วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สำนวนไทยๆ (๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕)

ตักน้ำรดหัวตอ

สำนวนนี้โบราณใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เราจะตักเตือนหรือสั่งสอนใครสักคนหนึ่งแต่คนนั้นไม่ยอมรับหรือไม่เชื่อฟังคำเรา เปรียบได้กับการที่เราเฝ้าหมั่นรดน้ำหัวตอของต้นไม้เพื่อหวังจะให้งอกงามขึ้นมาได้






สีซอให้ควายฟัง

ความหมาย : คนเซ่อคนโง่ หรือคนที่ดูฉลาดแต่กลับไม่ฉลาด ดังเช่นควายตัวโตกลางทุ่งนาถึงจะมีคนไปสีซออันแสนไพเราะให้ฟัง แต่ควายก็ได้สนใจฟังไม่ผู้ที่สีซอก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากควายเลยเสียแรงและเสียเวลาไปโดยใช่เหตุสีซอให้ควายฟังจึงมีความหมายว่าแนะนำจี้แจงสิ่งต่างๆให้แก่คนโง่ ชี้แจงให้ฟังเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่องซึ่งไม่มีประโยชน์ที่จะต้องคอยแนะนำ


โอกาสที่ใช้ : ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนไม่รับรู้ไม่สนใจแม้จะสั่งสอนสักเท่าไหร่ก็ไม่รับฟัง ผู้สอนก็เสียแรงโดยเปล่าประโยชน์เช่นเด็กชายเป็ดเอาการบ้านมาทำฉันก็สอนไป เหมือนกับสีซอให้ควายฟังยังไงยังงั้น แกก็ไม่สนใจฟังฟังเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น