วันนี้วันอาทิตย์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ รัตนโกสินทรศก ๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๕ มิถุนายน พุทธกาลล่วงแล้ว ๒๕๕๔ ปี วันหยุดสำหรับหลายๆ ท่านอีกวัน ๑ ก็ขอให้มีความสุขโดยทั่วกัน
เหมือนเดิมครับทุกๆ วันหยุดหรือวันที่ผมได้หยุดผมจะนำเรื่องราวของตำรวจยุคเก่าๆ ที่พี่น้องส่วนใหญ่แทบไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ใดมาก่อนมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งวันนี้ขอเสนอเรื่อง "ตำรวจโดนโบย"
ท่านที่รักครับ คนเราเมื่ออยู่รวมกันมากก็ต้องมีบ้างที่ใครซักคนสองคนสามคนอาจประพฤตินอกลู่นอกแนวไปจากคนอื่นๆ คนที่ประพฤติแบบนั้นถ้าจะให้หลาบจำก็ต้องมีการลงโทษลงทัณฑ์กันเป็นธรรมดา การลงโทษนั้นก็มีอยู่หลายอย่างหลายสถานด้วยกันตามที่จะมีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แล้วทีนี้ตำรวจของเราสมัยก่อนเขาทำการลงโทษกันอย่างไร
ขอบอกก่อนนะครับว่าข้อเขียนของผมนั้นทุกอย่างต้องมีหลักฐาน(ทางราชการ)อ้างอิงด้วยเพราะจะได้ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ว่าเขียนขึ้นมาเอง คิดขึ้นมาเองหรือเปล่า แล้วหลักฐานที่จะนำมาอ้างอิงก็เหมือนเดิม "ราชกิจจานุเบกษา" นั่นแหละ การค้นหาเรื่องราวในราชกิจจาฯ สมัยก่อนค่อนข้างยุ่งยากลำบาก แต่เดี๋ยวนี้สบายมากเพราะเราสามารถ search ทาง Internet ได้ แป๊บเดียวเองเรื่องที่ต้องการถ้ามีก็เจอ นี่ก็เหมือนกันครับการลงโทษตำรวจสมัยก่อนนี่ผมก็หาจากที่นี่นั่นเอง แล้วการลงโทษเนี่ยะัสมัยนั้นเขามีการโบยกันด้วยนะขอรับ เชื่อหรือไม่ ซึ่งก็คือที่มาของจั่วหัวเรื่อง "ตำรวจโดนโบย" การโบยเขาโบยแบบไหนและเรื่องราวเป็นอย่างไรตามผมมาเลยครับ
ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๒๐ ซึ่งตีพิมพ์ (ประกาศ) เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๒ เรื่อง "ข้อบังคับว่าด้วยอำนาจแลกำหนดสำหรับลงโทษตำรวจภูธร" กำหนดไว้ตอนหนึ่งว่า
"ข้อ ๒ ลักษณ (สะกดตามที่ประกาศ) ความผิดด้วยข้อบังคับของตำรวจภูธรนั้น ดังนี้
(๑) เกียจคร้านแลเลินเล่อต่อน่าที่ราชการ
(๒) เมาสุราแลเครื่องดองของเมาต่างๆ
(๓) ประพฤติกิริยาแลวาจาชั่ว
(๔) กระทำการทุราจาร
(๕) ดื้อต่อผู้ใหญ่"
ทีนี้ถ้าตำรวจคนไหนกระทำผิดวินัยจะมีการลงโทษกันอย่างไร เรื่องนี้มีประกาศไว้ในราชกิจจาฯฉบับเดียวกันข้อ ๔ ดังนี้ครับ
"ข้อ ๔ ตำรวจภูธรคนใดกระทำความผิดด้วยข้อบังคับของตำรวจภูธรดังกล่าวแล้วในข้อ ๒ จะมีโทษได้ตามประเภทดังกล่าวต่อไปนี้
(๑) โบย (คืิอโบยที่ขาด้วยไม้หรือหวาย)
(๒) จำขัง (คือจำตรวน ขังตราง)
(๓) ขังเดี่ยว (คือขังในที่ควบคุมแต่ฉเภาะตัวคนเดียว)
(๔) ขังรวม (คือขังในที่ควบคุมรวมมากคนด้วยกัน)
(๕) กักยาม (คือกักตัวไว้ไม่ให้ออกพ้นไปจากเขตร์ตามที่จะกำหนดให้)
(๖) ภาคทัณฑ์ (คือแสดงความผิดของผู้ที่ทำผิดแลภาคทัณฑ์โทษไว้)"
นี่แหละครับจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าตำรวจสมัยก่อนน่ะมีการลงโทษทางวินัยโดยการโบยด้วยแหละแล้วคงจะโดนหลายคนและหลาบจำไปนานเลยทีเดียวซึ่งก็เป็นการลงโทษลงทัณฑ์ตามยุคตามสมัยน่ะครับแต่ตอนนี้ไม่มีแล้วแม้กระทั่งนักเรียนที่ครูจะโบยจะเฆี่ยนศิษย์ไม่ได้จนทำให้เด็กๆ หลายคนกลายเป็นแบบที่ท่านๆ ได้เห็นได้รู้กันในปัจจุบันนี้
เอ้อ แล้วการโบยตำรวจที่ว่าไม่มีแล้วน่ะเขายกเลิกมาตั้งแต่ตอนไหนผมจะเล่าให้ฟังต่อครับ
การยกเลิกโทษโบยตำรวจนี้มีขึ้นเมื่อสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ครับโดยมีัหลักฐานจากราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๓๗ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓ ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งดังนี้
"...บัดนี้ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าอาญาโบยเปนอาญาอันต่ำช้าซึ่งไม่ควรใช้ในการรักษาวินัยแก่ตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธรสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกอาญาโบยแก่ตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธร ตามความในกฏว่าด้วยอาญาฐา่นละเมิดวินัยตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธรมาตรา ๒ ข้อ ๑๒ , ๑๓ นั้นเสีย..."
ราชกิจจาฯ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๓ เป็นต้นไป
แล้วตั้งแต่นั้นจนถึงบัดนี้การลงโทษตำรวจที่กระทำผิดทางวินัยจึงไม่มีการโบยอีกเลย
ครับ นั่นก็คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของตำรวจไทยที่ผมนำมาเล่าให้ฟังในวันหยุดวันนี้
ฮักต๋ำหนวด จังต๋ำหนวด มีปัญหาบ่ดีลืมฮ้องใจ๊ต๋ำหนวดเน้อเจ๊๋า
เพิ่มเติม : บันทึกใน Facebook วันนี้
วันนี้วันหยุดได้อยู่กับบ้าน แล้วก็ไม่ได้ไปเยี่ยมลูกสาวเพราะว่าไปส่งเขาเข้าโรงเรียนมาเมื่อวานหลังจากที่โรงเรียนหยุดตั้งแต่วันพุธ (๑ มิ.ย.๕๔) อยู่บ้านก็แน่นอนครับหลังจากว่างเว้นจากการทำความสะอาดเช็ดถูบ้านซึ่งผมค่อน ข้างชอบเพราะสนุกดี ทำแล้วบ้านโล่ง สะอาดตา สบายใจแล้วก็เปิดคอมซึ่งขาดไม่ไ
พูดถึง Facebook แล้วก็ต้องขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มากที่เข้ามาเป็นเิพื่อนจนเต็มโ
ใน Facebook นั้นผมได้ทำหน้าไว้อีกหน้่าหนึ่
ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งหนึ่งจากใ
รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น