวิชาการกับตำรวจผิวสีในหนังสือตำรวจปริญญาเอกในประเด็นที่ว่า "ความก้าวร้าวของตำรวจเกิดขึ้นจากบริบทของการทำงานหรือมาจากคุณลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพที่ติดตัวมาก่อนที่จะมาเป็นตำรวจกันแน่?” ผ่านบทพิสูจน์ด้วยการท้าทายให้นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยมองด้วย "มุมคนนอก” (outsider view) ลองมาสัมผัสและเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในบริบทการทำงานของตำรวจเพื่อเพิ่มพื้นที่และเปิด "มุมมองแบบคนใน" (insider view)...บริบทของการทำงานที่เลวร้าย ส่งผลให้บุคลิกภาพผู้ปฏิบัติงานเปลี่ยนไป อย่างเช่นใช้ความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยกระทำมาก่อน อารมณ์เสีย โกรธ หงุดหงิดง่าย เป็นต้น
นอกเหนือจากการทำงานจะส่งผลต่อความก้าวร้าวแล้วนั้น ยังส่งผลต่อความชาชิน คุ้นเคยกับปรากฏการณ์ความรุนแรง ประกอบกับการมีความขาดแคลนทรัพยากรในการทำงาน ส่งผลให้ตำรวจส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมนิยมใช้วิธีการใส่เกียร์ว่าง ไม่ใส่ใจ ไม่ใช้ความพยายามในการสืบสวน สอบสวน ปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีเพื่อรับโทษตามกฎหมาย และยังไม่นับรวมถึงการป้องกันอาชญากรรมที่ได้รับความสนใจติดตามงานน้อยกว่างานปราบปรามด้วย นอกจากนี้การปล่อยให้ระบบคุณธรรมในการบริหารงานตำรวจถูกแทรกแซงจนขาดอิสระในการดำเนินการจนไม่สามารถสร้างศรัทธา ความมั่นใจ ความไว้วางใจแก่ตำรวจว่า "เมื่อตั้งใจทำงาน ทำดีแล้วจะได้ดี” ส่งผลให้ความกระตือรือร้นในการทำงาน ความมุ่งมั่นที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชนกลายเป็นการทำงานเพียงแค่พอผ่าน
แต่ถึงกระนั้น สังคมไทยก็ยังเห็นภาพของตำรวจส่วนหนึ่งที่มีหัวใจของความเป็นตำรวจ ดังเช่นดาบตำรวจ สถานีตำรวจอุทัย พระนครศรีอยุธยา เป็นตำรวจจราจรแต่กลับสวมหัวใจผู้พิทักษ์สันติราษฎร์วิ่งไล่จับโจรลักสายไฟจนหัวใจวาย หมดสติ อาการโคม่าเนื่องมาจากมีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่เดิม เป็นต้น หรือบ่อยครั้งที่ตำรวจสื่อสารถึงดิฉันผ่านการเล่นไลน์ (Line) เพื่อคลายเครียดในการทำงานว่า "อาจารย์คร้าบผมไม่ได้กลับบ้านมาเป็นเดือนแล้ว" นายบอกว่า "ถ้ามึงจับตัวมันมาไม่ได้มึงก็ไม่ต้องกลับมา” นายที่ดีลูกน้องก็พร้อมจะทุ่มเททำงานอย่างที่สุดเช่นกัน!!!
ภาพสติกเกอร์ในระบบไลน์ที่ พ.ต.อ.สมบัติ ชูชัยยะ
รองผู้บังคับการตำรวจพระนครศรีอยุธยา รวมถึงเหล่าบรรดาผู้บังคับบัญชาคนอื่นๆ
ส่งเชียร์ให้กำลังใจลูกน้องที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างเข้มแข็ง
หรือในบางคราวการสั่งการให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มงวดและเข้มแข็งเพื่อป้องกันเหตุร้ายอย่างเต็มกำลังเต็มความสามารถ
หรือการรายงานเหตุอย่างชัดเจนเพื่อนำข้อมูลมาใช้เพื่อวิเคราะห์วางแผนงานเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำนั้น
แสดงให้เห็นการทำงานเป็นทีม การมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน
และวินัยในการทำงานของเหล่าบรรดาตำรวจราจรมดงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญ...นายและลูกน้องร่วมสร้างความสุขในการทำงาน
การทดลองก้าวเข้าไปสู่โลกของระบบไลน์ของทีมงานตำรวจจราจรพระนครศรีอยุธยาเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกาย (biological clock) ของดิฉันปั่นป่วนอันเนื่องมาจากการติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืนของเหล่าบรรดาตำรวจ...จะมีประชาชนสักกี่คนที่รับรู้ว่า ตำรวจทำงานอย่างไร? บริหารเวลาในการทำงานอย่างไร? ความกดดันและข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเงื่อนไขบริบทการทำงานเป็นอย่างไร? บริบทดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อตำรวจอย่างไร?
โครงการตำรวจร่วมมวลชนลดอาชญากรรมที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกโมเดล (แบบจำลอง) หนึ่งที่อาจเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสโลกของตำรวจในรูปแบบที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นผู้ช่วยตำรวจที่ทำงานแบบอาสาสมัคร หากแต่มีคุณค่าและความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของกระบวนการทำงานร่วมกันที่สามารถทำให้ทั้งตำรวจและประชาชนมีความสุขในการร่วมสร้างชุมชนที่ปลอดภัย ร่วมสร้างความเข้าใจความเป็นตำรวจ ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าเลือกในการทำงานท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรการบริหารงานและภาวะการมีต้นทุนทางสังคมที่ต่ำ (เกินจริง) ในโลกของตำรวจ!!
