สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีประกาศลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ เรื่อง ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๕ ถึง พ.ศ.๒๕๖๔ ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติเพื่อให้มีทิศทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนและสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายตามอำนาจหน้าที่
ในยุทธศาสตร์นี้่มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวถึงกันมากในขณะนี้นั่นก็คือส่วนที่เราเรียกกันว่ายุทธศาสตร์ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายการปฏิบัติงานของตารวจ ยุทธศาสตร์ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" นี้เป็นแนวคิดของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ผู้่บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางคนปัจจุบันซึ่งเป็นนายตำรวจและครูบาอาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับหน่วยงานสำคัญในต่างประเทศหลายแห่งโดยเน้นการทำงานด้านการป้องกันมากกว่าปราบปรามและเปลี่ยนเทคนิควิธีการทำงานให้ก้าวทันยุคทันสมัยจากแนวคิดทฤษฎีตำรวจในต่างประเทศเพื่อ "ผ่าทางตัน" ให้วงการตำรวจ ลบภาพเก่าๆ เช่น ตำรวจมือปราบ ตำรวจที่ทำตัวเป็นเจ้าขุนมูลนายมาเป็นตำรวจที่ทำงานกับประชาชน มุ่งลดความหวาดระแวง ช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชน เน้นการป้องกันและบริการ เป็นการนำตำรวจเข้าไปฝังตัวในชุมชนเพื่อรับใช้บริการในลักษณะตำรวจคือมิตร ไม่ใช่ยักษ์ที่คอยจับผิดประชาชน เิพื่อที่ประชาชนจะไม่ต้องหวาดระแวงตำรวจ เหมือนยุคก่อน แจ้งข้อมูลให้ตำรวจทราบ จากนั้นตำรวจรับฟังปัญหาของประชาชนและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาตามหลักการสากลที่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว เมื่อปัญหาของชุมชนถูกแก้ไขหมดไป ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะดีขึ้น ความปลอดภัยจะมากขึ้นและปัญหาอาชญากรรมก็ํจะลดลงไปในที่สุด
การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ของ สภ.พาน
การดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้ตำรวจภูธรภาค ๕ ไำด้สั่งการให้สถานีตำรวจทุกแห่งในสังกัดนำไปปฏิบัติโดยให้แต่ละสถานีตำรวจคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายนำร่องจำนวน ๑ หมู่บ้านพร้อมพิจารณาคัดเลือกข้าราชการตำรวจชั้นประ่ทวนผู้มีบุคลิกลักษณะเหมาะสมและมีจิตอาสาที่จะเข้าไปปฏิบัติในพื้นที่ที่กำหนดซึงก่อนจะออกไปปฏิบัติหน้าที่นั้นได้จัดให้มีการอบรมความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแก่ตำรวจเหล่านั้นจำนวน ๑ สัปดาห์ที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๕ (ตั้งอยู่ที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง) ในส่วนของ สภ.พานเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้ได้แก่ ด.ต.บุญทอง อิ่นคำ เจ้าหน้าที่ประจำชุดปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ พื้นที่ปฏิบัติการคือบ้านทุ่งสามเหลี่ยม หมู่ที่ ๓ ตำบลเวียงห้าว อำเภอพาน และระหว่างการดำเนินการนั้นผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ รอง สวป.ขึ้นไปก็ได้เข้าร่วมปฏิบัติด้วยเป็นประจำ
การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ของหน่วยงานตำรวจซึ่งปรากฏตามสื่อสารมวลชน
กองปราบงัดทฤษฎี “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” ปราบยาเสพติด โดยเริ่มต้นสกัดผู้เสพ ก่อนจะผันตัวเองไปเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย เชื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
วันนี้ (๑๕ ก.ย.๒๕๕๔) พ.ต.อ.ปิยะ เจริญสุข ผกก.1 บก.ป.กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.ต.ศานิตย์ มหถาวร ผบก.น.๓ ได้นำเสนอผลการดำเนินโครงการ “บ้านสีขาว” เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบต่อที่ ประชุมนายตำรวจ ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า พล.ต.ต.ศานิตย์ ยอมรับว่าโครงการดังกล่าวได้แนวคิดและหลักการจากโครงการ “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” หรือแนวคิด Community policing ซึ่ง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก.เป็นนายตำรวจคนแรกที่นำมาเผยแพร่ในวงการตำรวจและนำมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม
พ.ต.อ.ปิยะกล่าวว่า การปรับวิธีการทำงานของตำรวจด้วยการเดินเข้าหาชุมชนจะช่วยป้องกันและแก้ไข ปัญหาต่างๆ ได้ตรงจุด เช่น ปัญหาการแพร่ระบาดของยาบ้าต้องเริ่มต้นสกัดกั้นจากจุดเล็กๆ คือตัวผู้เสพ เพราะผู้เสพยาบ้าอยู่ในวงจรที่ก่อให้เกิดการลอบค้า ผลิต และจำหน่าย แต่ที่ผ่านมาเรามักจะภูมิใจกับผลการปราบปราม การจับกุมผู้ต้องหารายใหญ่ หรือผลการตรวจยึดของกลางที่มีจำนวนมากหลักแสนหรือเป็นล้านเม็ด แล้วกลับมองข้ามในกรณีของผู้เสพยาเสพติดไป
พ.ต.อ.ปิยะกล่าวอีกว่า พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่อยากให้เกิดการเรียนรู้ของ ตำรวจในการดำเนินตามแนวคิด “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” และไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างกันเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
ที่มา : http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000117871
อนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นผมเคยเขียนลงในบล็อกของผมเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ซึ่งนำข้อคิดข้อเขียนและหนังสือหลายเล่มของท่านที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์็กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมาเล่าให้ฟังครั้งหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะหนังสือของท่านเล่มหนึ่งนั้นตรงกับหัวข้อที่ผมนำเสนอวันนี้พอดี นั่้นก็คือ "ความรู้เบื้องต้นการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์และตำรวจผู้รับใชุ้ชุมชน" ดังนั้นจึงขออนุญาตนำข้อเขียนของผมวันนั้นมาเสนอให้พี่น้องทราบอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้
บ่ายนี้ที่เวียงป่าเป้า (๙ สิงหาคม ๒๕๕๔)
