วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตรวจการปฏิบัติืของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี (๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

วันนี้เวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น.ผมเ้ดินทางไปตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประจำสถานีพบ ด.ต.พลาวุธ สุภาอินทร์ ปฏิบัติหน้าที่สิบเวรและเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่บนสถานีครบถ้วนพร้อมให้บริการพี่น้องประชาชนตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ









การตรวจครั้งนี้ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ใ้ห้ถือปฏิบัติตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้่าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่บนสถานีดังต่อไปนี้



เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานบนสถานีตำรวจจะต้องทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกสบายใจ อบอุ่นใจ ไม่หวาดระแวงด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

(๑) แต่งกายสะอาด เรียบร้อย จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำงานไว้ให้พร้อม
(๒) ยิ้มกับประชาชนทุกคนที่มาติดต่อราชการบนสถานีตำรวจ โดยต้องคิดว่าประชาชนที่มาติดต่อราชการเป็นญาติมิตรของตน
(๓) สวัสดีประชาชนทุกคนที่มาติดต่อราชการบนสถานีตำรวจ การสวัสดีเป็นการทักทายตามแบบธรรมเนียมไทย การกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ” “สวัสดีค่ะ” และการยกมือขึ้นสวัสดี
(๔) กล่าวทักทายประชาชนแบบญาติมิตรด้วยการเรียกประชาชนเป็นพี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยเป็นกันเอง
(๕) ให้การต้อนรับขับสู้ให้สมกับฐานะหรือตามสมควร เช่น การจัดที่ให้นั่งพักรอ การจัดนํ้าดื่มให้ การจัดหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารให้อ่าน การพาประชาชนไปพบกับเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ให้บริการ เป็นต้น



(๖) ให้การบริการในหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ แสดงออกให้ประชาชนเห็นว่าสนใจเอาใจใส่ในสิ่งที่ประชาชนมาติดต่อและต้องการให้ดำเนินการ แสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการทำงานพูดคุยให้ทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน สอบถามสารทุกข์สุขดิบของประชาชนเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและเพื่อสร้างความคุ้นเคย
(๗) เมื่อให้บริการเรียบร้อยแล้วให้กล่าวคำอำลาและลุกขึ้นยืนส่งหรือเดินไปส่งประชาชนผู้นั้นจนถึงทางออกสถานีหรือบริเวณอันสมควร



ข้อควรปฏิบัติเพื่อการขับเคลื่อนโครงการไปสู่การบริการที่ดีแก่ประชาชน

(๑) เมื่อมีประชาชนที่มาสถานีตำรวจต้องรู้สึกดีใจเหมือนมีญาติพี่น้องมาเยี่ยมเยียน
(๒) ยิ้มแย้มแจ่มใส ยกมือไหว้ กล่าวคำสวัสดี
(๓) เรียกขานผู้มาติดต่อราชการเป็น พี่ ป้า น้า อา ตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
(๔) ให้บริการรวดเร็ว กระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาให้กับผู้มาใช้บริการ
(๕) สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มาติดต่อขอรับบริการ



(๖) เมื่อพบเห็นผู้มาติดต่อรับใช้บริการต้องเข้าไปทักทาย สอบถามให้บริการ
(๗) ทำทุกวิธีทางเพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้ประชาชนคือหน้าที่สำคัญของตำรวจ
(๘) ระลึกเสมอว่าโครงการนี้ไม่ได้เพิ่มภาระให้เราแต่เป็นการปรับปรุงการทำงานของเราให้ดีขึ้น
(๙) ต้องระลึกเสมอว่าท่านเป็นเสมือนตัวแทนของตำรวจทั้งสถานีการแสดงออกต่อประชาชน
(๑๐) โครงการจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคีของตำรวจทุกคน



เจ้าหน้าที่รับทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น