“ทหารพลาดแล้ว"
วงสนทนาอภิปรายถกเถียงกันในประเด็นภาพทหารในเครื่องแบบเต็มยศจอดรถจักรยานยนต์ละเมิดกฎจราจร
โดยจอดล้ำเส้นที่บังคับให้หยุดรถ เข้าข่าย "จอมล้ำ” ๑ ใน ๕ จอมที่ตำรวจต้องบังคับจับกุมอย่างเข้มแข็งและเข้มงวดตามนโยบายของ
พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) นายใหญ่ไฟแรงที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานจราจร
การเผยแพร่ภาพการกระทำผิดกฎหมายจราจรของเหล่าบรรดาตำรวจและทหารผ่านสังคมออนไลน์นั้น สะท้อนให้เห็นความจริงที่คนในสังคมไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารประเทศและเหล่าบรรดาผู้นำทางสังคมต่างๆ ไม่สามารถปฏิเสธได้ นั่นคือวัฒนธรรมการยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของคนไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ต่ำจนเข้าข่ายคำเสียดสีที่มักพูดกันว่า "ทำอะไร ตามใจคือไทยแท้”
หากเข้าใจบริบทแห่งวิถีวัฒนธรรมเช่นนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจจราจรไม่ใช่งานหมูๆ ที่จะสำเร็จได้โดยง่าย ดังจะเห็นได้จากการที่เมื่อทหารก้าวเข้ามาเล่นบทบังคับใช้กฎหมายในยุคนี้ ซึ่งแต่เดิมมีแต่เพียงตำรวจเท่านั้นที่เล่นบทการบังคับใช้กฎหมาย ส่งผลให้การถูกจ้องจับผิดมิใช่จำกัดวงอยู่เพียงแค่ตำรวจเท่านั้น หากแต่ทหารก็โดนจ้องจับผิดและต่อต้านด้วยเช่นกัน เรียกว่าไม่ว่าใครหน้าไหนถ้ามาเล่นบทบังคับใช้กฎแล้วจะโดนต่อต้านในรูปแบบต่างๆ เป็นธรรมดา
ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะเป็นข้อสรุปที่ควรเข้าใจตรงกันได้ว่า "การบังคับใช้กฎหมายไม่ใช่ของง่ายและไม่ใช่ยาวิเศษที่จะสามารถใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจราจรของคนไทยได้เช่นเดียวกับที่ต่างประเทศประสบความสำเร็จตามที่บรรดานักวิชาการต่างๆ มักนิยมนำมาใช้เป็นข้ออ้างให้ตำรวจใช้กฎหมายและคาดหวังผลที่สูงเกินจริง”
"ผมแก้ปัญหาให้น้องๆ ตำรวจของผม ถ้าผมไม่ทำอย่างนี้ ตำรวจผู้ปฏิบัติทำงานไม่ได้" พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ เล่าถึงการเริ่มต้นงานด้วยการสร้างความมั่นใจแก่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ว่านายจะไม่ขอหรือขอยกเว้นค่าปรับจราจรเมื่อตำรวจจราจรออกใบสั่งไปแล้วเหมือนอย่างที่นิยมปฏิบัติกันในห้วงเวลาที่ผ่านมา
"พอตำรวจจราจรออกใบสั่งก็จะโทรมาขอกัน อ้างว่าเคยช่วยสนับสนุนงานตำรวจบ้าง เคยช่วยสนับสนุนงบประมาณให้ตำรวจบ้าง เป็นอย่างนี้ตลอดมา ที่ผ่านมาตำรวจก็พยายามประนีประนอมเรื่อยมา ด้วยเห็นว่าเป็นข้อหาจราจร จนกลายเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาดว่า การทำผิดกฎหมายจราจรตามข้อหาจราจรไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่ขอกันได้ ก็ทำให้ตำรวจชั้นผู้น้อยที่เขาปฏิบัติงานอยู่ตามท้องถนนทำงานลำบากหมดขวัญและกำลังใจ..." นี่คือส่วนหนึ่งของเหตุผลที่มาของคำพูดว่า "ต่อไปนี้ไม่มีการขอเมื่อตำรวจจราจรจับ จับจริง ปรับจริง จริงๆ” นายตำรวจใหญ่กล่าว
