วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ตรวจหน่วยบริการประชาชนสายตะวันออก (๑๓ มกราคม ๒๕๕๔)

วันนี้ตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น.เป็นต้นไปผมพร้อมกับ ร.ต.ท.เกรียงศักดิ์ มณีจันสุข รอง สวป.ออกตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำหน่วยบริการประชาชน (ตู้ยาม) สายตะวันออกดังนี้

หน่วยบริการประชาชนตำบลดอยงามพบ ด.ต.บุญรัตน์ ชัยเนตร และ ด.ต.พิภพ เื่ขื่อนแก้ว อยู่ปฏิบัติหน้าที่

















หน่วยบริการประชาชนตำบลทานตะวันพบ ด.ต.ณรงค์ อุดเอ้ย อยู่ปฏิบัติหน้าที่

















หน่วยบริการประชาชนตำบลเวียงห้าวพบ ด.ต.สัญญา วรรณะ อยู่ปฏิบัติหน้าที่้
















หน่วยบริการประชาชนตำบลหัวง้มพบ ด.ต.นพพร จันต๊ะแก้ว อยู่ปฏิบัติหน้าที่โดยมีพี่น้องสายตรวจอาสาร่วมปฏิบัติด้วยประมาณ ๕๐ คนเนื่องจากช่วงเวลานั้นมีการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอพานที่โรงเรียนป่าแดงวิทยาซึ่งอยู่ติดกับหน่วยบริการฯ หัวง้ม














ในการตรวจครั้งนี้เป็นการติดตามผลการดำเนินการ,ปัญหา,อุึปสรรค,ข้อขัดข้องและวิธีการแก้ไขปัญหาในโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนตามนโยบายเร่งด่วน ๖ เดือนแรกของสำนักงานตำรวจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบริการประชาชนหรือตู้ยามซึ่งพบว่าทั้ง ๔ แห่งนั้นได้ดำเนินการและจัดทำรวมถึงพัฒนาปรับปรุงตามนโยบายเกือบครบถ้วนแล้ว ซึ่งผมได้ให้คำแนะนำในบางส่วนรวมถึงแจ้งว่าในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องมีประจำหน่วยบริการฯ ที่เกินขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดำเนินการประสานหรือจัดหามาให้ในโอกาสต่อไป

อนึ่ง การดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกัีบหน่วยบริการประชาชนหรือตู้ยามนั้นมีดังนี้

แนวทางการปฏิบัติในการพัฒนา/ปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อม เช่น สถานีตำรวจ และจุดบริการประชาชน (ตู้ยามทุกประเภท, จุดบริการประชาชนประจำชุมชน และตู้ยามสายตรวจประจำชุมชน/ตำบล) เป็นต้น

เป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อมในการให้บริการแก่ประชาชนทุกจุดซึ่งเป็นด่านแรกที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ว่าจะเป็นสถานีตำรวจ, ตู้ยามทุกประเภท, จุดตรวจหรือตู้ยาม, สายตรวจประจำตำบล และจุดบริการประชาชนประจำชุมชน เป็นต้น ต้องเร่งรัด พัฒนา ปรับปรุง ตามนโยบายเร่งด่วน ๖ เดือน ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และพร้อมให้ “บริการดุจญาติ พิทักษ์ราษฎร์ดุจครอบครัว”





จุดบริการประชาชน (ตู้ยามทุกประเภท จุดบริการประชาชนประจำชุมชน และตู้ยามสายตรวจประจำชุมชน/ตำบล เป็นต้น)

ในการปรับปรุงตู้ยามให้คงลักษณะเดิมของตู้ยามไว้ แต่ให้ปรับปรุงในด้านของสภาพของตู้ยามโดยซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง พร้อมใช้งาน ปรับปรุงลักษณะตู้ยามให้เป็นพื้นที่คุณภาพ ดังนี้

ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายนอกตู้ยาม

(๑) จัดให้มีป้ายแสดงชื่อ เลขรหัสตู้ยาม พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ประจำตู้ยาม และสถานีตำรวจต้นสังกัด ติดป้ายเป็นแนวขวางให้เห็นเด่นชัด

(๒) จัดให้มีพื้นที่จอดรถสำหรับผู้มาติดต่อราชการหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำตู้ยามและจัดให้มีห้องน้ำไว้บริการประชาชน

(๓) จัดให้มีสวนภูมิทัศน์ให้ดูร่มรื่นตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่นั้นๆ