การสื่อสารองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนนี้ จะก่อให้เกิดคุณูปการที่แง่ของการเพิ่มทุนทางสังคมให้แก่เพื่อนตำรวจร่วมอาชีพด้วย การที่ตำรวจมีต้นทุนทางสังคมที่ต่ำ (พิจารณาจากความรู้สึกที่แสดงออกในรูปแบบต่างๆ ของประชาชนที่มีต่อตำรวจไทย) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ ขวัญและกำลังใจในการทำงาน และสุขภาพจิตของตำรวจไทยตำรวจไทยจำนวนไม่น้อยมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริบทของการทำงานและวิถีชีวิต (ที่วุ่นวายสับสนระหว่างงานและครอบครัวอย่างที่ฝรั่งเขาเรียกว่า work-family conflict)
ข้อถกเถียงท้าทายระหว่างนักวิชาการกับตำรวจผิวสีในหนังสือตำรวจปริญญาเอกในประเด็นที่ว่า "ความก้าวร้าวของตำรวจเกิดขึ้นจากบริบทของการทำงานหรือมาจากคุณลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพที่ติดตัวมาก่อนที่จะมาเป็นตำรวจกันแน่?” ผ่านบทพิสูจน์ด้วยการท้าทายให้นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยมองด้วย "มุมคนนอก” (outsider view) ลองมาสัมผัสและเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในบริบทการทำงานของตำรวจเพื่อเพิ่มพื้นที่และเปิด "มุมมองแบบคนใน" (insider view)...บริบทของการทำงานที่เลวร้าย ส่งผลให้บุคลิกภาพผู้ปฏิบัติงานเปลี่ยนไป อย่างเช่นใช้ความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยกระทำมาก่อน อารมณ์เสีย โกรธ หงุดหงิดง่าย เป็นต้น
นอกเหนือจากการทำงานจะส่งผลต่อความก้าวร้าวแล้วนั้น ยังส่งผลต่อความชาชิน คุ้นเคยกับปรากฏการณ์ความรุนแรง ประกอบกับการมีความขาดแคลนทรัพยากรในการทำงาน ส่งผลให้ตำรวจส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมนิยมใช้วิธีการใส่เกียร์ว่าง ไม่ใส่ใจ ไม่ใช้ความพยายามในการสืบสวน สอบสวน ปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีเพื่อรับโทษตามกฎหมาย และยังไม่นับรวมถึงการป้องกันอาชญากรรมที่ได้รับความสนใจติดตามงานน้อยกว่างานปราบปรามด้วย นอกจากนี้การปล่อยให้ระบบคุณธรรมในการบริหารงานตำรวจถูกแทรกแซงจนขาดอิสระในการดำเนินการจนไม่สามารถสร้างศรัทธา ความมั่นใจ ความไว้วางใจแก่ตำรวจว่า "เมื่อตั้งใจทำงาน ทำดีแล้วจะได้ดี” ส่งผลให้ความกระตือรือร้นในการทำงาน ความมุ่งมั่นที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชนกลายเป็นการทำงานเพียงแค่พอผ่าน
แต่ถึงกระนั้น สังคมไทยก็ยังเห็นภาพของตำรวจส่วนหนึ่งที่มีหัวใจของความเป็นตำรวจ ดังเช่นดาบตำรวจ สถานีตำรวจอุทัย พระนครศรีอยุธยา เป็นตำรวจจราจรแต่กลับสวมหัวใจผู้พิทักษ์สันติราษฎร์วิ่งไล่จับโจรลักสายไฟจนหัวใจวาย หมดสติ อาการโคม่าเนื่องมาจากมีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่เดิม เป็นต้น หรือบ่อยครั้งที่ตำรวจสื่อสารถึงดิฉันผ่านการเล่นไลน์ (Line) เพื่อคลายเครียดในการทำงานว่า "อาจารย์คร้าบผมไม่ได้กลับบ้านมาเป็นเดือนแล้ว" นายบอกว่า "ถ้ามึงจับตัวมันมาไม่ได้มึงก็ไม่ต้องกลับมา” นายที่ดีลูกน้องก็พร้อมจะทุ่มเททำงานอย่างที่สุดเช่นกัน!!!
ภาพสติกเกอร์ในระบบไลน์ที่ พ.ต.อ.
การทดลองก้าวเข้าไปสู่โลกของระบบไลน์ของทีมงานตำรวจจราจรพระนครศรีอยุธยาเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกาย (biological clock) ของดิฉันปั่นป่วนอันเนื่องมาจากการติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืนของเหล่าบรรดาตำรวจ...จะมีประชาชนสักกี่คนที่รับรู้ว่า ตำรวจทำงานอย่างไร? บริหารเวลาในการทำงานอย่างไร? ความกดดันและข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเงื่อนไขบริบทการทำงานเป็นอย่างไร? บริบทดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อตำรวจอย่างไร?
โครงการตำรวจร่วมมวลชนลดอาชญากรรมที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกโมเดล (แบบจำลอง) หนึ่งที่อาจเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสโลกของตำรวจในรูปแบบที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นผู้ช่วยตำรวจที่ทำงานแบบอาสาสมัคร หากแต่มีคุณค่าและความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของกระบวนการทำงานร่วมกันที่สามารถทำให้ทั้งตำรวจและประชาชนมีความสุขในการร่วมสร้างชุมชนที่ปลอดภัย ร่วมสร้างความเข้าใจความเป็นตำรวจ ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าเลือกในการทำงานท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรการบริหารงานและภาวะการมีต้นทุนทางสังคมที่ต่ำ (เกินจริง) ในโลกของตำรวจ!!
ที่มา : http://goo.gl/OlTJh
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น