ปฏิรูปตำรวจกลายมาเป็นประเด็นเรียกร้องของสังคมไทยอีกวาระหนึ่ง
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อยู่ตรงข้ามกับขั้วอำนาจรัฐในยามนี้ นั่นหมายความว่าการเรียกร้องถามหาการปฏิรูปตำรวจในยามนี้เกิดขึ้นจากความไม่พอใจผลการปฏิบัติงานของตำรวจที่เป็นผลสืบเนื่องความเชื่อ
ความคิดเห็นว่ากลุ่มตำรวจทำหน้าที่เสริมพลังอำนาจให้แก่รัฐบาล
โดยการทำหน้าที่ของตำรวจในลักษณะดังกล่าวเป็นการทำร้ายประชาชน
ไม่อยู่เคียงข้างประชาชน ไม่ทำตัวเป็นกลาง
เลือกปฏิบัติโดยใช้อำนาจในการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างอำนาจที่ไม่ชอบธรรม
ในส่วนของตำรวจนั้นพยายามที่จะสื่อสารให้สังคมเกิดความเข้าใจว่า
"ตำรวจทำตามหน้าที่ ไม่ว่ารัฐบาลจะมาจากพรรคการเมืองใด
ตำรวจก็ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งเพื่อรักษาความสงบในสังคมไว้ให้ได้มากที่สุด”
เพียงแต่ว่าการทำหน้าที่ของตำรวจนั้นมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแยบยลมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ทั้งนี้อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ที่เจ็บปวดที่ตำรวจจำนวนไม่น้อยต้องถูกดำเนินคดีกลายเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่และนำมาซึ่งการศึกษาและใช้ตัวบทกฎหมายเป็นแนวทางในการกำกับการทำงานควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงานควบคุมฝูงชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารองค์กรที่ทำหน้าที่สื่อสารให้สังคมรู้ว่าตำรวจทำอะไร มีเป้าหมายอะไร โดยยึดมั่นอุดมคติตำรวจในประเด็นอดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงานของตำรวจที่อยู่ในแนวหน้าที่เผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจสร้างความรุนแรง
การวางแผนในการทำงานในยุทธศาสตร์เช่นนี้ส่งผลให้ตำรวจยุคนี้ "สอบผ่าน” ถึงแม้ว่าจะสร้างความฉงนและตั้งคำถามด้วยความตกใจว่า "ตำรวจคิดถูกแล้วหรือในการกระโดดเข้าไปสู่กลไกการใช้อำนาจที่มากขึ้นของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างที่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ภายใต้การกำกับดูแลของผู้นำทางการเมืองที่บริหาร พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยมีอัตลักษณ์นิยมอำนาจ?” แต่ในที่สุดตำรวจก็ยังสอบผ่าน!!!
การเห็นว่าตำรวจสอบผ่านนี้มิได้หมายความว่าองค์กรตำรวจไม่จำเป็นต้องการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด!! หากแต่เป็นความเห็นจากการประเมินผลการปฏิบัติงานในการรักษาความสงบในสังคมในห้วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงแต่เพียงเท่านั้น
“เป็นลูกน้องเลือกนายได้ด้วยเหรอ” ผู้กำกับหนุ่มผู้ที่เคยมีไฟแรงในการทำงานย้อนถาม เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตว่ากำลังทำงานอย่างแข็งขันรับใช้นายที่ให้ความสำคัญกับผู้อื่นและสังคมน้อยกว่าผลประโยชน์และอำนาจเฉพาะตนเท่านั้น?
แต่หากตำรวจทุกนายเริ่มปฏิรูปตั้งแต่ตัวเองโดยเปลี่ยนแปลงวิธีคิดว่าการทำงานนั้นมิใช่ทำเพื่อนาย แต่ทำหน้าที่เพื่อสร้างความผาสุกให้แก่สังคมตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง เพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่นายสั่งหรือบัญชาในสิ่งที่มิชอบและเป็นไปเพื่อประโยชน์หรืออำนาจส่วนตนก็ย่อมมีสิทธิที่จะต่อต้าน ต่อรอง ขัดขืน(resistance) ต่ออำนาจนั้นด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งตำรวจย่อมมีประสบการณ์มากมายที่จะเลือกกลไกในการต่อต้านต่ออำนาจ โดยตำรวจคงไม่ปฏิเสธว่าการทำงานอยู่ในโลกของการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์นั้นส่งผลให้ตำรวจจำเป็นต้องมีเหลี่ยม
เหลี่ยมของตำรวจทำให้ตำรวจรอดพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือของโจร เหลี่ยมของตำรวจทำให้ตำรวจสามารถจับโจรได้ แล้วถ้าตำรวจจะใช้เหลี่ยมอีกสักนิดเพื่อให้รอดพ้นจากคำสั่งหรือการบัญชาของนายที่สั่งโดยมิชอบนั้นตำรวจจะทำไม่ได้เลยเชียวหรือ?