ถึงแม้ว่าการสร้างวินัยจราจรจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากวินัยจราจรสะท้อนวินัยชาติ และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมละเมิดวินัยจราจรทั้ง ๕ จอมนั้น ไม่ว่าจะเป็นจอมล้ำ(เส้นที่ระบุให้จอดรถ) จอมปาด จอมขวาง(บริเวณแยกสัญญาณไฟ) จอมย้อน(ศร) และจอมปลอม (แผ่นป้ายทะเบียน) จะเห็นได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่สมควรได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง แต่ทำไมยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบบางส่วนเมื่อนโยบายนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อบังคับใช้อย่างจริงจัง(ซึ่งไม่ใช่ข้อบังคับใหม่แต่อย่างใด หากแต่ถูกปล่อยปละละเลยตลอดเวลาที่ผ่านมา)
นโยบาย ๕ จอมเป็นนโยบายที่มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากมิได้ส่งผลกระทบเชิงบวก เพียงแค่การทำให้การจราจรมีความคล่องตัวแต่เพียงเท่านั้น หากแต่นโยบาย ๕ จอมยังส่งผลให้คนไทยเกิดสำนึกที่ดีต่อการเคารพสิทธิในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้พื้นที่สาธารณะด้วย เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก หากแต่เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาแบบผิวเผิน หากแต่เป็นการแก้ไขที่แก่นแท้ของปัญหาอุบัติเหตุจราจรที่เรื้อรังของสังคมไทย
เมื่อนายคิดการใหญ่ จึงจำเป็นต้องใส่ใจคนเล็กๆ ในสังคมตำรวจด้วย!!!
ดังที่กล่าวให้เห็นถึงบริบทแห่งวิถีวัฒนธรรมไทย รวมถึงวิธีคิดส่วนใหญ่ของคนไทยในการใช้รถใช้ถนนที่นิยมความสะดวกสบายมากกว่าการคำนึงถึงความปลอดภัยหรือสิทธิในการใช้รถใช้ถนนสาธารณะร่วมกันของผู้อยู่ร่วมในสังคมแล้วนั้น ดังนั้นภาระงานที่หนักหนาสาหัสเช่นนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำตำรวจจำเป็นต้องวางแผนการทำงานเชิงระบบและเคลื่อนทั้งองคาพยพ
ลองหันกลับมาทบทวนทรัพยากรในการทำงานของตำรวจจราจร อัตรากำลังของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานจริงและที่กำหนดไว้เป็นกรอบอัตรา(เมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว) เงินเดือนและค่าตอบแทนของตำรวจจราจร สวัสดิภาพ สุขภาพและความปลอดภัยของตำรวจจราจร และภาพลักษณ์ของตำรวจจราจรในสายตาของประชาชนซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อถือศรัทธาในการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายจราจร โปรดทบทวนโดยการทำความเข้าใจตัวเรา(ตำรวจ)และลองทำความเข้าใจตัวเขา(ผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานจราจรของตำรวจ) เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบอย่างถ่องแท้และเปิดใจแล้วก็จะพบความจริงที่สำคัญว่า
ไม่แปลกหรอกที่เราจะพบเห็นการกระทำผิดวินัยของตำรวจจราจรบางนาย!!!
หากไม่ต้องการเห็นตำรวจจราจรรับส่วยต้องปรับแก้ระบบการบริหารงานบุคคลและงบประมาณด้านงานจราจรให้เหมาะสมกับภาระงานและความรับผิดชอบของตำรวจจราจรด้วย
อย่าปล่อยให้ตำรวจต้องไปแสวงหางบประมาณในการทำงานเองอยู่เลย เพราะการทำเช่นนั้นคือการเปิดช่องให้ตำรวจรับส่วยอย่างแท้จริง!!
หากแก้ไขแล้ว ถ้าตำรวจจราจรยังไม่รักดี จะเอาไว้ทำไม?
