วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทาส (๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕)

ทาสตามกฎหมายโบราณแยกทาสเอาไว้ทั้งหมด ๗ ชนิดด้วยกันคือ

.ทาสสินไถ่
.ทาสในเรือนเบี้ย
.ทาสได้มาแต่บิดามารดา
.ทาสท่านให้
.ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
๖.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
.ทาสเชลยศึก


ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายหรือขุนนางเสนาบดีที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินมักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่ไม่อาจสร้างความเป็นไทแก่ตัวเอง พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป พระองค์ทรงใช้ระยะเวลาอันยาวนานกับการเลิกทาสด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไทด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอนจนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเลิกทาสในที่สุด

ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้พออายุครบ ๘ ปีก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัวจนกว่าจะครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงระบุเรื่องโทษของการเป็นทาสทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย เป็นการป้องกันมิให้เกิดการกลับมาเป็นทาสอีก


ด้วยพระเมตตาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์เอง การดำริเรื่องการเลิกทาสนั้นพระองค์ทรงเริ่มการปลดปล่อยทาสตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ท่านใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะออกกฎหมายมาบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นนายเงินให้ปลดปล่อยทาสให้ได้รับอิสระเป็นไทแก่ตัวพระองค์ท่านต้องใช้เวลากว่า ๓๐ ปีในการที่จะไม่ให้มีทาสเหลืออยู่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ท่านอีกโดยที่มิต้องสูญเสียเลือดเนื้อในการเลิกทาสแม้แต่หยดเดียวซึ่งแตกต่างกับต่างชาติที่เมื่อประกาศเลิกทาสก็เกิดการคัดค้านต่อต้านขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้น

ที่มา : http://www.psdg.moe.go.th/king/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น