บ่ายวันนี้มีงานเข้ามาให้ทำเรื่องเดียวเป็นงานกำลังพลใช้เวลาราวครึ่งชั่วโมงกว่าก็เสร็จผมจึงใช้เวลาว่างๆ นั้นค้นคว้าหาข้อมูลในโลกไซเบอร์เหมือนเดิม ที่เน้นหนักก็คืองานหรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำรวจเป็นสำคัญ โดยผมเปิดเว็บไซต์กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางต่อจากเมื่อเช้าเพราะมีข้อมูล ตำรับตำราและข้อคิดข้อเขียนที่เป็นประโยชน์ต่อวงการตำรวจเรามากมาย ประการสำคัญคือตำราความรู้ของท่านผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ ซึ่งท่านนำมาเผยแพร่ให้ทุกคนสามารถ download ไปศึกษาได้ฟรีๆ แต่การ download จะใช้เวลานานสักหน่อยเพราะฝากไว้ที่ 4shared.com ซึ่งใครใช้บริการแบบฟรีต้องเสียเวลาคอยเป็นสิบๆ นาทีกว่าจะได้โหลด แต่ไม่เป็นไรผมขอเป็นฝ่ายเสียเวลานั้นเอง เมื่อ download เสร็จแล้วก็นำไปฝากไว้กับ Server สำนักงานตำรวจแห่งชาติต่ออีกทีหนึ่ง พี่น้องท่านใดสนใจอยากนำไปศึกษาสามารถ download ได้จากที่แห่งนี้โดยไม่ต้องคอยแบบ 4shared.com อีก
สำหรับข้อมูล ความรู้และตำราต่างๆ ของท่านพงศ์พัฒน์ที่ผม download และนำไปฝากไว้มีดัึงนี้ครับ* แนวทางการปฏิบัติงานสืบสวนคดีอาชญากรรมในศตวรรษที่ ๒๑
* การป้องกันอาชญากรรมในชุมชน
* ความรู้เบื้องต้นการปฏิบัติงานสายตรวจ
* ความรู้เบื้องต้นการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์และตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
* คู่มือปฏิบัติงานโครงการชุมชนสามยอดตามแผนปฏิบัติการหลักการพัฒนาและแก้ปัญหาที่พลิกผันไปตามแนวทางของชุมชน
* ผลการปฏิบัติงาน "ตำรวจกองปราบปรามผู้รับใช้ชุมชน"
ผมขอกราบขอบพระคุณท่านผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พลตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ เป็นอย่างสูงที่กรุณามอบความรู้อันมีค่ายิ่งนี้เผยแพร่แก่พวกเรา และผมจะนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ปฏิบัติืหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อความผาสุก ร่มเย็นของพี่น้องประชาชน สังคมและัประเทศชาติสืบไป
************************** ครับ นั่นก็คือเรื่องราวที่ผมเขียนไว้เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะนำมาเผยแพร่ซ้ำให้อ่านพร้อมกันในวันนี้ด้วย เรื่องนี้ผมบันทึกไว้ในบล็อกของผมเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ เช่นเดียวกัน ติดตามได้เลยขอรับ
คำแถลงการณ์ของ ผบช.ก. (๙ สิงหาคม ๒๕๕๔)
เปิดเว็บไซต์ตำรวจที่ผมชื่นชอบมากที่สุดเว็บไซต์หนึ่งคือของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธ์ เป็นผู้บัญชาการดูแล้วจากความที่นับถือท่านผู้นี้มานานก็ให้รู้สึกนับถือและเคารพท่านมากขึ้นเป็นทวีคูณเพราะผลงานการปฏิบัติ ข้อคิดข้อเขียนและอะไรอีกมากมายนั่นเอง ท่านคือผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ มากด้วยปัญญา แนวคิด เป็นผู้บริหารงาน ผู้บังคับบัญชาชั้นยอดยากที่จะหาใครในวงการตำรวจเทียมได้จริงๆ ที่ผมพูดแบบนี้ใช่ว่าจะยอยอปอปั้นเพราะต้องการหรือหวังอะไรก็หาไม่ แต่มาจากใจของตำรวจยศตำแหน่งเล็กๆ อย่างผมที่พึงคิด พึงกระทำมากกว่า ถ้าถามว่าผมหวังอะไรจากท่านไหน ตอบได้ว่าหวัง หวังครับ หวังอะไร ที่หวังคือผมอยากจะนำแนวคิดต่างๆ ของท่านไปปฏิบัติเท่าที่จะทำได้ในสภาพที่เราเป็นอยู่เพื่อพี่น้องประชาชนนั่นแหละ ผมหวัีงและตั้งใจว่าจะต้องทำให้ได้
