ความเข้าใจผิดของผู้นำที่ติดกับดักความคิดที่ว่า
"การฝึกอบรม" คือยาวิเศษที่สามารถสร้างและเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้
ทั้งๆ ที่การฝึกอบรมก็คือ การให้ความรู้ผ่านวิธีการสอนในรูปแบบต่างๆ
โดยที่ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมระหว่างความรู้กับผู้เรียน
ถ้าหากผู้สอนยังไม่สามารถปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองสอนได้ยิ่งทำให้การอบรมในครั้งนั้นเสียเวลาเสียงบประมาณไปเปล่าๆ
ดังนั้นหลักสูตรฝึกอบรมที่หัวหน้าสถานีตำรวจทั่วประเทศต้องเข้าเรียน ๒ วัน
ถูกหวังว่าจะเป็นกลไกในการวางพื้นฐานการพัฒนาศักยภาพกำลังพลในระดับสถานีตำรวจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พร้อมๆ
กับการเตรียมตัวที่จะก้าวเดินไปสู่การพัฒนาสถานีตำรวจในฝันอย่างที่ต่างประเทศทำกันภายหลังจากผู้นำกลับมาจากดูงานสถานีตำรวจต้นแบบ...แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้นำตำรวจต้องไม่ลืมคือต้องวิเคราะห์บริบททางสังคม
วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเหล่านั้นด้วยว่าผู้นำประเทศและนักการเมืองที่เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนในประเทศเหล่านั้นปฏิบัติต่อตำรวจอย่างไร? บริบทเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาองค์กรทุกระดับ
การฝึกอบรม (training) ให้ประโยชน์เมื่อพิจารณาเห็นว่าผู้เรียน (หัวหน้าสถานีตำรวจ) ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการทำงานด้วยระบบหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้ตำรวจมีฝีมือมากขึ้น มีความรู้เพื่อนำไปใช้ทำงานอย่างสมาร์ทสมดั่งเป้าหมายของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มุ่งหวังตั้งใจให้ตำรวจไทยเป็นตำรวจมืออาชีพนั้นถือว่าเป็นความเหมาะสมที่ผู้นำควรสนับสนุน หากแต่เมื่อวิเคราะห์กันอย่างให้ถึงแก่นแท้แล้วนั้นวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อตำรวจในยุคปัจจุบันนี้มิใช่เกิดขึ้นจากการที่ตำรวจไม่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน หากแต่เกิดขึ้นจากการที่ตำรวจไม่ทำงานหรือทำงานในรูปแบบที่สร้างความไม่พึงพอใจแก่ประชาชนมากกว่า
ยกตัวอย่างเช่น การให้ความสำคัญกับการติดตามคดีที่ผู้เสียหายคือผู้ที่มีอำนาจ มีทุน มีตำแหน่งทางสังคม แต่ไม่ให้ความสำคัญกับความเดือดร้อนของชาวบ้าน ให้ความสำคัญกับการทำคดีการเมืองมากกว่าคดีที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน เป็นต้น ตัวอย่างลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวจึงมิใช่พฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากการไม่มีความรู้ในด้านกฎหมาย ไม่มีความรู้ในการสืบสวนสอบสวน แต่เป็นพฤติกรรมของการทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เสมอภาค ไม่เป็นธรรม
ตำรวจรู้สึกอย่างไรเมื่อประชาชนเดือดร้อนแต่กลับเดินไปขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิ...เพื่อให้มาเร่งรัดการทำงานของตำรวจผ่านสื่อ? และสามารถปรากฏผลการกระตุ้นการทำหน้าที่ของตำรวจได้ด้วย? นี่คือปรากฏการณ์ของวิกฤติศรัทธาที่มีต่อตำรวจ แต่ตำรวจกลับมองข้ามด้วยความคุ้นชิน!!
