ความไม่ยุติธรรมแผ่ซ่านในความรู้สึกของผู้คนในสังคมไทยปัจจุบัน
การรับรู้ว่าตนเองหรือกลุ่มตนได้รับความยุติธรรมหรือไม่ได้รับความยุติธรรมจะส่งผลต่อความรู้สึกที่มีต่อประเด็นนั้นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นๆ
ด้วยเสมอ หากรับรู้ถึงความยุติธรรมก็จะมีอารมณ์ความรู้สึกในทิศทางเชิงบวก
แต่หากรับรู้ถึงความไม่ยุติธรรมก็จะเกิดความรู้สึกในทิศทางเชิงลบ
อาจเริ่มจากไม่พึงพอใจ โกรธ ไปจนถึงความเกลียดชัง
โดยที่มิอาจมั่นใจได้ว่ายุติธรรมมีความหมายเพียงหนึ่งเดียวที่ทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน !
บ่อยครั้งที่ในเรื่องเดียวกันกลุ่มหนึ่งอาจมองและให้ความหมายว่ายุติธรรม ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งอาจให้ความหมายว่าไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกับความดี ความเลว ความซื่อสัตย์สุจริต ? จนเกิดข้อสงสัยหรือตั้งคำถามมากมาย เช่น ตกลงว่าการคอร์รัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองเป็นเรื่องปกติธรรมดาหรือเป็นสิ่งไม่ดี ? การซื้อขายตำแหน่งหน้าที่การงานในกลุ่มข้าราชการต่างๆ เป็นเรื่องปกติธรรมดาหรือเป็นสิ่งที่ไม่ดี ? เพราะถ้าตอบว่าไม่ดีแล้วทำไมคนจำนวนไม่น้อยจึงยังกระทำอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบหรือระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไปก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นการฝากลูกเข้าโรงเรียนมีความเลวร้ายที่แตกต่างอย่างไรกับการฝากตำรวจที่ดูแลติดตามนักการเมืองเข้าเรียนหลักสูตรผู้กำกับ การจ่ายเงินสนับสนุนให้โรงเรียน ๑ แสนบาทหรือมากกว่านั้นเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนชั้น ป.๑ ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของรัฐแตกต่างอย่างไรกับการจ่ายเงิน ๑๐๐ บาทให้แก่ตำรวจจราจรหรือเจ้าหน้าที่ขนส่งที่ตรวจพบการกระทำผิดกฎหมายจราจรหรือผิด พ.ร.บ.ขนส่ง
การสร้างถนนที่แพงเกินจริง (และชำรุดอย่างรวดเร็วอย่างชัดเจนในเวลาต่อมา) ของหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบถนนในแต่ละส่วน เช่น กระทรวงคมนาคม การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น มีความแตกต่างอย่างไรกับการสร้างสถานีตำรวจไม่เสร็จจนกลายเป็นสถานีตำรวจร้างทั่วประเทศ
การละเลย ขาดงาน ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพของข้าราชการต่างๆ แตกต่างอย่างไรกับการใส่เกียร์ว่างของตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลบางกลุ่มบางพวก ตัวอย่างที่ทดลองยกขึ้นมาเปรียบเทียบนั้นเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่าการกระทำในสิ่งที่สังคม (ในอดีต?) บอกว่าไม่ดีนั้นได้เกิดขึ้นอย่างแผ่ซ่านมากมายในปัจจุบัน มากจนทำให้คนในสังคมคุ้นชินและยอมรับโดยนัยว่าเป็นเรื่องปกติ ?
หากแต่มีข้อสังเกตว่าในบรรดาหน่วยงานภาครัฐนั้นองค์กรที่ได้รับการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวในทำนองเช่นนี้มากที่สุดคือองค์กรตำรวจ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด ?
ใช่หรือไม่ว่าบุคลากรตำรวจบางกลุ่มบางคนประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น ? แล้วทำไมพวกเขาเหล่านี้จึงประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ ?
ใช่หรือไม่ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความโลภที่อยู่ในตัวตำรวจแต่ละคน ? ตำรวจทุกคนที่ปฏิบัติเช่นนี้เพราะมีความโลภ ? ขาดสติ ขาดจริยธรรมของการปฏิบัติตนที่ดีแต่เพียงเท่านั้นหรือ ? มีสาเหตุมากกว่าเหตุที่มาจากปัจจัยส่วนบุคคลหรือไม่ ?
ใช่หรือไม่ว่าระบบสังคมวัฒนธรรมไทยที่หล่อหลอมองค์กรตำรวจอยู่มีผลต่อการปฏิบัติตัวที่นอกรีตของตำรวจเหล่านั้น? “สงสารเด็กมันเถอะ มันทำครั้งแรก มันก็เป็นเด็กในชุมชนเรา แค่ไม่ใส่หมวกกันน็อกไม่ใช่ความผิดร้ายแรงขอสักครั้งแล้วกันนะ” คือสิ่งที่คนในสังคมนิยมทำกันใช่หรือไม่ ?