สิ่งหนึ่ีงที่ผมนำแนวคิด วิธีการต่างๆ มาจากท่านก็คือตำรับตำราต่างๆ ที่ท่านนำออกเผยแพร่ในเว็บไซต์แห่งนี้ดังที่ผมเขียนไว้ช่วงบ่ายๆ ของวันนี้นั่นส่วนหนึ่ง ส่วนอื่นๆ ก็คือติดตามท่านตลอด ท่านคิดอะไร พูดอะไรทุกอย่างนั้นเพื่อพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงทั้งนั้น เรื่องนี้คิดว่าพี่น้องส่วนใหญ่คงจะคิดเหมือนผมเช่นกัน
เย็นนี้ผมเปิดไปที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งหนึ่งและเห็นคำแถลงการณ์ของท่านที่บอกแก่พี่น้องประชาชนรู้สึกแล้วประทับใจยิ่งนักจึงขออนุญาตนำข้อมูลทั้งหมดลงในบล็อกผมไว้หน่อย (ในส่วนของภาพนั้นผมนำมาลงประกอบเอง) เรื่องราวเป็นอย่างไรติดตามได้เลยครับพี่น้อง
**************************
ในอดีตตำรวจพยายามปฏิบัติงานรักษาความสงบสุขของสังคมแต่เพียงลำพัง ต่อมาตำรวจได้เรียนรู้ว่าการปฏิบัติงานรักษาความสงบสุขของสังคมนั้นไม่สามารถทำแต่เพียงลำพังได้จึงขอความร่วมมือช่วยเหลือจากสังคมมากขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันตำรวจรู้ว่าตำรวจและประชาชนต้องทำงานร่วมกันงานจึงจะสำเร็จได้
ในส่วนของสื่อมวลชนนั้นเพราะเทคนิควิธีการที่ตำรวจในอดีตใช้อาจล่อแหลมต่อการละเมิดกฎหมายนั่นเอง ดังนั้นตำรวจในอดีตจึงจะสอนกันว่าให้กันสื่อมวลชนออกไปและระวังจะนำปัญหาความยุ่งยากมาให้ แต่ตำรวจปัจจุบันได้พัฒนาเทคนิควิธีการก้าวหน้ามาก เทคนิควิธีการที่ตำรวจปัจจุบันค้นพบและนำมาใช้นั้นสามารถตรวจสอบและพิสูจน์ได้
ตำรวจกับสื่อมวลชนต้องทำงานกันอย่างใกล้ชิด สื่อมวลชนจะเป็นผู้บอกกับประชาชนว่าตำรวจกำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ตำรวจต้องขอให้สื่อมวลชนช่วยหลายเรื่อง เช่นช่วยถามประชาชนว่าตำรวจจะทำอย่างนั้นอย่างนี้จะดีหรือไม่ เป็นต้น จริงๆ แล้วสื่อมวลชนจะเป็นผู้ให้ผู้กำหนดภาพพจน์ของตำรวจ
สรุปว่างานตำรวจสมัยใหม่เปิดกว้างรับบุคคลต่างๆ สถาบันต่างๆของสังคมในด้านต่างๆ มากขึ้น
ความรัก ความหวังดีและเพื่อการแก้ไข
สมัยเด็กๆ ผมพักอยู่บ้านติดกับบ้านตำรวจและเล่นอยู่สนามหน้าสถานีตำรวจ ถางป่าหลังสถานีตำรวจทำเป็นค่ายมวย หัวหน้าสถานีตำบลที่นั่นเป็นแค่จ่า คำพูดของตำรวจดูศักดิ์สิทธิ์ เตือนอะไร พูดอะไรใครก็เชื่อ ผมดูว่าดีและโก้ด้วยเวลาแต่งเครื่องแบบ แม้ว่าหมวกของจ่าจะดูเก่าและโย้เย้ไปหน่อย ผมอยากเป็นตำรวจ สอบเข้าตำรวจได้ก็ดีใจ ตลอดเวลาของการรับราชการตำรวจนับได้ว่าโชคดีและได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากเพื่อนๆ รวมทั้งจากประชาชน ได้มีโอกาสเดินทางรอบโลกหลายๆ รอบ สรุปว่าผมรักตำรวจไม่มีเหตุผลใดที่จะมีอคติหรือมีทัศนคติไม่ดีคือไม่ได้คิดจะเอาสิ่งไม่ดีมาให้ตำรวจ
สิ่งที่จะพูดต่อไปนี้ได้คิดพิจารณา ค้นคว้า ไตร่ตรอง และพูดกันในห้องเรียนมาตลอดจนแน่ใจว่าถึงเวลาที่จะต้องพูดกับผู้ปฏิบัติให้ช่วยกันพิจารณาเพราะเป็นเรื่องจริงๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อการแก้ไขเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง พูดพร้อมกับเสนอวิธีแก้ไขและช่วยกันทำการแก้ไขเลย ไม่ใช่วิจารณ์เพื่อสนุกปากโดยไม่มีข้อมูล มีการศึกษา เป็นความแค้น หรือเพื่อให้ตัวเองมองดูดีเท่านั้น
