“ไม่รักได้ไง ตี ๑ ตี ๒ โทรไปมาทันที มาทั้งขาสั้นอย่างนั้นแหละ” ผู้นำชุมชนพูดถึงผู้หมวดหัวหน้าป้อมตำรวจศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน
ซึ่งได้ประดับยศเป็นตำรวจสัญญาบัตร (ร.ต.ต.) เนื่องจากอายุครบ ๕๓ ปีถึงแม้ว่าอายุจะเข้าใกล้เลข
๖ หากแต่บุคลิกภาพ การแต่งกายด้วยชุดเครื่องแบบตำรวจ การทำความเคารพ
บุคลิกท่วงท่ากลับดูไม่แตกต่างจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ
พร้อมรอยยิ้มกว้างที่สร้างความประทับใจชนิดที่เรียกได้ว่า
สามารถสร้างมิตรไมตรีจากประชาชนได้อย่างแน่นอน !!
นอกจากบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับนโยบายของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วนั้น
ความกระตือรือร้นในการให้บริการประชาชนยังเรียกได้ว่าเกินความคาดหวัง
แนวคิดและความพยายามในการพัฒนาศักยภาพตำรวจไทยให้เป็นตำรวจมืออาชีพของผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาตินี้หากทำสำเร็จก็จะถือว่า พล.ต.อ.อดุลย์ได้มอบของที่ระลึกก่อนเกษียณอายุราชการตำรวจแก่ประชาชนชาวไทย ถึงแม้ว่าการเป็นตำรวจมืออาชีพจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งในบริบทสังคม การเมือง และวัฒนธรรมไทยที่องค์กรตำรวจถูกแทรกแซงจากกลุ่มผู้มีอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
อาจเป็นเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความซับซ้อนและถูกละเลยมานานทำให้การสร้างตำรวจมืออาชีพจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงถอดรื้อวิธีคิดเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ธรรมเนียมปฏิบัติงานแบบเดิมๆ ที่มิใช่เพียงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยในการทำงานที่เป็นเพียงสภาพแวดล้อมทางกายภาพหรือการมีเทคโนโลยีดีๆ ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแต่เพียงเท่านั้น
หากแต่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเจตนา ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความอดทน ทุ่มเทอย่างเสียสละในการทำงานตำรวจที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าเป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ทางวิชาชีพ มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติเช่นนี้ต่างหากที่เป็นคุณสมบัติเด่นชัดที่จำเป็นต้องสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนและรักษาไว้ แต่หากพิจารณาให้เห็นอย่างเด่นชัดจะพบว่าตำรวจไทยจำนวนไม่น้อยมีคุณลักษณะเช่นนี้ หากแต่กลุ่มตำรวจเหล่านี้จำนวนไม่น้อยไม่ได้มีโอกาสที่จะได้ใช้ฝีมือ ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการทำงาน เพียงเพราะพวกเขาเหล่านั้นถูกติดป้ายตีตราว่า "ไม่ใช่พวกของผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายในครั้งนั้นๆ” สิ่งที่น่าเศร้าใจคือ ผู้มีอำนาจที่มีสิทธิในการเลือกตำรวจมาทำงานมิใช่ผู้นำตำรวจ หากแต่เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ หรือแม้กระทั่งทหารคนไทยต้องยอมรับว่านี่คือความจริงและเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคนในสังคมไทย
ผลกระทบที่ตามมาคือ ความไร้เอกภาพในการบริหารจัดการ และไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานตำรวจ ในเมื่อตำรวจที่ถูกส่ง(เสริม)ให้เติบโต เจริญก้าวหน้ามิใช่ตำรวจมืออาชีพ แต่เหล่าบรรดาตำรวจมืออาชีพ(ตัวจริง)กลับถูกดองมิให้เติบโต มีพื้นที่หรือมีโอกาสในการทำงาน ส่งผลให้เหล่าบรรดาตำรวจผู้นำระดับต่างๆ จำนวนไม่น้อยมีสถานะเป็นคนไร้จิตวิญญาณของความเป็นตำรวจและบางส่วนอาจมีรูปลักษณะ ท่วงที วิถีการปฏิบัติที่ละม้ายคล้ายคลึงใกล้เคียงกับนักการเมืองเสียด้วยซ้ำ
บริบทของการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางการเมืองในขณะนี้จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อการบริหารจัดการของตำรวจในอนาคต ไม่ว่าความขัดแย้งนี้จะจบลงเช่นไร ตัวอย่างของภาวะการลอยตัว การเฝ้าดูทิศทางลมของอำนาจ ภาวะไส้ศึก ฯลฯ คือตัวอย่างหนึ่งของภาพสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการทำงานของผู้นำตำรวจที่ไม่ได้มีอำนาจเต็มในการให้พระเดชและพระคุณจนทำให้คนใกล้ตัวอาจจะเป็นคนที่ไม่ใช่? ทำให้นึกถึงคำกล่าวของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้วที่ว่า "ผมไม่ยอม ผมเอาระเบิดมา กอดแล้ว พลีชีพแล้ว ถ้าไม่ทำเป็นเรื่อง ไม่ต้องคิดมาก ผมชัดเจน” ว่าจะสามารถเป็นจริงได้หรือไม่ ?