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พยายามสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับเหล่าบรรดาตำรวจ ซึ่งหนึ่งในคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ที่มีหัวใจเป็นผู้นำคือการมีสำนึกในการทำหน้าที่คุ้มครองดูแลปกป้องผู้ที่อ่อนแอกว่าเป็นหลัก แต่เสียงของไพร่พลกลับตั้งคำถามว่า "คนที่ทำงานเพื่อดูแลคนที่อ่อนแอจะได้ดิบได้ดีเท่าดูแลผู้มีอำนาจหรือไม่?” จะเห็นได้ว่าคำถามของไพร่พลในลักษณะนี้มิได้ตอบด้วยการฝึกอบรม แต่ต้องตอบด้วยการปรับระบบการบริหารจัดการ
การที่จะให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ (trust) ตำรวจจึงต้องเกิดขึ้นจากการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานก.ตร. คณะกรรมการ ก.ตร. และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร(ชุมชน)ตำรวจเสียก่อนในลำดับแรก และควรให้ความสำคัญเทียบเท่าวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการด้วยความจริงจังและจริงใจที่จะทำให้ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย งานนี้ตำรวจทำเพียงลำพังไม่ได้
การบริหารจัดการที่ดีนอกเหนือจากเรื่องการสนับสนุนงบประมาณและกำลังคนอย่างเพียงพอกับงานแล้วนั้น สิ่งที่ตำรวจต้องการที่ไม่แตกต่างจากประชาชนก็คือความเสมอภาคและเป็นธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรตำรวจในระดับต่างๆ เพราะหากวิเคราะห์อย่างถึงแก่นแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตำรวจไทยมิได้ขาดความรู้ความสามารถเสียจนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หากแต่ตำรวจไทยขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานอันเนื่องมาจากการจำต้องทำงานอยู่ภายใต้ระบบการบริหารจัดการที่ไม่เสมอภาค ไม่เป็นธรรมต่างหาก
“ผมไม่ใช่ลูกน้องของนายเหรอ ผมอยากบอกบรรดานายๆ ว่า ถึงผมไม่ได้อยู่ในสำนักงานของนาย ไม่ได้ทำงานใกล้ชิดกับนาย แต่ผมก็เป็นตำรวจเป็นลูกน้องของนายที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่นายมอบหมายให้ทำงานเพื่อประชาชน แล้วทำไมไอ้พวกลูกน้องที่อยู่ใกล้ชิดนายจึงได้รับการยกเว้น ได้สิทธิพิเศษต่างๆ มากกว่าพวกผม” เสียงสะท้อนของไพร่พลตำรวจที่มีต่อการให้ผลตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการทำงานที่ไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรม หลายมาตรฐาน
การวิ่งเพื่อเอาตัวมาใกล้ชิดในขณะที่นายมีอำนาจและทำตัวเป็นเพียงขุนพลอยพยักมิใช่เสนาธิการหรือฝ่ายอำนวยการที่ดี เมื่อได้สิ่งที่ต้องการก็จากไปกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยของการทำงานในโลกของตำรวจที่ควรรื้อเพราะตำรวจที่เติบโตผ่านประสบการณ์เช่นนี้ต่อให้อบรมเท่าไหร่ก็ไม่นำความรู้ที่ได้ในห้องอบรมสัมมนาไปใช้เพราะเขาคุ้นชินกับการวิ่งเข้าหาขั้วอำนาจแต่เพียงเท่านั้น
วอนขอนายโปรดมองให้เห็นถึงใจของลูกน้องที่อยู่ไกลนาย...ที่เขาทำงานเพื่อประชาชนบ้าง?!? ก่อนที่จะไม่มีตำรวจทำงานเพื่อประชาชน
การฝึกอบรม (training) ให้ประโยชน์เมื่อพิจารณาเห็นว่าผู้เรียน (หัวหน้าสถานีตำรวจ) ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการทำงานด้วยระบบหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้ตำรวจมีฝีมือมากขึ้น มีความรู้เพื่อนำไปใช้ทำงานอย่างสมาร์ทสมดั่งเป้าหมายของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มุ่งหวังตั้งใจให้ตำรวจไทยเป็นตำรวจมืออาชีพนั้นถือว่าเป็นความเหมาะสมที่ผู้นำควรสนับสนุน หากแต่เมื่อวิเคราะห์กันอย่างให้ถึงแก่นแท้แล้วนั้นวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อตำรวจในยุคปัจจุบันนี้มิใช่เกิดขึ้นจากการที่ตำรวจไม่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน หากแต่เกิดขึ้นจากการที่ตำรวจไม่ทำงานหรือทำงานในรูปแบบที่สร้างความไม่พึงพอใจแก่ประชาชนมากกว่า
ยกตัวอย่างเช่น การให้ความสำคัญกับการติดตามคดีที่ผู้เสียหายคือผู้ที่มีอำนาจ มีทุน มีตำแหน่งทางสังคม แต่ไม่ให้ความสำคัญกับความเดือดร้อนของชาวบ้าน ให้ความสำคัญกับการทำคดีการเมืองมากกว่าคดีที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน เป็นต้น ตัวอย่างลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวจึงมิใช่พฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากการไม่มีความรู้ในด้านกฎหมาย ไม่มีความรู้ในการสืบสวนสอบสวน แต่เป็นพฤติกรรมของการทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เสมอภาค ไม่เป็นธรรม
ตำรวจรู้สึกอย่างไรเมื่อประชาชนเดือดร้อนแต่กลับเดินไปขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิ...เพื่อให้มาเร่งรัดการทำงานของตำรวจผ่านสื่อ? และสามารถปรากฏผลการกระตุ้นการทำหน้าที่ของตำรวจได้ด้วย? นี่คือปรากฏการณ์ของวิกฤติศรัทธาที่มีต่อตำรวจ แต่ตำรวจกลับมองข้ามด้วยความคุ้นชิน!!