ใช่หรือไม่ว่าระบบการบริหารงานขององค์กรตำรวจเองก็มีผลกระทบให้ตำรวจต้องแสดงพฤติกรรมที่กลายเป็นตราประทับเชิงลบกับตำรวจทั้งประเทศ ดังตัวอย่างคำพูดที่กลายเป็นประโยคที่คุ้นชินว่า "ตำรวจรับส่วย” (แต่ไม่มีใครคุ้นชินว่าอาจารย์รับส่วย ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องราวทำนองนี้ให้พูดถึงในทุกห้วงเวลาการสอบแข่งขันเข้าเรียนก็ตาม)
ระบบการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสำเร็จของงานโดยมีเงื่อนไขว่าอย่ามาอ้างว่ามีทรัพยากรที่จำกัดทั้งๆ ที่ใครๆ ก็รู้โดยทั่วกันว่าการมีทรัพยากรที่จำกัดอย่างมากนั้นย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานอย่างแน่นอน แต่สำหรับในโลกของตำรวจแล้วนั้นวิถีการทำงานและคำพูดของผู้บังคับบัญชาเช่นนี้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุ้นชินจนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่นิยมใช้คำแทนว่า "สั่งแห้ง” หมายถึงการสั่งงานที่ต้องการผลงานที่ดีเลิศแต่ไม่มีงบประมาณให้
โดยที่มิอาจมั่นใจได้ว่ายุติธรรมมีความหมายเพียงหนึ่งเดียวที่ทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน !
บ่อยครั้งที่ในเรื่องเดียวกันกลุ่มหนึ่งอาจมองและให้ความหมายว่ายุติธรรม ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งอาจให้ความหมายว่าไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกับความดี ความเลว ความซื่อสัตย์สุจริต ? จนเกิดข้อสงสัยหรือตั้งคำถามมากมาย เช่น ตกลงว่าการคอร์รัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองเป็นเรื่องปกติธรรมดาหรือเป็นสิ่งไม่ดี ? การซื้อขายตำแหน่งหน้าที่การงานในกลุ่มข้าราชการต่างๆ เป็นเรื่องปกติธรรมดาหรือเป็นสิ่งที่ไม่ดี ? เพราะถ้าตอบว่าไม่ดีแล้วทำไมคนจำนวนไม่น้อยจึงยังกระทำอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบหรือระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไปก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นการฝากลูกเข้าโรงเรียนมีความเลวร้ายที่แตกต่างอย่างไรกับการฝากตำรวจที่ดูแลติดตามนักการเมืองเข้าเรียนหลักสูตรผู้กำกับ การจ่ายเงินสนับสนุนให้โรงเรียน ๑ แสนบาทหรือมากกว่านั้นเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนชั้น ป.๑ ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของรัฐแตกต่างอย่างไรกับการจ่ายเงิน ๑๐๐ บาทให้แก่ตำรวจจราจรหรือเจ้าหน้าที่ขนส่งที่ตรวจพบการกระทำผิดกฎหมายจราจรหรือผิด พ.ร.บ.ขนส่ง
การสร้างถนนที่แพงเกินจริง (และชำรุดอย่างรวดเร็วอย่างชัดเจนในเวลาต่อมา) ของหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบถนนในแต่ละส่วน เช่น กระทรวงคมนาคม การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น มีความแตกต่างอย่างไรกับการสร้างสถานีตำรวจไม่เสร็จจนกลายเป็นสถานีตำรวจร้างทั่วประเทศ
การละเลย ขาดงาน ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพของข้าราชการต่างๆ แตกต่างอย่างไรกับการใส่เกียร์ว่างของตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลบางกลุ่มบางพวก ตัวอย่างที่ทดลองยกขึ้นมาเปรียบเทียบนั้นเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่าการกระทำในสิ่งที่สังคม (ในอดีต?) บอกว่าไม่ดีนั้นได้เกิดขึ้นอย่างแผ่ซ่านมากมายในปัจจุบัน มากจนทำให้คนในสังคมคุ้นชินและยอมรับโดยนัยว่าเป็นเรื่องปกติ ?
หากแต่มีข้อสังเกตว่าในบรรดาหน่วยงานภาครัฐนั้นองค์กรที่ได้รับการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวในทำนองเช่นนี้มากที่สุดคือองค์กรตำรวจ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด ?
ใช่หรือไม่ว่าบุคลากรตำรวจบางกลุ่มบางคนประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น ? แล้วทำไมพวกเขาเหล่านี้จึงประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ ?
