สำหรับแนวคิดและภารกิจที่มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผลัดนี้มีดังนี้
๑. ภารกิจสำคัญตำรวจคือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามอุดมคติ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมตามความหมายของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ตำรวจสายตรวจจะต้องมีความใกล้ชิดกับประชาชนทำงานกับสังคม จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและพฤติกรรมของคนอันเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ให้นำจิตสำนึกในการให้บริการ (Service Mind) เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีดังนี้
๑) ความสามารถเข้าใจความคาดหวังและความต้องการของประชาชนหรือผู้มาใช้บริการงานตำรวจ หรือประชาชนที่ตำรวจพบ ซักถาม
๒) มีค่านิยมว่า “ตำรวจต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน” หรือประชาชนผู้เดือดร้อน,ผู้แจ้งหรือ ชุมชนเป็นผู้ที่ต้องให้ความสำคัญ
๓) ฝากข้อคิดในเรื่องการตอบสนองความต้องการผู้รับบริการจากตำรวจอย่างเอื้ออาทร เต็มใจ ด้วยกริยาวาจาเหมาะสม ครบวงจร ในสภาพที่เป็นไปได้จริง หรือศีลธรรมและกฎหมายหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมให้ทุกคนไว้พิจารณาซึ่งได้แก่
ระดับ ๑.ให้บริการประชาชนเพราะหน้าที่หรือผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ทักทาย ไม่แนะนำ ใช้น้ำเสียง หรือคำพูด กริยา ที่ผู้รับบริการ หรือสัมผัสฟังแล้วทำให้ไม่พอใจ หรือไม่เข้าใจ ทำให้มองภาพพจน์ตำรวจในทางลบ มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทำงานบ่อย
ระดับ ๒ ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือปรับบุคลิกภาพหรือมารยาทตามเหตุการณ์ที่เหมาะสม ใช้คำพูด กริยาเหมาะสมไม่ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้รับบริการ แก้ไขปัญหาหรือบริการตามพันธะสัญญาได้ตามที่กำหนด
ระดับ ๓ แก้ไขปัญหาของผู้รับบริการได้อย่างพอใจหรือได้ดีกว่าตามพันธะสัญญาที่กำหนดไว้
ระดับ ๔ เป็นตัวอย่างในการให้บริการประชาชนหรือผู้รับบริการได้พอใจเป็นแบบอย่างในหน่วยงานหรือสถานีตำรวจของเรา
ระดับ ๕ ชักนำ หรือเป็นตัวแบบนำผู้ร่วมงาน หรือถ่ายทอด กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานบริการแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือผู้ใช้บริการได้ประทับใจอย่างกว้างขวางในหน่วยงานหรือสถานีตำรวจของเรา
๓. สำหรับภารกิจที่มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประชุมเมื่อครั้งที่ผ่านๆ มา
๑. ภารกิจสำคัญตำรวจคือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามอุดมคติ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมตามความหมายของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ตำรวจสายตรวจจะต้องมีความใกล้ชิดกับประชาชนทำงานกับสังคม จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและพฤติกรรมของคนอันเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ให้นำจิตสำนึกในการให้บริการ (Service Mind) เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีดังนี้
๑) ความสามารถเข้าใจความคาดหวังและความต้องการของประชาชนหรือผู้มาใช้บริการงานตำรวจ หรือประชาชนที่ตำรวจพบ ซักถาม
๒) มีค่านิยมว่า “ตำรวจต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน” หรือประชาชนผู้เดือดร้อน,ผู้แจ้งหรือ ชุมชนเป็นผู้ที่ต้องให้ความสำคัญ
๓) ฝากข้อคิดในเรื่องการตอบสนองความต้องการผู้รับบริการจากตำรวจอย่างเอื้ออาทร เต็มใจ ด้วยกริยาวาจาเหมาะสม ครบวงจร ในสภาพที่เป็นไปได้จริง หรือศีลธรรมและกฎหมายหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมให้ทุกคนไว้พิจารณาซึ่งได้แก่
ระดับ ๑.ให้บริการประชาชนเพราะหน้าที่หรือผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ทักทาย ไม่แนะนำ ใช้น้ำเสียง หรือคำพูด กริยา ที่ผู้รับบริการ หรือสัมผัสฟังแล้วทำให้ไม่พอใจ หรือไม่เข้าใจ ทำให้มองภาพพจน์ตำรวจในทางลบ มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทำงานบ่อย
ระดับ ๒ ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือปรับบุคลิกภาพหรือมารยาทตามเหตุการณ์ที่เหมาะสม ใช้คำพูด กริยาเหมาะสมไม่ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้รับบริการ แก้ไขปัญหาหรือบริการตามพันธะสัญญาได้ตามที่กำหนด
ระดับ ๓ แก้ไขปัญหาของผู้รับบริการได้อย่างพอใจหรือได้ดีกว่าตามพันธะสัญญาที่กำหนดไว้
ระดับ ๔ เป็นตัวอย่างในการให้บริการประชาชนหรือผู้รับบริการได้พอใจเป็นแบบอย่างในหน่วยงานหรือสถานีตำรวจของเรา
ระดับ ๕ ชักนำ หรือเป็นตัวแบบนำผู้ร่วมงาน หรือถ่ายทอด กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานบริการแก้ไขปัญหาของประชาชนหรือผู้ใช้บริการได้ประทับใจอย่างกว้างขวางในหน่วยงานหรือสถานีตำรวจของเรา
๓. สำหรับภารกิจที่มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประชุมเมื่อครั้งที่ผ่านๆ มา
เจ้าหน้าที่รับทราบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น