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พยายามสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับเหล่าบรรดาตำรวจ ซึ่งหนึ่งในคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ที่มีหัวใจเป็นผู้นำคือการมีสำนึกในการทำหน้าที่คุ้มครองดูแลปกป้องผู้ที่อ่อนแอกว่าเป็นหลัก แต่เสียงของไพร่พลกลับตั้งคำถามว่า "คนที่ทำงานเพื่อดูแลคนที่อ่อนแอจะได้ดิบได้ดีเท่าดูแลผู้มีอำนาจหรือไม่?” จะเห็นได้ว่าคำถามของไพร่พลในลักษณะนี้มิได้ตอบด้วยการฝึกอบรม แต่ต้องตอบด้วยการปรับระบบการบริหารจัดการ
การที่จะให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ (trust) ตำรวจจึงต้องเกิดขึ้นจากการที่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานก.ตร. คณะกรรมการ ก.ตร. และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร(ชุมชน)ตำรวจเสียก่อนในลำดับแรก และควรให้ความสำคัญเทียบเท่าวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการด้วยความจริงจังและจริงใจที่จะทำให้ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย งานนี้ตำรวจทำเพียงลำพังไม่ได้
การบริหารจัดการที่ดีนอกเหนือจากเรื่องการสนับสนุนงบประมาณและกำลังคนอย่างเพียงพอกับงานแล้วนั้น สิ่งที่ตำรวจต้องการที่ไม่แตกต่างจากประชาชนก็คือความเสมอภาคและเป็นธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรตำรวจในระดับต่างๆ เพราะหากวิเคราะห์อย่างถึงแก่นแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตำรวจไทยมิได้ขาดความรู้ความสามารถเสียจนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หากแต่ตำรวจไทยขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานอันเนื่องมาจากการจำต้องทำงานอยู่ภายใต้ระบบการบริหารจัดการที่ไม่เสมอภาค ไม่เป็นธรรมต่างหาก
“ผมไม่ใช่ลูกน้องของนายเหรอ ผมอยากบอกบรรดานายๆ ว่า ถึงผมไม่ได้อยู่ในสำนักงานของนาย ไม่ได้ทำงานใกล้ชิดกับนาย แต่ผมก็เป็นตำรวจเป็นลูกน้องของนายที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่นายมอบหมายให้ทำงานเพื่อประชาชน แล้วทำไมไอ้พวกลูกน้องที่อยู่ใกล้ชิดนายจึงได้รับการยกเว้น ได้สิทธิพิเศษต่างๆ มากกว่าพวกผม” เสียงสะท้อนของไพร่พลตำรวจที่มีต่อการให้ผลตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการทำงานที่ไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรม หลายมาตรฐาน
การวิ่งเพื่อเอาตัวมาใกล้ชิดในขณะที่นายมีอำนาจและทำตัวเป็นเพียงขุนพลอยพยักมิใช่เสนาธิการหรือฝ่ายอำนวยการที่ดี เมื่อได้สิ่งที่ต้องการก็จากไปกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยของการทำงานในโลกของตำรวจที่ควรรื้อเพราะตำรวจที่เติบโตผ่านประสบการณ์เช่นนี้ต่อให้อบรมเท่าไหร่ก็ไม่นำความรู้ที่ได้ในห้องอบรมสัมมนาไปใช้เพราะเขาคุ้นชินกับการวิ่งเข้าหาขั้วอำนาจแต่เพียงเท่านั้น
วอนขอนายโปรดมองให้เห็นถึงใจของลูกน้องที่อยู่ไกลนาย...ที่เขาทำงานเพื่อประชาชนบ้าง?!? ก่อนที่จะไม่มีตำรวจทำงานเพื่อประชาชน
ที่มา : http://goo.gl/brlWjP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น