วันนี้เวลาประมาณ ๑๕.๕๐ น.ผมเรียกประชุมเจ้าหน้าที่สายตรวจรถจักรยานยนต์ผลัดที่จะปฏิบัติ หน้าที่ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐-๒๔.๐๐ น.เพื่อชี้แจงและมอบหมายภารกิจก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์ปฏิบัติการสายตรวจ โดยก่อนชี้แจงและมอบหมายภารกิจได้ตรวจสอบความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในเรื่องเครื่องแต่งกาย,อาวุธปืนประจำกาย,อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายตรวจและยาน พาหนะแล้วพบว่าทุกความมีความพร้อมเป็นอย่างดี
เจ้าหน้าที่ผลัดนี้ประกอบด้วย
๑. ด.ต.ดำรัส ปาสำลี
๒. ด.ต.ณรงค์เดช สันติวงค์
๓. ด.ต.สอนวุฒิ บุญสูง
๔. ด.ต.องอาจ นันตา
กา่รประชุมครั้งนี้ได้แจ้งภารกิจและเรื่องต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่ทราบดังนี้
๑. สภ.พานมีคำสั่งที่ ๐๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกสายงานตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนซึ่งประกอบด้วยสายงานด้านการบริหารและบริการทั่วไป,ด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา,ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและด้านการควบคุมและจัดการจราจรดำเนินการให้มีการประัชุมเชิงปฏิบัติการหรือการประชุมเพื่อระดมสมองร่วมกันแก้ไขปัญหาในการให้บริการตามพันธะสัญญา "บริการดุจญาติ พิทักษ์ราษฎร์ดุจครอบครัว" สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง โดยให้นายตำรวจหัวหน้าสายงานจัดทำคำสั่งหรือหนังสือสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในสายงานเข้าร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการให้บริการและการดำเนินการอื่นๆ และรายงานผลการดำเนินการให้ ผกก.สภ.พานทราบพร้อมแนวทางในการแก้ไขปัญหาของแต่ละงาน
๒. เจ้าหน้าที่สายตรวจนั้นจัดอยู่ในสายงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งมีตัวชี้วัดและการดำเนินการต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ จึงขอแจ้งให้ทราบเบื้องต้นก่อน สำหรับการประชุมจะมีเมื่อใดจะกำหนดอีกครั้งหนึ่ง
๓. ให้ช่วยกันสืบสวนหาข่าวสารข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆ ในการกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลลที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคมหรือพี่น้องประชาชนตามหัวข้อที่กำหนดไม่ว่าจะในช่วงการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตามแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบเมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้นหรือมีข้อมูลสำคัญๆ
๔. เน้นย้ำการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วน ๖ เดือนแรกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพันธะสัญญา "บริการดุจญาติ พิทักษ์ราษฎร์ดุจครอบครั" อย่างเคร่งครัด เช่น
(๑) ออกตรวจ หยุดทักทาย และสอบถามความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เช่น “สวัสดีครับ มีอะไรให้ช่วยเหลือไหมครับ” วันนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ เป็นต้น
(๒) การระงับเหตุหรือจับกุม ต้องแสดงท่าทีที่เป็นมิตร พูดจาสนทนาอย่างประทับใจ แสดงความบริสุทธิ์ใจ และอธิบายข้อกฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าใจแนวทางการปฏิบัติอย่างชัดเจน
(๓) ไม่ชี้นิ้วสั่งการหรือกรรโชกโฮกฮากกับผู้คนทั่วไป ต้องปฏิบัติอย่างนิ่มนวลกับทุกคนอย่างเสมอภาคกัน
(๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง โดยไม่สร้างขั้นตอนการปฏิบัติให้มากเกินความจำเป็นให้สมกับคำว่า “ทำงานว่องไวใส่ใจประชาชน”
๕. ขณะปฏิบัติหน้าที่หากมีการกระทำผิดหรือสิ่งใดที่น่าสนใจให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบทันที
เจ้าหน้าที่รับทราบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น