เทคนิคแรก คน และวัฒนธรรมในองค์กร
เทคนิควิธีการที่ตำรวจไทยใช้อยู่ในทุกวันนี้ได้รับใช้สังคมไทยมานาน แต่สังคมนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สังคมในอดีตกับปัจจุบันนั้นแตกต่างกันมาก กฎกติกาของสังคมปัจจุบันเป็นเรื่องใหม่ๆ ไม่ใช่แบบเดิม ตำรวจทำงานอยู่กับสังคมจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่ตำรวจไทยเป็นตำรวจที่มีลักษณะของการทำงานสืบทอดกัน (tradition police) คือทำกันมาอย่างไรก็ทำกันไปอย่างนั้นทั้งๆ ที่โลกตำรวจได้ค้นพบเทคนิควิธีการใหม่ๆ ที่ดีมีคุณภาพมากมาย ตำรวจสมัยใหม่ในปัจจุบันต้องมีลักษณะพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง (innovation police) ถ้าพวกเรากล้าที่จะเปลี่ยนมากเท่าไรและเร็วเท่าไหร่ก็จะดีสำเร็จเร็วเท่านั้น เทคนิควิธีการตำรวจสมัยใหม่นั้นเอากันว่าชั่วข้ามคืนสังคมก็ดีขึ้นได้ทันตาเห็น มันเหมือนเส้นผมบังภูเขา
ทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กรตำรวจ นอกองค์กรในสังคมล้วนเกี่ยวข้องเชื่อโยงกันทั้งหมด งานตำรวจมีความซับซ้อนมากการจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตำรวจจึงมีความยุ่งยากซับซ้อนไปด้วย จะต้องใช้ทั้งประสบการณ์และความรู้ในระดับศาสตร์ ตำรวจนั้นเดิมเป็นคนดี เป็นคนเก่งมาก่อนเพราะผ่านการคัดสรรมาจากคนจำนวนมาก แต่เขาถูกกระทำจากระบบของตำรวจจากตำรวจด้วยกันรวมทั้งจากประชาชนบางส่วน ในขณะเดียวกันเขาก็ทำกับประชาชนกับสังคม ผมเคยเดินไปกับเพื่อนตำรวจที่ล็อบบี้โรงแรมแห่งหนึ่ง ผมเห็นเพื่อนตำรวจนั่งกันอยู่เป็นกลุ่มผมก็จะเดินเข้าไปทัก ผมจำได้ว่าเพื่อนผมดึงที่ต้นแขนผมแล้วพูดว่าอย่างไปยุ่งกับตำรวจเลย ผมก็เลยไม่ได้ไปทักตำรวจ คนในสังคมส่วนใหญ่เขาจะไม่ชอบตำรวจเลย
การที่ตำรวจไม่ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคนิคการปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมนั่นก่อให้เกิดปัญหามากมายกับตัวผู้ปฏิบัติกับองค์กรและกับประชาชน สังคม ทุกฝ่ายต่างก็ยากลำบาก เช่นในการสืบสวนถ้าตำรวจสงสัยว่าใครสักคนเป็นผู้กระทำผิดตำรวจก็จะหาร่องรอย หลักฐาน เลือกเฉพาะหลักฐานที่สนับสนุนความคิดความเชื่อของตนเอง บางครั้งถึงกับสร้างหลักฐานขึ้นมาใหม่ยืนยันความคิดความเชื่อของตนเอง เราอาจเคยได้ยินคำพูดของเพื่อนตำรวจของเราว่าเพราะมันเป็นโจร เราก็เลยต้องใช้วิธีการของโจรกับมันนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแพะหรือ เราจะพบเสมอที่ตำรวจเอาตรรกวิทยาแบบผิดๆ มาอธิบายคดีความ
ถ้าเราศึกษาเรื่องอาชญากรรมในศตวรรษที่ ๒๑ เราจะรู้ว่าอาชญากรรมลดลง แต่อาชญากรรมในประเทศไทยไม่เคยลด สูงขึ้นมาก คนติดยาเสพติดมากเหลือเกิน มากขึ้นเรื่อยๆ ตำรวจเองก็ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในการป้องกันอาชญากรรม ผลการสำรวจโดยสหประชาชาติก็ยืนยันว่าประเทศไทยมีอาชญากรรมเกิดขึ้นในอันดับต้นๆของโลก น่ากลัวมากสำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นดินไทย คนไทยเสียเวลากังวลกับการไปรับไปส่งกัน ไปนั่งรอกันตามปากซอย ตามป้ายรถกันมาก ตำรวจเองก็แย่ เขาไม่มีเครื่องป้องกันทั้งที่เห็นเป็นรูปธรรม เราไม่ได้ใส่ยุทธวิธีที่ถูกต้องเข้าไปในสมองของตำรวจ ผมเดินทางทั่วประเทศเห็นตำรวจทางหลวงเดินเข้าตรวจรถก็ดี ยืนตรวจรถชาวบ้านก็ดี
