เรื่องราวที่ว่าเปิดดูนั้นมีอยู่ ๒-๓ เรื่องซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันนี้ของเมื่อ ๕ ปีที่แล้วสมัยผมรับราชการในตำแหน่ง สวป.ที่ สภ.พาน จ.เชียงราย ซึ่งผมใคร่ขอนำมาเผยแพร่ต่อในวันนี้สัก ๒ เรื่อง โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ตัวแทนแม่ค้าในตลาดเทศบาลตำบลเมืองพานมอบของขวัญชิ้นหนึ่งให้ผมและเจ้าหน้าที่สายตรวจ สภ.พานเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ ๒๕๕๒ ซึ่งผมถือว่ามีค่าเป็นอย่างยิ่งในเรื่องน้ำใจโดยเรื่องราวนั้นผมได้บันทึกไว้ด้วยในหัวข้อเรื่อง "คำอวยพรจากใจแม่ค้า" ซึ่งมีดังนี้
เมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น.พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา สวป.สภ.พาน
ได้เป็นตัวแทนในนามของเจ้าหน้าที่สายตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์
สภ.พานรับมอบของที่ระลึกและคำอำนวยอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๒ จากคณะพ่อค้าแม่ค้าหลังตลาดเทศบาลตำบลเมืองพานซึ่งมีนางเสาวนีย์
หล้าคำ แม่ค้าขายไก่เมืองเป็นตัวแทน
โดยตัวแทนพ่อค้าแม่ค้ากล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจของเราที่ช่วยดูแลและปฏิบัติหน้าที่การตรวจตราแก่พี่น้องตลอดเรื่อยมาเป็นอย่างดีและแจ้งด้วยว่าในส่วนของพ่อค้าแม่ค้าหลังตลาดเทศบาลทุกคนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในทุกๆ
ด้านเท่าที่จะกระทำได้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจของเราเพื่อให้อำเภอพานมีสงบสุขร่มเย็นตลอดไป
ได้กล่าวขอบคุณในนามคณะเจ้าหน้าที่สายตรวจในการอำนวยอวยพรครั้งนี้และแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สภ.พานทุกคนพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อความอุ่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนตลอด
๒๔ ชั่วโมง
ข้อมูลอ้างอิง : http://goo.gl/nZYVH3
อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องราวที่ผมนำเจ้าหน้าที่สายตรวจรับฟังธรรมะจากพระสงฆ์ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ครับ
เรื่องนี้ผมบันทึกรายละเอียดไว้ดังนี้
ข้อมูลอ้างอิง : http://goo.gl/nZYVH3
อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องราวที่ผมนำเจ้าหน้าที่สายตรวจรับฟังธรรมะจากพระสงฆ์ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ครับ
เรื่องนี้ผมบันทึกรายละเอียดไว้ดังนี้
เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒
เวลาประมาณ ๑๕.๔๕ น. พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา
สวป.ฯได้นำเจ้าหน้าที่สายตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์ผลัดที่จะปฏิบัติหน้าที่ระหว่างเวลา
๑๖.๐๐-๒๔.๐๐ น.เดินทางไปยังวัดเทพวัน ตำบลเมืองพาน
เพื่อรับฟังธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักปฏิบัติก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายการสร้างคุณธรรม
จริยธรรม และน้อมนำคำสั่งสอนตามหลักศาสนามาใช้เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ของ
พ.ต.อ.มาโนช มีสกุลคุณ ผกก.สภ.พาน โดยในวันนี้ท่านพระอธิการแสวง
กิตติธโร ท่านเจ้าอาวาสได้กรุณาแสดงธรรมะในเรื่อง “ธรรมะที่เป็นอุปการะมาก
๒ อย่าง” โดยมีข้อมูลพอสังเขปดังนี้แก่เจ้าหน้าที่
- สติ ความระลึกได้
- สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
ธรรม ๒ ประการนี้เป็นอุปการะมาก มีส่วนเกื้อกูลมากต่อการทำงานหรือทำความดีทุกอย่าง ความสามารถที่จะรักษาศีลและวินัยคฤหัสถ์ได้บริบูรณ์หรือไม่ก็ขึ้นกับสติและสัมปชัญญะ ผู้มีธรรม ๒ ประการนี้ ย่อมเป็นคนรอบคอบ ไม่ประมาท จะคิดจะทำจะพูดอะไรก็จะไม่ผิดพลาดเสียหาย
- สติ ความระลึกได้
- สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
ธรรม ๒ ประการนี้เป็นอุปการะมาก มีส่วนเกื้อกูลมากต่อการทำงานหรือทำความดีทุกอย่าง ความสามารถที่จะรักษาศีลและวินัยคฤหัสถ์ได้บริบูรณ์หรือไม่ก็ขึ้นกับสติและสัมปชัญญะ ผู้มีธรรม ๒ ประการนี้ ย่อมเป็นคนรอบคอบ ไม่ประมาท จะคิดจะทำจะพูดอะไรก็จะไม่ผิดพลาดเสียหาย
สติ ความระลึกได้หมายถึงระลึกได้ถึงการกระทำ
