วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

สุรากับอุบัติเหตุ (๖ เมษายน ๒๕๕๖)

สวัสดีทุกท่าน

วันนี้วันเสาร์แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีุมะเส็ง รัตนโกสินทรศก ๒๓๒ ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๒๕๕๖ ปีซึ่งเป็นวันจักรีและวันหยุดสำหรับหลายๆ ท่าน หากจะเดินทางไปไหนมาไหนขอให้ระมัดระวังกันหน่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รถใช้ถนนครับ
ใกล้จะถึงเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๕๖ แล้ว ช่วงนั้นหลายคนคงจะมีโอกาสเดินทางไปไหนมาไหนด้วยการใช้ยวดยานพาหนะกันเป็นจำนวนมาก แล้วก็ทุกๆ ปีที่ผ่านมาอุบัติเหตุเกิดขึ้นเยอะมากซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุหลักๆ ที่ผมพบมาในประสบการณ์การทำงานมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขับรถขณะเมาสุราเสียมากกว่า แต่ละปีพี่น้องต้องสังเวยชีวิตไปหลายศพ บางคนก็พิกลพิการไปจนตลอดชีัวิตเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศที่จะถึงนี้วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวที่เกี่ยวข้ิองมาเล่าให้ฟังกันเรื่อง ๑ นั่นก็คือ "สุรากับอุบัติเหตุ" ครับพี่น้อง เรื่องราวเป็นอย่างไรตามผมมาเลยครับ
สุรา เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังนี้
อุบัติเหตุจราจร ประมาณ ๕๐% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด
อุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม ประมาณ ๔๐% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด
อุบัติเหตุจมน้ำ ประมาณ ๓๘% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด
อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ประมาณ ๕๓-๖๔ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด
อุบัติเหตุตกจากที่สูง ประมาณ ๑๗-๓๕% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด


สุรากับอุบัติเหตุจราจร
สถานการณ์อุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเฉลี่ยถึง ๒ คน/ชั่วโมงและเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง ๑๐๖,๓๖๗ล้านบาท ซึ่งนับวันแนวโน้มสถิติเกี่ยวกับเรื่องนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาอุบัติเหตุจราจรที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สาเหตุสำคัญซึ่งมากกว่าร้อยละ ๕๐ เกิดจากพฤติการณ์การขับขี่รถขณะเมาสุรา

ความสัมพันธ์ของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร 
ระดับแอลกอฮอล์ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา

๒๐ ใกล้เคียงกับคนที่ไม่ดื่มสุรา
๕๐ ๒ เท่า
๘๐ ๓ เท่า
๑๐๐ ๖ เท่า
๑๕๐ ๔๐ เท่า

กฎหมายห้ามผู้ขับขี่เมาสุรา
ประเทศไทยได้กำหนดมาตรการในการตรวจจับผู้ขับขี่ที่เมาสุราโดยถือเอาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เกิน
 ๕๐มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุราและมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา ๔๓(๒) (ที่แก้ไขแล้ว)

ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับทั้งปรับ
การตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด
ในปัจจุบันมีวิธีตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ ๓ วิธีหลักๆ คือ
๑. ทางลมหายใจ โดยการเป่าลมจากปากเข้าไปในเครื่องตรวจ ตัวเลขที่ขึ้นอยู่บนเครื่องจะบอกระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
๒. ทางเลือดโดยตรง
๓. ทางปัสสาวะ

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ขับขี่รถเรื่องการดื่มสุรา
ไม่ควรดื่มสุราหากต้องขับขี่รถ
หากดื่มสุราไม่ควรขับรถเอง ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มสุราขับไปส่ง
ใช้บริการรถแท็กซี่เมื่อรู้สึกเมา
สำหรับผู้ขับขี่ที่หลีกเลี่ยงการดื่มสุราไม่ได้ ควรศึกษาเกณฑ์การดื่มอย่างปลอดภัยโดยในชั่วโมงแรกก่อนขับรถสามารถดื่มได้ในปริมาณดังนี้
สุรา ๖ แก้ว ผสมสุราแก้วละ ๑ ฝา (ฝาขวดสุรา)
เบียร์ปกติ ๒ กระป๋องหรือ ๒ ขวดเล็ก
ไลท์เบียร์ ๔ กระป๋องหรือ ๔ ขวดเล็ก
ไวน์ ๒ แก้ว (แก้วละ ๘๐ ซีซี)
สำหรับชั่วโมงต่อไปดื่มได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่กำหนดนี้เท่านั้น หากดื่มในปริมาณมากกว่านี้จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (มากกว่า ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) 

ก็ขออนุญาตฝากเรื่องนี้ไว้เป็นอีกเรื่อง ๑ นะครับ
ขอบคุณครับผม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น