ใช่หรือไม่ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความโลภที่อยู่ในตัวตำรวจแต่ละคน ? ตำรวจทุกคนที่ปฏิบัติเช่นนี้เพราะมีความโลภ ? ขาดสติ ขาดจริยธรรมของการปฏิบัติตนที่ดีแต่เพียงเท่านั้นหรือ ? มีสาเหตุมากกว่าเหตุที่มาจากปัจจัยส่วนบุคคลหรือไม่ ?
ใช่หรือไม่ว่าระบบสังคมวัฒนธรรมไทยที่หล่อหลอมองค์กรตำรวจอยู่มีผลต่อการปฏิบัติตัวที่นอกรีตของตำรวจเหล่านั้น? “สงสารเด็กมันเถอะ มันทำครั้งแรก มันก็เป็นเด็กในชุมชนเรา แค่ไม่ใส่หมวกกันน็อกไม่ใช่ความผิดร้ายแรงขอสักครั้งแล้วกันนะ” คือสิ่งที่คนในสังคมนิยมทำกันใช่หรือไม่ ?
ใช่หรือไม่ว่าระบบการบริหารงานขององค์กรตำรวจเองก็มีผลกระทบให้ตำรวจต้องแสดงพฤติกรรมที่กลายเป็นตราประทับเชิงลบกับตำรวจทั้งประเทศ ดังตัวอย่างคำพูดที่กลายเป็นประโยคที่คุ้นชินว่า "ตำรวจรับส่วย” (แต่ไม่มีใครคุ้นชินว่าอาจารย์รับส่วย ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องราวทำนองนี้ให้พูดถึงในทุกห้วงเวลาการสอบแข่งขันเข้าเรียนก็ตาม)
ระบบการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสำเร็จของงานโดยมีเงื่อนไขว่าอย่ามาอ้างว่ามีทรัพยากรที่จำกัดทั้งๆ ที่ใครๆ ก็รู้โดยทั่วกันว่าการมีทรัพยากรที่จำกัดอย่างมากนั้นย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานอย่างแน่นอน แต่สำหรับในโลกของตำรวจแล้วนั้นวิถีการทำงานและคำพูดของผู้บังคับบัญชาเช่นนี้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุ้นชินจนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่นิยมใช้คำแทนว่า "สั่งแห้ง” หมายถึงการสั่งงานที่ต้องการผลงานที่ดีเลิศแต่ไม่มีงบประมาณให้
เมื่อเป็นเช่นนี้ตำรวจผู้ปฏิบัติจะหางบประมาณมาจากไหน ?
“อย่ามากล่าวอ้างว่าไม่มีงบประมาณแล้วต้องคอร์รัปชั่น ก็ขอจากท้องถิ่นสิ โรงพยาบาลต่างๆ เขาก็ของบประมาณจากท้องถิ่นทั้งนั้น” นักวิชาการแสดงความเห็นลองไตร่ตรองครุ่นคิดให้ดีเถิดว่าธรรมชาติของงานตำรวจในบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทยนั้นตำรวจควรเดินเข้าสู่ระบบอุปถัมภ์ผ่านการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากท้องถิ่นหรือไม่ ? ถ้าสามารถทำได้ในฐานะที่ตำรวจก็เป็นหนึ่งในสายธารแห่งกระบวนยุติธรรมเช่นเดียวกันกับอัยการและศาล นั่นย่อมหมายความว่า ตำรวจ อัยการ และศาลสมควรที่จะมีวิธีการได้มาซึ่งงบประมาณในการทำงานเช่นเดียวกันใช่หรือไม่ ?
ถ้าหากองคาพยพของกระบวนการยุติธรรมไทยตกอยู่ในห้วงการอุปถัมภ์ของท้องถิ่น ? อะไรจะเกิดขึ้น ? การคิดวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามต้องวางอยู่บนบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย อย่าได้ริอ่านนำสังคมอเมริกัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมัน ออสเตรเลียมาใช้ตอบคำถามแบบนักวิชาการที่เห็นโลกเพียงสีขาวสวยงาม เพราะในความเป็นจริงแล้วโลกเรามีทั้งสีขาว สีเทา และสีดำ
การเลือกปฏิบัติเป็นวิถีทางหนึ่งของความไม่ยุติธรรมใช่หรือไม่ ?
เป็นไปได้หรือไม่ว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้รับความยุติธรรมไม่ควรที่จะทำหน้าที่ในการสร้างและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมก็ในเมื่อตัวเขาเองยังไม่ได้รับความยุติธรรมเลยเขาจะอดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก ไม่มักในลาภผลได้นานสักเพียงใด ?
ก่อนที่ก่นด่าและเพ่งโทษ อย่าลืมคิดวิเคราะห์อย่าง คม ชัด ลึก !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น