วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

ตำรวจดีมีบ้างมั้ย? : โลกตำรวจ โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข (๑๙ มกราคม ๒๕๕๗)

ไม่มีอดุลย์ยิ่งต้องปฏิรูปตำรวจใหญ่เลย" หญิงสาวหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองอายุราว ๒๘ ปีผู้มีรูปร่างหน้าตาสะท้อนความเป็นสาวสวยที่หากมองเพียงผิวเผินจะไม่คาดคิดว่าเบื้องหลังบุคลิกภาพที่แสดงให้เห็นว่าเป็นสาวสมัยใหม่นั้นจะมีความคิดที่จริงจังเกี่ยวกับบทบาทตำรวจและสภาพสังคมไทยในยามนี้คำว่า "ปฏิรูปตำรวจในความหมายของหญิงสาวหมายถึง การทำให้ตำรวจหลุดพ้นจากการครอบงำทางการเมืองซึ่งเธอแสดงความเห็นว่า "ไม่ว่าพรรคการเมืองใดมาเป็นรัฐบาลก็ตาม

ตำรวจมีความสำคัญนะคะ แต่ถ้าตำรวจยังอยู่ในระบบอย่างนี้ ตำรวจก็จะถูกประชาชนมองในแง่ร้ายอย่างนี้แหละคำพูดประโยคนี้ของหญิงสาวมีวิธีคิดเบื้องหลังที่ว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่มีความไม่ปลอดภัยสูง มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูงทำให้ตำรวจเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่ดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และด้วยความเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาความปลอดภัยที่เหนือกว่ากลุ่มบุคคลอื่นๆ ทำให้สังคมไทยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาตำรวจไทยสูงมาก แต่ในขณะที่ประชาชนต้องการการพึ่งพา ปกป้อง คุ้มครองดูแลความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในสังคมนั้น ตำรวจกลับกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่มีต้นทุนทางสังคมตำรวจและถูกจับจ้อง ตรวจสอบจากคนในสังคมสูง อีกทั้งเมื่อพบว่าตำรวจผู้หนึ่งผู้ใดกระทำความผิดสังคมก็มักจะสรุปเหมารวมไปถึง "ความเป็นตำรวจ" ทั้งๆ ที่การกระทำที่ไม่ดีนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวเฉพาะบุคคล เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะความรู้สึกที่ถูกบ่มเพาะมาอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวและฝังแน่นต่อเนื่องมาอย่างยาวนานอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดำเนินชีวิตว่า ตำรวจชอบรังแกประชาชน ดังชุดประสบการณ์ต่อไปนี้ อย่าร้องนะเดี๋ยวตำรวจจับแม่ขู่ลูกที่กำลังร้องไห้งอแง

ถ้าไม่ไปโรงเรียนเดี๋ยวตำรวจจับคำขู่ของพ่อในยามที่ลูกไม่ไปโรงเรียน ไม่อยากขับรถผ่านสี่แยกนี้ ตำรวจมันชอบจับพี่ชายบอกน้องสาวในขณะขับรถ ตำรวจมันแกล้งทำเป็นจับไอ้พวกนี้ไปอย่างนั้นแหละ เผลอแป๊บเดียวมันก็ปล่อยออกมาแล้ว คนมีเงินทำผิดก็ไม่ผิดหรอก" การไม่เข้าใจวิธีการทำงานตามกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างถ่องแท้ว่าประกอบไปด้วยการทำงานที่แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบกันระหว่างกลุ่มตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา ทำให้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำผิดล้วนถูกตีความหมาย (อย่างผิดพลาด) ว่าเป็นบทบาทและอำนาจของตำรวจแต่เพียงเท่านั้น

ตัวอย่างเหล่านี้คือสนามประสบการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมาของบุคคลที่ถูกซึมซับตอกย้ำความรู้สึกจนทำให้มุมดีๆ ในการทำหน้าที่ของตำรวจเลือนหายไปจากการตีความหมายของคนในสังคม ดังเช่นมุมมอง และวิธีคิดเหล่านี้ ลองคิดถกเถียง เปรียบเทียบกับความรู้สึกที่ผ่านมา เสียใจเรื่องอะไร มีปัญหาอะไรบอกตำรวจ ให้ลุงตำรวจช่วย...ตำรวจคือคนที่คุณเรียกใช้ยามคุณเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ

