"ถึงจะอยู่ไกลอย่างนี้ พวกผมก็เลือกนะ"
ผู้กำกับหนุ่มกล่าวตอบนายตำรวจใหญ่ที่เหลืออายุราชการเพียงไม่กี่เดือน
ภายหลังจากนายตำรวจใหญ่ไล่พวกเขาให้กลับไปทำงานไม่ต้องเดินมาส่งที่รถภายหลังจากประชุมการพัฒนาระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
คำว่า "เลือก” หมายถึง เลือกที่จะเคารพศรัทธานายตำรวจรุ่นพี่ ถึงแม้ว่าจะเป็นนายตำรวจที่ไม่ได้เจริญก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็นและเลือกที่ร่วมปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและจริงใจ
คำว่า "เลือก” มีความหมายว่า พวกเขารู้เป็นอย่างดีว่า เหล่าบรรดานายๆ นั้น มีทั้งนายที่เติบโตมาจากการทำงาน (ถึงแม้ว่าจะน้อยมากๆ) และนายที่มาจากตอ (ตั๋วและตังค์) ที่แข็งๆ (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย)
“ไปทำงานไม่ต้องมาห้อมล้อมคนใกล้เกษียณไม่มีอำนาจวาสนาจะให้อะไรใครได้” คำพูดของนายตำรวจใหญ่หากวิเคราะห์อย่างไตร่ตรองจะเห็นวัฒนธรรมในระบบการทำงานของตำรวจไทยในประเด็นการเลือกที่จะรุมห้อมล้อมแห่แหนผู้มีอำนาจที่สามารถให้คุณแก่พวกเขาได้
"คุณ" ในโลกของตำรวจ คือความก้าวหน้าในการรับราชการ ทั้งๆ ที่ภารกิจที่สำคัญของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์คือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ แต่ในปัจจุบันนี้สังคมไทยต้องยอมรับความจริงว่า ประชาชนไม่ใช่หัวใจสำคัญของการปฏิบัติงานตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนายไม่ใส่ใจที่จะกำกับติดตามหรือกำชับอย่างเข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธาและเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง สาเหตุสำคัญมิใช่ด้วยเหตุผลที่ว่าตำรวจไทยไร้ความสามารถ เพียงแต่ตำรวจไทยหมดใจและหวั่นไหวต่อระบบการบริหารงานบุคคลที่ไร้ความเป็นธรรม
“ตำรวจมากันเต็มสนามบินจนเราตกใจ เราก็ว่าเราไม่ได้บอกให้ใครมารับ แล้วเขารู้ได้ยังไง วันนั้นเราแต่งนอกเครื่องแบบใส่หมวกใส่ขาสั้นเดินก้มหน้าหลบๆ ออกมา ปรากฏว่าไม่มีตำรวจสักคนสนใจเรา เราก็ดีใจว่า ฝีมือการปลอมตัวของเรายังใช้ได้ แม้กระทั่งลูกน้องยังจำเราไม่ได้ ไม่สนใจเราเลย” นายตำรวจใหญ่เล่าเหตุการณ์ที่สนามบินในวันที่เดินทางไปรับตำแหน่งใหม่ที่จังหวัดแห่งหนึ่ง
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นที่นายตำรวจใหญ่คิด “เราหันกลับไปมอง จึงรู้ความจริงว่า เขาไม่ได้มารับเรา เขามารอรับนักการเมืองที่มาเที่ยวบินเดียวกับเรา” นายตำรวจใหญ่เล่าไปหัวเราะไปพลาง เพื่ออธิบายให้เห็นว่า แม้ว่าห้วงเวลานั้นจะเป็นห้วงเวลาที่เขาจะไปทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาเหล่าบรรดาตำรวจทั้งหลายในจังหวัดแห่งนั้น ยังพอมีอำนาจวาสนาอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่มากนัก แต่ก็ยังไม่เพียงพอเท่ากับอำนาจของบรรดานักการเมืองหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ จากภายนอกองค์กรตำรวจ (หากแต่มีศักยภาพสูงในการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจตำรวจได้) จนส่งผลให้เหล่าบรรดาตำรวจน้อยใหญ่ต่างพากันวิ่งแข่งแย่งกันห้อมล้อมเอาใจดูแลบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นยิ่งเสียกว่าผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของตัวเองด้วยซ้ำ
เมื่อเป็นเช่นนี้...ประชาชนจนๆ ที่ได้รับความทุกข์จากภัยอาชญากรรมที่มิได้มีเสียง มิได้มีอำนาจวาสนา ไม่ได้มีสื่อในมือจะมีอำนาจไปทำให้ความทุกข์ของพวกเขาเหล่านั้นอยู่ในสายตาของตำรวจได้อย่างไร?