ขอเป่านกหวีดเรียกร้องให้หยุดป้ายสีตำรวจ เพราะการป้ายสีให้แก่ตำรวจจะทำให้ตำรวจกลับไปเป็นตำรวจแบบเดิมๆ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเราจำเป็นต้องยอมรับด้วยความเจ็บปวดว่าในขณะนี้คนในสังคมไทยขาดความสามัคคี แบ่งขั้วแบ่งข้างแตกแยกและมุ่งร้ายต่อกันอย่างรุนแรง แต่เราก็ไม่ควรที่จะผลักไสให้ตำรวจมีสีอื่นใดนอกจากสีกากีซึ่งเป็นสีของแผ่นดิน เพราะผลเสียของการที่ตำรวจกลายไปเป็นสีใดนั้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการบริหารงานตำรวจ ซึ่งผลงานของตำรวจนั้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสงบ ความมั่นคงและความผาสุกในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การวางตัวของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้นำตำรวจที่สามารถทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ไว้ใจ และมั่นใจว่าเป็นสีกากีเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และตำรวจทุกนายก็ควรมีสำนึกเช่นนั้นตลอดเวลา ไม่ควรแสดงตัว แสดงตน แสดงความคิดเห็นที่สะท้อนให้เห็นว่าสนับสนุน เห็นด้วย หรือเป็นสีใดสีหนึ่ง เพราะตำรวจคือสีกากี เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาความสงบภายในบ้านเมืองเป็นสำคัญ และจำเป็นต้องปฏิบัติตนตามกรอบข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ใช้กฎหมายในการบังคับให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก ตำรวจมืออาชีพต้องชาญฉลาดมากพอที่จะรักษาจุดยืนและอุดมการณ์ของความเป็นตำรวจไว้ให้ได้ท่ามกลางบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ได้เข้ามาท้าทายความเป็นมืออาชีพของตำรวจ ท้าทายความศรัทธา ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตำรวจ !!
ในยามนี้ลองหันกลับมาดูเถิดว่า...ใครเป็นตำรวจมืออาชีพที่ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ในยามที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติและทางสองแพร่งที่สุ่มเสี่ยงเช่นนี้
ทำดีได้ดี...ทำชั่วต้องได้ชั่ว ต้องเป็นหลักบริหารงานบุคคลในองค์กรตำรวจที่ทรงอานุภาพ !!
แนวคิดและความพยายามในการพัฒนาศักยภาพตำรวจไทยให้เป็นตำรวจมืออาชีพของผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาตินี้หากทำสำเร็จก็จะถือว่า พล.ต.อ.อดุลย์ได้มอบของที่ระลึกก่อนเกษียณอายุราชการตำรวจแก่ประชาชนชาวไทย ถึงแม้ว่าการเป็นตำรวจมืออาชีพจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งในบริบทสังคม การเมือง และวัฒนธรรมไทยที่องค์กรตำรวจถูกแทรกแซงจากกลุ่มผู้มีอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
อาจเป็นเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความซับซ้อนและถูกละเลยมานานทำให้การสร้างตำรวจมืออาชีพจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงถอดรื้อวิธีคิดเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ธรรมเนียมปฏิบัติงานแบบเดิมๆ ที่มิใช่เพียงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยในการทำงานที่เป็นเพียงสภาพแวดล้อมทางกายภาพหรือการมีเทคโนโลยีดีๆ ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแต่เพียงเท่านั้น
หากแต่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเจตนา ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความอดทน ทุ่มเทอย่างเสียสละในการทำงานตำรวจที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าเป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ทางวิชาชีพ มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติเช่นนี้ต่างหากที่เป็นคุณสมบัติเด่นชัดที่จำเป็นต้องสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนและรักษาไว้ แต่หากพิจารณาให้เห็นอย่างเด่นชัดจะพบว่าตำรวจไทยจำนวนไม่น้อยมีคุณลักษณะเช่นนี้ หากแต่กลุ่มตำรวจเหล่านี้จำนวนไม่น้อยไม่ได้มีโอกาสที่จะได้ใช้ฝีมือ ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการทำงาน เพียงเพราะพวกเขาเหล่านั้นถูกติดป้ายตีตราว่า "ไม่ใช่พวกของผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายในครั้งนั้นๆ” สิ่งที่น่าเศร้าใจคือ ผู้มีอำนาจที่มีสิทธิในการเลือกตำรวจมาทำงานมิใช่ผู้นำตำรวจ หากแต่เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ หรือแม้กระทั่งทหารคนไทยต้องยอมรับว่านี่คือความจริงและเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคนในสังคมไทย
ผลกระทบที่ตามมาคือ ความไร้เอกภาพในการบริหารจัดการ และไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานตำรวจ ในเมื่อตำรวจที่ถูกส่ง(เสริม)ให้เติบโต เจริญก้าวหน้ามิใช่ตำรวจมืออาชีพ แต่เหล่าบรรดาตำรวจมืออาชีพ(ตัวจริง)กลับถูกดองมิให้เติบโต มีพื้นที่หรือมีโอกาสในการทำงาน ส่งผลให้เหล่าบรรดาตำรวจผู้นำระดับต่างๆ จำนวนไม่น้อยมีสถานะเป็นคนไร้จิตวิญญาณของความเป็นตำรวจและบางส่วนอาจมีรูปลักษณะ ท่วงที วิถีการปฏิบัติที่ละม้ายคล้ายคลึงใกล้เคียงกับนักการเมืองเสียด้วยซ้ำ
บริบทของการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางการเมืองในขณะนี้จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อการบริหารจัดการของตำรวจในอนาคต ไม่ว่าความขัดแย้งนี้จะจบลงเช่นไร ตัวอย่างของภาวะการลอยตัว การเฝ้าดูทิศทางลมของอำนาจ ภาวะไส้ศึก ฯลฯ คือตัวอย่างหนึ่งของภาพสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการทำงานของผู้นำตำรวจที่ไม่ได้มีอำนาจเต็มในการให้พระเดชและพระคุณจนทำให้คนใกล้ตัวอาจจะเป็นคนที่ไม่ใช่? ทำให้นึกถึงคำกล่าวของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้วที่ว่า "ผมไม่ยอม ผมเอาระเบิดมา กอดแล้ว พลีชีพแล้ว ถ้าไม่ทำเป็นเรื่อง ไม่ต้องคิดมาก ผมชัดเจน” ว่าจะสามารถเป็นจริงได้หรือไม่ ?
ขอเป่านกหวีดเรียกร้องให้หยุดป้ายสีตำรวจ เพราะการป้ายสีให้แก่ตำรวจจะทำให้ตำรวจกลับไปเป็นตำรวจแบบเดิมๆ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเราจำเป็นต้องยอมรับด้วยความเจ็บปวดว่าในขณะนี้คนในสังคมไทยขาดความสามัคคี แบ่งขั้วแบ่งข้างแตกแยกและมุ่งร้ายต่อกันอย่างรุนแรง แต่เราก็ไม่ควรที่จะผลักไสให้ตำรวจมีสีอื่นใดนอกจากสีกากีซึ่งเป็นสีของแผ่นดิน เพราะผลเสียของการที่ตำรวจกลายไปเป็นสีใดนั้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการบริหารงานตำรวจ ซึ่งผลงานของตำรวจนั้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสงบ ความมั่นคงและความผาสุกในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การวางตัวของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้นำตำรวจที่สามารถทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ไว้ใจ และมั่นใจว่าเป็นสีกากีเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และตำรวจทุกนายก็ควรมีสำนึกเช่นนั้นตลอดเวลา ไม่ควรแสดงตัว แสดงตน แสดงความคิดเห็นที่สะท้อนให้เห็นว่าสนับสนุน เห็นด้วย หรือเป็นสีใดสีหนึ่ง เพราะตำรวจคือสีกากี เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาความสงบภายในบ้านเมืองเป็นสำคัญ และจำเป็นต้องปฏิบัติตนตามกรอบข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ใช้กฎหมายในการบังคับให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก ตำรวจมืออาชีพต้องชาญฉลาดมากพอที่จะรักษาจุดยืนและอุดมการณ์ของความเป็นตำรวจไว้ให้ได้ท่ามกลางบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ได้เข้ามาท้าทายความเป็นมืออาชีพของตำรวจ ท้าทายความศรัทธา ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตำรวจ !!
ในยามนี้ลองหันกลับมาดูเถิดว่า...ใครเป็นตำรวจมืออาชีพที่ร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ในยามที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติและทางสองแพร่งที่สุ่มเสี่ยงเช่นนี้
ทำดีได้ดี...ทำชั่วต้องได้ชั่ว ต้องเป็นหลักบริหารงานบุคคลในองค์กรตำรวจที่ทรงอานุภาพ !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น