"เกียร์ว่าง" ก็คือเหลี่ยมของตำรวจลักษณะหนึ่งเช่นกันใช่หรือไม่?
หากพิจารณาเช่นนี้จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่ตำรวจตัดสินใจในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปนั้นเป็นเพราะตำรวจได้พิจารณาดีแล้วว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ตำรวจเองก็อยากจะทำเช่นกันมิใช่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้นำหรือของนายคนใดคนหนึ่งจนหมดสิ้นหนทางในการต่อสู้ ต่อต้าน ต่อรองหรือขัดขืน
การปฏิรูปตำรวจมิควรมองเพียงแค่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด บทบาทหน้าที่ และวิถีการทำงานต่างๆ ในระดับปัจเจก (individual) หรือระดับการกระทำของตำรวจแต่ละนายเท่านั้น เพราะปัจเจกอยู่ภายใต้กลไกเชิงอำนาจของโครงสร้างและวัฒนธรรมที่เข้ามากดบังคับไว้ ถึงแม้ว่าโครงสร้างขององค์กรตำรวจจะเป็นโครงสร้างที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่การที่ตำรวจทั้งองคาพยพจำต้องขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรียังมีบทบาทเป็นประธานของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ซึ่งใน ก.ต.ช.นี้มีสัดส่วนของนักการเมืองมากกว่าตำรวจ แต่กลับมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและงบประมาณของตำรวจรวมถึงคณะกรรมการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานบุคคลตำรวจด้วยนั้น จึงขอถามดังๆ ว่า ผลการปฏิบัติงาน ขวัญและกำลังใจของตำรวจย่อมเป็นผลกระทบที่สำคัญมาจากคณะกรรมการทั้ง ๒ ชุดนี้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีด้วยใช่หรือไม่? ถ้าใช่ก็ขอตั้งสมมุติฐานว่าตำรวจจะดีได้เมื่อมีนายกรัฐมนตรีที่ดี ดังนั้น เมื่อจะปฏิรูปตำรวจให้ดีก็จะต้องรอปฏิรูปนายกฯ ให้สำเร็จ ซึ่งไม่รู้จะต้องรออีกนานแค่ไหน
การปลดแอกตำรวจให้หลุดพ้นจากการเมืองน้ำเน่าจะได้ผลทันตาเห็นกว่าหรือไม่?
เพียงแต่ว่าการทำหน้าที่ของตำรวจนั้นมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแยบยลมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ทั้งนี้อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ที่เจ็บปวดที่ตำรวจจำนวนไม่น้อยต้องถูกดำเนินคดีกลายเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่และนำมาซึ่งการศึกษาและใช้ตัวบทกฎหมายเป็นแนวทางในการกำกับการทำงานควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงานควบคุมฝูงชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารองค์กรที่ทำหน้าที่สื่อสารให้สังคมรู้ว่าตำรวจทำอะไร มีเป้าหมายอะไร โดยยึดมั่นอุดมคติตำรวจในประเด็นอดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงานของตำรวจที่อยู่ในแนวหน้าที่เผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจสร้างความรุนแรง
การวางแผนในการทำงานในยุทธศาสตร์เช่นนี้ส่งผลให้ตำรวจยุคนี้ "สอบผ่าน” ถึงแม้ว่าจะสร้างความฉงนและตั้งคำถามด้วยความตกใจว่า "ตำรวจคิดถูกแล้วหรือในการกระโดดเข้าไปสู่กลไกการใช้อำนาจที่มากขึ้นของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอย่างที่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ภายใต้การกำกับดูแลของผู้นำทางการเมืองที่บริหาร พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยมีอัตลักษณ์นิยมอำนาจ?” แต่ในที่สุดตำรวจก็ยังสอบผ่าน!!!