คำที่พูดและเรื่องที่คิดแม้ที่ล่วงมาแล้วได้หรือระลึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงในอนาคต
เช่น กำหนดว่าชั่วโมงต่อไปนี้หรือพรุ่งนี้จะทำอะไรก็นึกขึ้นมาได้
หน้าที่ของสตินั้นเป็นไปได้ ๒ กาล คืออดีตและอนาคต
สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หมายถึงความรู้ตัวที่เป็นไปในปัจจุบันในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด หรือทำ พูด คิด อะไรอยู่ก็รู้ตัวในขณะนี้ เช่น เรากำลังอ่านหนังสืออยู่ขณะนี้ก็รู้ว่าเรากำลังอ่านหนังสือ เรากำลังพูดอยู่ก็รู้ตัวว่าเรากำลังพูด เรากำลังจะกระทำในเรื่องผิดศีลก็รู้ว่ากำลังจะกระทำผิด เรากำลังจะเล่นการพนันก็รู้และเร่งรีบเตือนตนว่ากำลังจะกระทำผิด อยู่ฉะนั้น หน้าที่ของสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น
สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หมายถึงความรู้ตัวที่เป็นไปในปัจจุบันในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด หรือทำ พูด คิด อะไรอยู่ก็รู้ตัวในขณะนี้ เช่น เรากำลังอ่านหนังสืออยู่ขณะนี้ก็รู้ว่าเรากำลังอ่านหนังสือ เรากำลังพูดอยู่ก็รู้ตัวว่าเรากำลังพูด เรากำลังจะกระทำในเรื่องผิดศีลก็รู้ว่ากำลังจะกระทำผิด เรากำลังจะเล่นการพนันก็รู้และเร่งรีบเตือนตนว่ากำลังจะกระทำผิด อยู่ฉะนั้น หน้าที่ของสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น
ลักษณะที่ดีของสัมปชัญญะ สัมปชัญญะที่ถูกต้องตามธรรมและหลักคำสอนของพุทธศาสนามี ๕ ประการ คือ
๑. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นประโยชน์หรือไม่
๑. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นประโยชน์หรือไม่
๒.
รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเหมาะกับตนหรือไม่
๓. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นความทุกข์หรือสุขอย่างไร
๔. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นความงมงายหรือไม่
๕. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเลื่อนลอยไร้สาระหรือไม่
๓. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นความทุกข์หรือสุขอย่างไร
๔. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเป็นความงมงายหรือไม่
๕. รู้ตัวว่าการที่ตนกำลังทำอยู่นั้นเลื่อนลอยไร้สาระหรือไม่
ความรู้ตัวในขณะที่ทำนั้น
มิใช่เพียงแต่รู้ตัวว่ากำลังทำเฉยๆ
หากแต่ต้องเป็นความรู้ตัวซึ่งประกอบด้วยองค์ลักษณะ ๔ ประการ โดยกล่าวสรุปว่า
๑. มีประโยชน์หรือไม่
๒. เหมาะสมกับตนหรือไม่
๓. เป็นความทุกข์หรือความสุข
๔. เป็นความฉลาดหรืองมงาย เลื่อนลอย ไร้สาระ
ความรู้ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นองค์ประกอบสัมปชัญญะที่ถือว่ามีอุปการะมากก็เพราะ เมื่อรู้ตัวแล้วจะได้ปรับปรุงแก้ไขในการทำงานให้ดีมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ไม่มัวทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ไม่มัวทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับเพศภาวะของตน ไม่มัวทำในวิธีการผิดๆ และไม่มัวทำในเรื่องที่งมงายไร้สาระเป็นต้น
๑. มีประโยชน์หรือไม่
๒. เหมาะสมกับตนหรือไม่
๓. เป็นความทุกข์หรือความสุข
๔. เป็นความฉลาดหรืองมงาย เลื่อนลอย ไร้สาระ
ความรู้ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นองค์ประกอบสัมปชัญญะที่ถือว่ามีอุปการะมากก็เพราะ เมื่อรู้ตัวแล้วจะได้ปรับปรุงแก้ไขในการทำงานให้ดีมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ไม่มัวทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ไม่มัวทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับเพศภาวะของตน ไม่มัวทำในวิธีการผิดๆ และไม่มัวทำในเรื่องที่งมงายไร้สาระเป็นต้น
ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราจะน้อมนำธรรมะคำสั่งสอนนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในหน้าที่การงานและส่วนตัวต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง : http://goo.gl/FpwsWZ
ครับ นี่ก็คือเรื่องราวที่น่าประทับใจของผมในวันนี้เมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมา
ครับ นี่ก็คือเรื่องราวที่น่าประทับใจของผมในวันนี้เมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น