วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการตำรวจเข้าวัดก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ของ สภ.แม่จริม (๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)

๑. หลักการและเหตุผล

อำนาจหน้าที่ของตำรวจมีมากมายกว้างขวางทั้งงานป้องกันปราบปราม การกระทำผิดทางอาญาและการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องมากมาย ลักษณะงานของตำรวจจะใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ทำให้ได้รับความคาดหวังจากประชาชนและสังคมสูง บางครั้งบางสถานการณ์และตำรวจส่วนน้อยกระทำการผิดพลาดก็จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของตำรวจทั้งระบบโดยเฉพาะจะกระทบกับความรู้สึกในแง่ลบของประชาชนอย่างยากที่จะลบเลือน ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและน้อมนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่แล้วจะสามารถช่วยลบภาพลักษณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดีเช่นมีความรักความพอใจในงานที่ทำมีความโอบอ้อมอารีต่อพี่น้องประชาชนและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ

วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่
๑) น้อมนำธรรมะข้อคิดดีๆ ไปใช้เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่
๒) มีความกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น
๓) มีสติรู้ตัว มีปัญญารู้คิดและรู้สึกผิดชอบชั่วดีในการกระทำทั้งในและนอกหน้าที่ราชการ
๔) เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงานตำรวจ

๕) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมครบถ้วนตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑
๖) เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาและมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ

๓. เป้าหมายเจ้าหน้าที่สายตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์สถานีตำรวจภูธรแม่จริม (รวมถึงเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งไม่ติดภารกิจสำคัญ) ที่จะปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น.เป็นต้นไป

๔. การปฏิบัติ
๑) ประสานพระภิกษุสงฆ์วัดใกล้เคียงเพื่อแจ้งวันและเวลาที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้ารับฟังธรรมะก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ให้ทราบและเตรียมหลักธรรมะทึ่เห็นสมควรถ่ายทอดแก่เจ้าหน้าที่
๒) ก่อนเวลา ๐๘.๐๐ น.ของวันที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันนั้นเข้ารับฟังธรรมจากพระภิกษุตามข้อ ๑)
๓) นำหลักธรรมะที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติทั้งหน้าที่การงานและส่วนตัวต่อไป

๕. ระยะเวลาการดำเนินการ
ตั้่งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เป็นต้นไปสัปดาห์ละ ๑ ครั้งหรือตามความเหมาะสมของสถานการณ์ช่วงนั้นแต่อย่างน้อยต้องดำเนินการสัปดาห์ละอย่างน้อย ๑ ครั้ง

๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑) เจ้าหน้าที่สามารถนำธรรมะที่ได้รับไปใช้เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
๒) เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น
๓) เจ้าหน้าที่มีสติรู้ตัว มีปัญญารู้คิดและรู้สึกผิดชอบชั่วดีในการกระทำทั้งในและนอกหน้าที่ราชการอันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในภาพรวม
๔) เจ้าหน้าที่สามารถเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงานตำรวจ

๕) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมครบถ้วนตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑
๖) พี่น้องประชาชนมีความเชื่อมั่น ศรัทธาและมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจมากยิ่งขึ้น

๗. การติดตามประเมินผล
๑) ตรวจสอบความประพฤติและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เข้าโครงการนี้ทั้งก่อน ขณะ และหลังดำเนินการ
๒) ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง
๓) สอบถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะัของประชาชนที่มีต่อตำรวจเราหลังเข้าโครงการอย่างสม่ำเสมอ
๔) นำผลที่ได้รับไปปรับปรุงและประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น