มีกิจกรรมอยู่ในพื้นที่สังหารตลอด พี่เคยยึดปืน ยึดบัตรตำรวจเรา แล้วปล่อยให้ไปใช้ชีวิตสัมผัสกับสถานที่จริง ซึ่งเราต่างก็ยอมรับกัน
ประัเด็นที่สอง กลยุทธองค์กร
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาองค์กรตำรวจไทยได้เลือกวิธีรักษาความสงบสุขแบบตั้งรับ (reactive police organization) แทนที่จะเป็นเชิงรุก (pro-action police organization) คือมุ่งไปที่การจับกุมแทนที่จะมุ่งไปที่การป้องกัน ปล่อยให้เกิดปัญหา เกิดความเสียหายขึ้นก่อน หมายถึงปล่อยให้คนถูกทำร้ายและปล่อยให้คนดีๆ ทำผิดพลาดกลายเป็นคนผิดแล้วก็จับ เราจะสังเกตได้ว่าที่ใดที่ประชาชนถูกกระทำอย่างโหดร้าย ป่าเถื่อน ไม่ว่าถูกปล้น ถูกฆ่า เราจะเห็นตำรวจยืนหน้ากล้องกันให้เห็นเป็นแถวเป็นแนวด้านหลังผู้กระทำความผิดด้วยความสุขสดชื่น ยิ่งมีกองยาเสพติดข้างหน้าเยอะๆ ยิ่งดี ทั้งที่เป็นการชี้ให้เห็นว่าคนติดยามากขึ้น แต่เราไม่ได้สนใจให้ความสำคัญอย่างเพียงพอ หลายคนโต้แย้งว่าทำดีแล้ว ดีกว่าไม่ทำ ก็ต้องตอบว่าถ้าทำผิด ทุ่มเทกำลังแรงกาย ทรัพย์ และงบประมาณไปในสิ่งที่ผิดหรือดีน้อยกว่า ไม่คุ้มค่ากับที่เสียเวลาลงทุนลงแรงก็คงไม่ดีเลย ถ้าหลักป้องกันดี ป้องกันถูกต้องจะเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวนปราบปรามจับกุมด้วย
เรายอมรับกันไหมว่าเบื้องหลังการจับกุมคดีหลายคดีนั้นตำรวจเราได้ก่อคดีอุกฉกรรจ์นับสิบคดี เราเหวี่ยงแห ปิดประตูตีแมวคนจนคนยากไร้อยู่เสมอ การมุ่งจับแบบตำรวจไทยเป็นสิ่งสุดท้ายที่ตำรวจต่างประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้เขาทำกัน เขามุ่งไปที่การป้องกันและให้บริการ แต่กลับเป็นว่าถ้าเกิดการกระทำผิดเขาจับได้มากกว่าเราหลายเท่านักแล้วก็ไม่ผิดตัวด้วย
ทุกวันนี้เราจับคนหลายๆแสนคนเข้าคุกแต่ก็ยังไม่พอใจ ตั้งเป้าจับให้มากขึ้นในปีต่อๆไปโดยไม่ได้สนใจ จับผิดตัว จับแพะ ทรมานอุ้มฆ่า เราสามารถตัดวงจรอาชญากรรมได้แยะ ทำให้คนมากมายไม่ต้องเดินเข้าคุกเข้าตะราง ตำรวจหัวสมัยใหม่ที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องตำรวจจริงๆ คงรับได้ลำบากจากการกระทำของตำรวจไทยในปัจจุบัน
ประเด็นที่สาม
เป็นประเด็นของการบริหารการจัดการ หรือการทำที่ผิดพลาดในระดับต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าทำกันไปแบบไม่ได้ใช้ความรู้หรือไม่ก็ใช้ความรู้แบบผิดๆ ทำกันตามใจ ตามอารมณ์ ไม่ได้ศึกษาค้นคว้ากันอย่างจริงจัง ทำให้ถูกต้อง นอกจากนั้นผู้นำส่วนใหญ่ในระดับต่างๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างถูกต้อง ละเลยไม่รู้จักเรียนรู้ ทำให้เกิดการทุจริตที่ร้ายแรง เป็นการทำร้าย ทำลายบุคคลากรตำรวจ ทำรายองค์กร ทำร้ายประชาชน สังคม ทำให้สังคมเข้าใจผิดไปเรื่อยเปื่อยๆ