(๔) จัดให้มีแผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่สำคัญและเส้นทางต่างๆ ในพื้นที่

(๕) ด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสม





จัดระเบียบภายในตู้ยาม โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานให้ชัดเจนเหมาะสม จัดวางอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร เอกสารราชการต่างๆ ให้เป็นสัดส่วนเป็นระเบียบ เรียบร้อย


หน้าที่และการปฏิบัติเพื่อให้ตู้ยามเป็นศูนย์ประสานงานชุมชน


โดยในพื้นที่ที่ตู้ยามรับผิดชอบให้มีการตั้งคณะกรรมการชุมชนขึ้น โดยมีตัวแทนจากภาคเอกชนและตำรวจมาร่วมทำงาน โดยหลักการคือให้ตู้ยามที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เป็นศูนย์ประสานงานชุมชนของพื้นที่เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างชุมชนและสถานีตำรวจในพื้นที่


สัญญาประชาคมการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจประจำตู้ยาม (ให้ติดไว้ที่บริเวณตู้ยามทุกตู้) และให้มีการสุ่มตรวจในทุกระดับ (หน.สถานี., บก., บช. และ จต.)

(๑) ตำรวจประจำตู้ยามต้องมีกิริยา วาจาสุภาพ อ่อนโยน เป็นมิตรกับประชาชน และผู้มาติดต่อราชการ และมีบริการด้วยความเที่ยงตรง และเป็นธรรม

(๒) ตำรวจประจำตู้ยาม และตำรวจสำรองประจำตู้ยามต้องอยู่ประจำตู้ยามโดยไม่ออกไปพ้นบริเวณตู้ยามโดยไม่มีความจำเป็น เพื่อสามารถบริการประชาชนได้ตลอดเวลา

(๓) ตำรวจประจำตู้ยามต้องหมั่นรักษาความสะอาดของตู้ยามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดความสกปรก รกรุงรัง ที่ตู้ยามและบริเวณตู้ยาม

(๔) ตำรวจประจำตู้ยามต้องแต่งกายให้เรียบร้อย ไม่ควรถอดเครื่องแบบหรือ แต่งกายไม่เรียบร้อยในเวลาปฏิบัติหน้าที่

(๕) ตำรวจประจำตู้ยามต้องดูแลความเรียบร้อยภายในตู้ยามและไม่ควรอนุญาตให้ผู้อื่นเข้าไปในตู้ยามโดยไม่จำเป็น เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีหน้าที่มาตรวจ

(๖) ตำรวจประจำตู้ยามต้องให้บริการด้วยความรวดเร็ว ชัดเจน โปร่งใส โดยไม่ทำให้ประชาชนเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

(๗) ตำรวจประจำตู้ยาม ต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมกับที่จะเผชิญเหตุการณ์ทุกขณะ จึงต้องใช้ความสังเกตและไหวพริบอยู่เสมอ

(๘) ตำรวจประจำตู้ยาม ต้องรักษาสิ่งของและอุปกรณ์ประจำตู้ยาม และมิให้นำสิ่งของหรือเครื่องอุปกรณ์นอกจากที่ปรากฏในสิ่งของประจำตู้ยามเข้าไปไว้ในตู้ยามเป็นอันขาด

การตรวจตราควบคุมตำรวจประจำตู้ยาม

การตรวจตราควบคุมตำรวจประจำตู้ยามนั้นให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ซึ่งตู้ยามประจำอยู่มีหน้าที่ตรวจตรา ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจประจำตู้ยามเวลาไปตรวจตู้ยาม ให้ลงรายการตรวจและลงชื่อไว้ในสมุดตรวจประจำตู้ยามทุกครั้ง แล้วเสนอผลการตรวจให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบตามระเบียบ




(ภาพด้านล่้างเป็นการพบปะัพี่น้องประชาชนที่ตลาดในหมู่บ้านในเขตตำบลหัวง้มก่อนที่ผมจะเดินทางไปตรวจหน่วยบริการประชาชนตำบลหัวง้ม)




(ภาพด้านล่างเป็นช่วงที่ผมไปพบปะนักเรียนขยายโอกาสอำเภอพานซึ่งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น ณ โรงเรียนป่าแดงวิทยา ตำบลหัวง้ม ภายหลังเสร็จสิ้นการตรวจหน่วยบริการประชาชนตำบลหัีวง้มแล้ว)







<< ภาพประกอบทั้งหมด (๑๔๘ ภาพ) >>


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น