แต่ถ้ายังไม่แก้ไขปัญหาให้คนทำงานก็อย่าคาดหวังเกินจากที่ท่านได้ลงทุนเลย!!
การเผยแพร่ภาพการกระทำผิดกฎหมายจราจรของเหล่าบรรดาตำรวจและทหารผ่านสังคมออนไลน์นั้น สะท้อนให้เห็นความจริงที่คนในสังคมไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารประเทศและเหล่าบรรดาผู้นำทางสังคมต่างๆ ไม่สามารถปฏิเสธได้ นั่นคือวัฒนธรรมการยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของคนไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ต่ำจนเข้าข่ายคำเสียดสีที่มักพูดกันว่า "ทำอะไร ตามใจคือไทยแท้”
หากเข้าใจบริบทแห่งวิถีวัฒนธรรมเช่นนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจจราจรไม่ใช่งานหมูๆ ที่จะสำเร็จได้โดยง่าย ดังจะเห็นได้จากการที่เมื่อทหารก้าวเข้ามาเล่นบทบังคับใช้กฎหมายในยุคนี้ ซึ่งแต่เดิมมีแต่เพียงตำรวจเท่านั้นที่เล่นบทการบังคับใช้กฎหมาย ส่งผลให้การถูกจ้องจับผิดมิใช่จำกัดวงอยู่เพียงแค่ตำรวจเท่านั้น หากแต่ทหารก็โดนจ้องจับผิดและต่อต้านด้วยเช่นกัน เรียกว่าไม่ว่าใครหน้าไหนถ้ามาเล่นบทบังคับใช้กฎแล้วจะโดนต่อต้านในรูปแบบต่างๆ เป็นธรรมดา
ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะเป็นข้อสรุปที่ควรเข้าใจตรงกันได้ว่า "การบังคับใช้กฎหมายไม่ใช่ของง่ายและไม่ใช่ยาวิเศษที่จะสามารถใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจราจรของคนไทยได้เช่นเดียวกับที่ต่างประเทศประสบความสำเร็จตามที่บรรดานักวิชาการต่างๆ มักนิยมนำมาใช้เป็นข้ออ้างให้ตำรวจใช้กฎหมายและคาดหวังผลที่สูงเกินจริง”
"ผมแก้ปัญหาให้น้องๆ ตำรวจของผม ถ้าผมไม่ทำอย่างนี้ ตำรวจผู้ปฏิบัติทำงานไม่ได้" พล.ต.อ.วุฒิ ลิปตพัลลภ เล่าถึงการเริ่มต้นงานด้วยการสร้างความมั่นใจแก่ตำรวจจราจรผู้ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ว่านายจะไม่ขอหรือขอยกเว้นค่าปรับจราจรเมื่อตำรวจจราจรออกใบสั่งไปแล้วเหมือนอย่างที่นิยมปฏิบัติกันในห้วงเวลาที่ผ่านมา
"พอตำรวจจราจรออกใบสั่งก็จะโทรมาขอกัน อ้างว่าเคยช่วยสนับสนุนงานตำรวจบ้าง เคยช่วยสนับสนุนงบประมาณให้ตำรวจบ้าง เป็นอย่างนี้ตลอดมา ที่ผ่านมาตำรวจก็พยายามประนีประนอมเรื่อยมา ด้วยเห็นว่าเป็นข้อหาจราจร จนกลายเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาดว่า การทำผิดกฎหมายจราจรตามข้อหาจราจรไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่ขอกันได้ ก็ทำให้ตำรวจชั้นผู้น้อยที่เขาปฏิบัติงานอยู่ตามท้องถนนทำงานลำบากหมดขวัญและกำลังใจ..." นี่คือส่วนหนึ่งของเหตุผลที่มาของคำพูดว่า "ต่อไปนี้ไม่มีการขอเมื่อตำรวจจราจรจับ จับจริง ปรับจริง จริงๆ” นายตำรวจใหญ่กล่าว