งานตำรวจต้องทำเป็นทีม ข้อมูลข่าวสารต้องเป็นระบบ แต่กลับทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างไม่เป็นธรรม สนับสนุนการทำงานเป็นรายบุคคล ทำให้เกิดการปิดบังข้อมูล ทำให้เกิดความแตกแยก เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ความรับผิดชอบตัวเองให้ดี แต่ไปทำหน้าที่ของผู้อื่น ทำให้ตำรวจเป็นหุ่นยนต์ เป็นศัตรู จ้องจับผิดประชาชน ไม่ได้ออกทำหน้าที่ด้วยความรัก ความเมตตา ไม่ได้คิดปกป้อง คุ้มครอง แก้ปัญหาให้กับประชาชนหรือตำรวจด้วยกัน มีประชาชนคับแค้นใจ ประชดด้วยการยิงตัวตายต่อหน้าตำรวจก็มี
ผู้บริหาร ผู้นำในหลายๆระดับมีโอกาสจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับของตัวเองได้และบางคนคงตระหนักถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายนี้แต่กลับนิ่งเฉยไม่ได้ทำอะไร อาจไม่รู้จะแก้อย่างไร ไม่ได้ศึกษาหาทาง มีหลายคนมุ่งรักษาตำแหน่งเพื่อให้มีอำนาจปล่อยให้เกิดความผิดพลาด ตำรวจหลายๆ คนรอประหาร หลายคนรอชี้มูลความผิด ทำร้ายบุคลากรตำรวจทำร้ายสังคมไปวันๆ ไม่รู้ว่าคนรุ่นต่อๆไปจะเขียนประวัติศาสตร์ตำรวจในช่วงนี้อย่างไร ผมพูดเสมอว่าผมจะไม่ยอมปล่อยให้เพื่อนตำรวจและรุ่นน้องๆของผมต้องทำผิดพลาดติดคุกติดตะราง ถูกประหาร หรือทำบาปทำกรรมไปลงนรก
จริงๆ แล้วเราทำให้ดีขึ้นได้ ทำให้ตำรวจมีความสุขสนุกกับงาน มีผลงานที่ถูกต้อง ไม่ต้องเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง ทำให้ประชาชนเป็นสุข สังคมดีขึ้น โดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับตำรวจ ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของงานตำรวจในแต่ละส่วน ทำให้ถูกวิธี ถ้าพวกเราเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียแต่วันนี้ เวลานี้ ก็ถือได้ว่าความสำเร็จได้เกิดขึ้นแล้ว ขอให้เชื่อมั่น มั่นใจว่าพวกเราทำกันได้ เราจะพากันเดินไปในเส้นทางของความเป็นตำรวจมืออาชีพในอันที่ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองและให้บริการของตำรวจ เราจะนำความภูมิใจในตัวเองสมัยสมัครเข้ามาเป็นตำรวจใหม่ๆ กลับมา
"ขอเรื่องเดีึยว"
ผมมาเรื่องความมั่นคง เรื่องความทุกข์สุขของประชาชนต้องการให้เย็น ไม่ต้องการให้ร้อนขออย่าได้แอบอ้างชื่อไปเพื่อการอย่างอื่น ผมไม่มีหน่วยเฉพาะกิจให้ทำงานกันตามหน้างานโดยเคร่งครัดอย่าได้ไปรุมทึ้งประชาชน ทำให้ประชาชนไม่มีที่ยืน ตีความว่าเรื่องนี้เรื่องนั้นเกี่ยวกับหน้างานของตนเองเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ผมไม่อยากเป็นศัตรูกับใคร เสียเวลาทำงานของผม แต่ผมก็ต้องสืบสวนต้องปรับเปลี่ยนทันที ไม่มีการขอเป็นลูกจากหรือขอแถมส่งท้าย
ที่มา : คลิกที่นี่**************************
หวังว่าเรื่องราวเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ซึ่งผมนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้คงจะมีประโยชน์ทั้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและพี่น้องประชาชนอยู่บ้า่งตามสมควร
รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะครับ
ขอบคุณครับผม
เพิ่มเติม :
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งที่ ๕๑๓/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ เรื่อง โครงการตำรวจชุมชนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานีตำรวจทุกแห่งนำไปดำเนินการ รายละเอียดกรุณาคลิกดูได้ที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น