ลุงตำรวจที่อยู่หน้าโรงเรียน มายืนโบกรถให้เราข้ามถนนอย่างปลอดภัยทุกเช้าและทุกเย็นจนเราเรียนจบ และน้องๆ ของเราทุกรุ่นก็ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากลุงตำรวจ

เวลาที่คุณเลิกจากปาร์ตี้สนุกสนาน ใครเหรอที่ยืนอยู่ตามถนน คอยตรวจจับคนที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะขับรถมาชนคุณหรือคนที่คุณรัก? คุณเคยสักครั้งหรือไม่ที่จะจอดรถแล้วบอกเขาว่า ขอบคุณค่ะ คุณตำรวจที่กรุณาอดทนเพื่อดูแลฉัน

นี่คือตัวอย่างของความคิด ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทยที่ก่อร่างสร้างอคติที่มีต่อความเป็นตำรวจสะสมต่อเนื่องยาวนานโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไข เปลี่ยนแปลง

เมื่ออคติที่มีอยู่ถูกกระตุ้นด้วยปรากฏการณ์เฉพาะหน้าใดๆ ในสังคม  เช่น ปรากฏการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชน ย่อมทำให้ความรู้สึก การตีความหมาย และการให้คุณค่าที่มีต่อความเป็นตำรวจเป็นไปในเชิงลบมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าตำรวจจะพยายามที่จะปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีโดยหลีกเลี่ยงที่จะใช้วิธีการที่จะก่อให้เกิดการปะทะ โดยแสดงบทบาทของการเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างอดทน อดกลั้นแล้วก็ตามแต่ก็มิอาจหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ไว้วางใจตำรวจได้ ตัวอย่างเช่น

เราไม่เคยคิดว่าเราเป็นศัตรูกับตำรวจ แต่ทำไมตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตา

หมั่นไส้ ทำเป็นทำงานอย่างเข้มแข็ง ที่แท้ทำตัวเป็นองครักษ์พิทักษ์นายหญิง ทีกะประชาชนไม่สนใจ

เลือกที่จะบังคับใช้กฎหมายกับฝ่ายผู้ชุมนุม ทีกะอีกฝ่ายทำไมไม่เห็นจะทำ อย่างนี้เรียกว่าบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เสมอภาคตัวอย่างคำพูดเหล่านี้คือเสียงสะท้อนความรู้สึกของผู้ชุมนุมอันเป็นที่มาของทัศนคติเชิงลบที่มีต่อตำรวจ แต่เมื่อวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้วก็จะมองเห็นความรู้สึกดีๆ ความปรารถนาดี ความหวังดีๆ ที่อยากจะเห็นตำรวจเป็นตำรวจของประชาชนด้วยคำพูดในช่วงท้ายของการสนทนาว่า ลองคิดดู ในเมื่อการเมืองมันน้ำเน่า แล้วการบริหารงานบุคคลของตำรวจก็ผูกโยงขึ้นอยู่กับการเมืองน้ำเน่าทุกยุคทุกสมัย ตำรวจก็ต้องเป็นตำรวจอย่างที่เราเห็นนี่แหละ พี่เห็นด้วยมั้ยล่ะว่าตำรวจต้องไม่อยู่ภายใต้การเมืองหญิงสาวย้อนถาม?

ดิฉันไม่ตอบเพียงแต่ย้อนคิดทบทวนเรื่องส่วยในโลกของตำรวจ หากเป็นคนทั่วไปในสังคมไทย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่เกลียดตำรวจ) อาจนึกถึงพฤติกรรมนอกรีตของตำรวจในวิถีการคอร์รัปชั่นประเภทต่างๆ แต่จะมีใครสักกี่คนรู้ว่าตลอดห้วงชีวิตการรับราชการของตำรวจนั้นตำรวจถูกกดขี่ รีดไถให้จ่ายส่วยในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบการจ่ายสด หรือผ่อนชำระเพื่อแลกกับความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน...และนี่คงเป็นเบื้องหลังที่มาของพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกเกลียดตำรวจเพียงแต่ว่าพวกเขาเหล่านั้นอาจไม่เฉลียวใจว่าเหล่าบรรดาตำรวจเหล่านั้นอาจถูกผลักจากระบบบริหารจัดการงานบุคคลที่ล้มเหลวจนทำให้ต้องกระทำพฤติกรรมเช่นนั้น

ต้องปฏิรูปตำรวจ!!!แต่จะมีวันเป็นไปได้หรือ?

ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20140115/176851.html

ปิดท้ายคอมลัมน์ :


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น