การกล่าวอ้างว่า "ตั๋วในโลกของตำรวจเป็นเรื่องปกติ" ที่ทำกันอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะกระทำบ้าง จึงไม่ควร ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่เหมาะสมแม้แต่จะคิดเสียด้วยซ้ำ!!
การแทรกแซงระบบการบริหารบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตำรวจทุ่มเททำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นเรื่องที่ทุกคนในกระบวนการยุติธรรมย่อมรู้กันเป็นอย่างดีว่า หากตำรวจทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนจนประชาชนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาตำรวจ แต่ตำรวจเหล่านั้นกลับไม่ได้รับความก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผลตอบแทนเทียบเท่ากับการเฝ้าดูแลรับใช้ผู้มีอำนาจที่มีอำนาจในการแทรกแซงระบบบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจแล้วนั้น จะส่งผลอย่างไร?
กรณีเช่นนี้ทำให้เกิดคำถามว่า "ใครคือผู้ที่ทำให้สังคมไทยไร้ความยุติธรรมตัวจริง?" ใครคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังความไม่ยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมไทย? อยู่เบื้องหลังความไม่ยุติธรรมในสังคมไทย? หรือว่ากระบวนการยุติธรรมไทยได้เคลื่อนเข้าสู่กับดักของระบบอุปถัมภ์อย่างชัดเจนจนกระทั่งพิจารณา (อย่างบิดเบี้ยว) ว่า การแทรกแซงระบบบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจเป็นเรื่องปกติธรรมดา
น่าเวทนาตำรวจไทยอย่างยิ่ง หากประเด็นปัญหาการแทรกแซงระบบบริหารงานบุคคลที่เกิดขึ้นนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกนำเสนอเพียงชั่วครู่แล้วจางหายไปอย่างรวดเร็ว ไร้การตอกย้ำ ให้เกิดความเข้าใจถึงผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนอย่างมากมายและไม่มีการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งหลายที่มักแสดงวิสัยทัศน์ที่จะปฏิรูปตำรวจลองหันกลับมาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ โดยเริ่มจากประเด็นการยุติการแทรกแซงระบบการบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจและส่งเสริมสนับสนุนให้ตำรวจหันกลับมารับใช้ประชาชนตามภารกิจหน้าที่ที่แท้จริงของตำรวจไทยจะทำให้สังคมไทยสงบและผาสุกมากยิ่งขึ้นหรือไม่?
คำว่า "เลือก” หมายถึง เลือกที่จะเคารพศรัทธานายตำรวจรุ่นพี่ ถึงแม้ว่าจะเป็นนายตำรวจที่ไม่ได้เจริญก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็นและเลือกที่ร่วมปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและจริงใจ
คำว่า "เลือก” มีความหมายว่า พวกเขารู้เป็นอย่างดีว่า เหล่าบรรดานายๆ นั้น มีทั้งนายที่เติบโตมาจากการทำงาน (ถึงแม้ว่าจะน้อยมากๆ) และนายที่มาจากตอ (ตั๋วและตังค์) ที่แข็งๆ (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย)
“ไปทำงานไม่ต้องมาห้อมล้อมคนใกล้เกษียณไม่มีอำนาจวาสนาจะให้อะไรใครได้” คำพูดของนายตำรวจใหญ่หากวิเคราะห์อย่างไตร่ตรองจะเห็นวัฒนธรรมในระบบการทำงานของตำรวจไทยในประเด็นการเลือกที่จะรุมห้อมล้อมแห่แหนผู้มีอำนาจที่สามารถให้คุณแก่พวกเขาได้
"คุณ" ในโลกของตำรวจ คือความก้าวหน้าในการรับราชการ ทั้งๆ ที่ภารกิจที่สำคัญของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์คือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ แต่ในปัจจุบันนี้สังคมไทยต้องยอมรับความจริงว่า ประชาชนไม่ใช่หัวใจสำคัญของการปฏิบัติงานตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนายไม่ใส่ใจที่จะกำกับติดตามหรือกำชับอย่างเข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธาและเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง สาเหตุสำคัญมิใช่ด้วยเหตุผลที่ว่าตำรวจไทยไร้ความสามารถ เพียงแต่ตำรวจไทยหมดใจและหวั่นไหวต่อระบบการบริหารงานบุคคลที่ไร้ความเป็นธรรม