ถึงแม้ว่าการสร้างวินัยจราจรจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากวินัยจราจรสะท้อนวินัยชาติ และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมละเมิดวินัยจราจรทั้ง ๕ จอมนั้น ไม่ว่าจะเป็นจอมล้ำ(เส้นที่ระบุให้จอดรถ) จอมปาด จอมขวาง(บริเวณแยกสัญญาณไฟ) จอมย้อน(ศร) และจอมปลอม (แผ่นป้ายทะเบียน) จะเห็นได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่สมควรได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นอย่างยิ่ง แต่ทำไมยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบบางส่วนเมื่อนโยบายนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อบังคับใช้อย่างจริงจัง(ซึ่งไม่ใช่ข้อบังคับใหม่แต่อย่างใด หากแต่ถูกปล่อยปละละเลยตลอดเวลาที่ผ่านมา)
นโยบาย ๕ จอมเป็นนโยบายที่มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากมิได้ส่งผลกระทบเชิงบวก เพียงแค่การทำให้การจราจรมีความคล่องตัวแต่เพียงเท่านั้น หากแต่นโยบาย ๕ จอมยังส่งผลให้คนไทยเกิดสำนึกที่ดีต่อการเคารพสิทธิในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้พื้นที่สาธารณะด้วย เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก หากแต่เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาแบบผิวเผิน หากแต่เป็นการแก้ไขที่แก่นแท้ของปัญหาอุบัติเหตุจราจรที่เรื้อรังของสังคมไทย
เมื่อนายคิดการใหญ่ จึงจำเป็นต้องใส่ใจคนเล็กๆ ในสังคมตำรวจด้วย!!!
ดังที่กล่าวให้เห็นถึงบริบทแห่งวิถีวัฒนธรรมไทย รวมถึงวิธีคิดส่วนใหญ่ของคนไทยในการใช้รถใช้ถนนที่นิยมความสะดวกสบายมากกว่าการคำนึงถึงความปลอดภัยหรือสิทธิในการใช้รถใช้ถนนสาธารณะร่วมกันของผู้อยู่ร่วมในสังคมแล้วนั้น ดังนั้นภาระงานที่หนักหนาสาหัสเช่นนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำตำรวจจำเป็นต้องวางแผนการทำงานเชิงระบบและเคลื่อนทั้งองคาพยพ
ลองหันกลับมาทบทวนทรัพยากรในการทำงานของตำรวจจราจร อัตรากำลังของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานจริงและที่กำหนดไว้เป็นกรอบอัตรา(เมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมากแล้ว) เงินเดือนและค่าตอบแทนของตำรวจจราจร สวัสดิภาพ สุขภาพและความปลอดภัยของตำรวจจราจร และภาพลักษณ์ของตำรวจจราจรในสายตาของประชาชนซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อถือศรัทธาในการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายจราจร โปรดทบทวนโดยการทำความเข้าใจตัวเรา(ตำรวจ)และลองทำความเข้าใจตัวเขา(ผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานจราจรของตำรวจ) เมื่อได้พิจารณาและเปรียบเทียบอย่างถ่องแท้และเปิดใจแล้วก็จะพบความจริงที่สำคัญว่า
ไม่แปลกหรอกที่เราจะพบเห็นการกระทำผิดวินัยของตำรวจจราจรบางนาย!!!
หากไม่ต้องการเห็นตำรวจจราจรรับส่วยต้องปรับแก้ระบบการบริหารงานบุคคลและงบประมาณด้านงานจราจรให้เหมาะสมกับภาระงานและความรับผิดชอบของตำรวจจราจรด้วย
อย่าปล่อยให้ตำรวจต้องไปแสวงหางบประมาณในการทำงานเองอยู่เลย เพราะการทำเช่นนั้นคือการเปิดช่องให้ตำรวจรับส่วยอย่างแท้จริง!!
หากแก้ไขแล้ว ถ้าตำรวจจราจรยังไม่รักดี จะเอาไว้ทำไม?
แต่ถ้ายังไม่แก้ไขปัญหาให้คนทำงานก็อย่าคาดหวังเกินจากที่ท่านได้ลงทุนเลย!!