การเห็นว่าตำรวจสอบผ่านนี้มิได้หมายความว่าองค์กรตำรวจไม่จำเป็นต้องการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด!! หากแต่เป็นความเห็นจากการประเมินผลการปฏิบัติงานในการรักษาความสงบในสังคมในห้วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงแต่เพียงเท่านั้น
“เป็นลูกน้องเลือกนายได้ด้วยเหรอ” ผู้กำกับหนุ่มผู้ที่เคยมีไฟแรงในการทำงานย้อนถาม เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตว่ากำลังทำงานอย่างแข็งขันรับใช้นายที่ให้ความสำคัญกับผู้อื่นและสังคมน้อยกว่าผลประโยชน์และอำนาจเฉพาะตนเท่านั้น?
แต่หากตำรวจทุกนายเริ่มปฏิรูปตั้งแต่ตัวเองโดยเปลี่ยนแปลงวิธีคิดว่าการทำงานนั้นมิใช่ทำเพื่อนาย แต่ทำหน้าที่เพื่อสร้างความผาสุกให้แก่สังคมตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง เพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่นายสั่งหรือบัญชาในสิ่งที่มิชอบและเป็นไปเพื่อประโยชน์หรืออำนาจส่วนตนก็ย่อมมีสิทธิที่จะต่อต้าน ต่อรอง ขัดขืน(resistance) ต่ออำนาจนั้นด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งตำรวจย่อมมีประสบการณ์มากมายที่จะเลือกกลไกในการต่อต้านต่ออำนาจ โดยตำรวจคงไม่ปฏิเสธว่าการทำงานอยู่ในโลกของการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์นั้นส่งผลให้ตำรวจจำเป็นต้องมีเหลี่ยม
เหลี่ยมของตำรวจทำให้ตำรวจรอดพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือของโจร เหลี่ยมของตำรวจทำให้ตำรวจสามารถจับโจรได้ แล้วถ้าตำรวจจะใช้เหลี่ยมอีกสักนิดเพื่อให้รอดพ้นจากคำสั่งหรือการบัญชาของนายที่สั่งโดยมิชอบนั้นตำรวจจะทำไม่ได้เลยเชียวหรือ?
"เกียร์ว่าง" ก็คือเหลี่ยมของตำรวจลักษณะหนึ่งเช่นกันใช่หรือไม่?
หากพิจารณาเช่นนี้จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่ตำรวจตัดสินใจในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปนั้นเป็นเพราะตำรวจได้พิจารณาดีแล้วว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ตำรวจเองก็อยากจะทำเช่นกันมิใช่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้นำหรือของนายคนใดคนหนึ่งจนหมดสิ้นหนทางในการต่อสู้ ต่อต้าน ต่อรองหรือขัดขืน
การปฏิรูปตำรวจมิควรมองเพียงแค่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด บทบาทหน้าที่ และวิถีการทำงานต่างๆ ในระดับปัจเจก (individual) หรือระดับการกระทำของตำรวจแต่ละนายเท่านั้น เพราะปัจเจกอยู่ภายใต้กลไกเชิงอำนาจของโครงสร้างและวัฒนธรรมที่เข้ามากดบังคับไว้ ถึงแม้ว่าโครงสร้างขององค์กรตำรวจจะเป็นโครงสร้างที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่การที่ตำรวจทั้งองคาพยพจำต้องขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรียังมีบทบาทเป็นประธานของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ซึ่งใน ก.ต.ช.นี้มีสัดส่วนของนักการเมืองมากกว่าตำรวจ แต่กลับมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและงบประมาณของตำรวจรวมถึงคณะกรรมการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารงานบุคคลตำรวจด้วยนั้น จึงขอถามดังๆ ว่า ผลการปฏิบัติงาน ขวัญและกำลังใจของตำรวจย่อมเป็นผลกระทบที่สำคัญมาจากคณะกรรมการทั้ง ๒ ชุดนี้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีด้วยใช่หรือไม่? ถ้าใช่ก็ขอตั้งสมมุติฐานว่าตำรวจจะดีได้เมื่อมีนายกรัฐมนตรีที่ดี ดังนั้น เมื่อจะปฏิรูปตำรวจให้ดีก็จะต้องรอปฏิรูปนายกฯ ให้สำเร็จ ซึ่งไม่รู้จะต้องรออีกนานแค่ไหน
การปลดแอกตำรวจให้หลุดพ้นจากการเมืองน้ำเน่าจะได้ผลทันตาเห็นกว่าหรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น