“ตำรวจมากันเต็มสนามบินจนเราตกใจ เราก็ว่าเราไม่ได้บอกให้ใครมารับ แล้วเขารู้ได้ยังไง วันนั้นเราแต่งนอกเครื่องแบบใส่หมวกใส่ขาสั้นเดินก้มหน้าหลบๆ ออกมา ปรากฏว่าไม่มีตำรวจสักคนสนใจเรา เราก็ดีใจว่า ฝีมือการปลอมตัวของเรายังใช้ได้ แม้กระทั่งลูกน้องยังจำเราไม่ได้ ไม่สนใจเราเลย” นายตำรวจใหญ่เล่าเหตุการณ์ที่สนามบินในวันที่เดินทางไปรับตำแหน่งใหม่ที่จังหวัดแห่งหนึ่ง
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นที่นายตำรวจใหญ่คิด “เราหันกลับไปมอง จึงรู้ความจริงว่า เขาไม่ได้มารับเรา เขามารอรับนักการเมืองที่มาเที่ยวบินเดียวกับเรา” นายตำรวจใหญ่เล่าไปหัวเราะไปพลาง เพื่ออธิบายให้เห็นว่า แม้ว่าห้วงเวลานั้นจะเป็นห้วงเวลาที่เขาจะไปทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาเหล่าบรรดาตำรวจทั้งหลายในจังหวัดแห่งนั้น ยังพอมีอำนาจวาสนาอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่มากนัก แต่ก็ยังไม่เพียงพอเท่ากับอำนาจของบรรดานักการเมืองหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ จากภายนอกองค์กรตำรวจ (หากแต่มีศักยภาพสูงในการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจตำรวจได้) จนส่งผลให้เหล่าบรรดาตำรวจน้อยใหญ่ต่างพากันวิ่งแข่งแย่งกันห้อมล้อมเอาใจดูแลบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นยิ่งเสียกว่าผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของตัวเองด้วยซ้ำ
เมื่อเป็นเช่นนี้...ประชาชนจนๆ ที่ได้รับความทุกข์จากภัยอาชญากรรมที่มิได้มีเสียง มิได้มีอำนาจวาสนา ไม่ได้มีสื่อในมือจะมีอำนาจไปทำให้ความทุกข์ของพวกเขาเหล่านั้นอยู่ในสายตาของตำรวจได้อย่างไร?
การกล่าวอ้างว่า "ตั๋วในโลกของตำรวจเป็นเรื่องปกติ" ที่ทำกันอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะกระทำบ้าง จึงไม่ควร ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่เหมาะสมแม้แต่จะคิดเสียด้วยซ้ำ!!
การแทรกแซงระบบการบริหารบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตำรวจทุ่มเททำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นเรื่องที่ทุกคนในกระบวนการยุติธรรมย่อมรู้กันเป็นอย่างดีว่า หากตำรวจทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนจนประชาชนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาตำรวจ แต่ตำรวจเหล่านั้นกลับไม่ได้รับความก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผลตอบแทนเทียบเท่ากับการเฝ้าดูแลรับใช้ผู้มีอำนาจที่มีอำนาจในการแทรกแซงระบบบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจแล้วนั้น จะส่งผลอย่างไร?
กรณีเช่นนี้ทำให้เกิดคำถามว่า "ใครคือผู้ที่ทำให้สังคมไทยไร้ความยุติธรรมตัวจริง?" ใครคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังความไม่ยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมไทย? อยู่เบื้องหลังความไม่ยุติธรรมในสังคมไทย? หรือว่ากระบวนการยุติธรรมไทยได้เคลื่อนเข้าสู่กับดักของระบบอุปถัมภ์อย่างชัดเจนจนกระทั่งพิจารณา (อย่างบิดเบี้ยว) ว่า การแทรกแซงระบบบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจเป็นเรื่องปกติธรรมดา
น่าเวทนาตำรวจไทยอย่างยิ่ง หากประเด็นปัญหาการแทรกแซงระบบบริหารงานบุคคลที่เกิดขึ้นนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกนำเสนอเพียงชั่วครู่แล้วจางหายไปอย่างรวดเร็ว ไร้การตอกย้ำ ให้เกิดความเข้าใจถึงผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนอย่างมากมายและไม่มีการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งหลายที่มักแสดงวิสัยทัศน์ที่จะปฏิรูปตำรวจลองหันกลับมาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ โดยเริ่มจากประเด็นการยุติการแทรกแซงระบบการบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจและส่งเสริมสนับสนุนให้ตำรวจหันกลับมารับใช้ประชาชนตามภารกิจหน้าที่ที่แท้จริงของตำรวจไทยจะทำให้สังคมไทยสงบและผาสุกมากยิ่งขึ้นหรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น