ขอทุก ชีวี สุขแสน
ไร้ทุกข์ เป็นสุข ทุกแดน
ทั่วทั้ง แว่นแคว้น แดนไทย
วันนี้เป็นวันปากปีซึ่งตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายนของทุกปี วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่ จัดว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในเทศกาลปีใหม่เมือง ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะมารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว
ความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันปากปี ชาวล้านนาจะกิน “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปีของคนล้านนา และในตอนเย็นในบางพื้นที่(บางพื้นที่อาจไม่กระทำ)ยังจะมี ต้าวตังสี่หรือท้าวทั้งสี่(เทพทั้งสี่พระองค์อาจหมายถึงพระพรหมผู้มีสี่หน้า) ซึ่งมีลักษณะเป็นเสามีไม้ขัดกันเป็นสี่มุม แล้วแต่ละมุมจะมีใบตองที่ใส่เครื่องบูชาทั้งสี่ด้านหรือเรียกว่า ควัก ในทางภาษาล้านนา รวมทั้งที่ด้านล่างบนพื้นดินก็จะมีอีกหนึ่งอันเพื่อบูชาพระแม่ธรณี เชื่อว่าจะเกิดสิริมงคต่อบ้าน การกระทำนี้จะทำกันเป็น หม้ง หรือแปลว่า บ้านที่อาศัยร่วมกันใกล้เคียงที่ไม่มีรั้วกั้นเหมือนเป็นวงเดียวกัน ถ้ามีรั้วกั้นจะถือว่าอีก หม้ง แต่ละหม้งก็จะมีต้าวตังสี่อยู่ ผู้ที่กระทำพิธีภาคเหนือเรียก ปู๋จ๋านหรือมัคทายกนั้นเองและในวันนี้จะมีการบูชาเทียนปีใหม่ในช่วงค่ำขึ้นมาอีกเวลา จะเป็นพิธีกรรมในส่วนของครอบครัวที่จะกระทำกันในบ้านเรือนของตน พิธีกรรมดังกล่าวคือ การจุดเทียนบูชาบ้านเรือนหรือคนล้านนาเรียกว่า ต๋ามเตียนปู่จาพระเจ้า โดยเทียนดังกล่าวจะมีอยู่สามเล่ม คือ เทียนบูชาลดเคราะห์ เทียนบูชาสืบชะตา และเทียนบูชาโชคลาภ โดยมีการปลุกเสกโดยพระหรือมัคทายก(ปู่จ๋าน)บางท้องถิ่นจะมีการ "ต๋ามขี้สายเท่าอายุ" (การจุดเส้นไฟเท่าจำนวนอายุ) ขี้สายหรือเส้นไฟนี้จะทำมาจากเส้นด้ายพื้นเมือง นำไปชุบขี้ผึ้งหรือไขมัน หรือน้ำมันมะพร้าว ปัจจุบันนิยมชุบน้ำมันพืชที่ใช้ในครัวเพราะง่ายดี พอค่ำลง ก็จะเอาขี้สายเท่าอายุไปจุดบูชาที่ลานพระธาตุเจดีย์ในวัด หรืออาจจุดที่ลานทรายหน้าพระวิหาร ตรงที่สายตาพระเจ้าตก หรืออาจจุดที่ลานบ้านของตัวเองก็ได้ การต๋ามขี้สายเท่าอายุนี้ บางท่านก็ว่า เป็นการเผาอายุสังขารเก่าให้พ้นไป บางท่านก็ว่าเป็นการเผาเสนียดจัญไร อุบาทว์ อาถรรพณ์ ขึดขวงต่างๆ ที่ติดตัวเรามาให้หมดสิ้นไป บางท้องถิ่นก็ให้เพิ่มขี้สายไปอีกเส้นหนึ่ง ถือว่าเป็นการสืบชะตาตัวเรา ให้รุ่งเรืองรุ่งโรจน์ประดุจเปลวไฟในปีใหม่ที่มาถึง
ความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันปากปี ชาวล้านนาจะกิน “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปีของคนล้านนา และในตอนเย็นในบางพื้นที่(บางพื้นที่อาจไม่กระทำ)ยังจะมี ต้าวตังสี่หรือท้าวทั้งสี่(เทพทั้งสี่พระองค์อาจหมายถึงพระพรหมผู้มีสี่หน้า) ซึ่งมีลักษณะเป็นเสามีไม้ขัดกันเป็นสี่มุม แล้วแต่ละมุมจะมีใบตองที่ใส่เครื่องบูชาทั้งสี่ด้านหรือเรียกว่า ควัก ในทางภาษาล้านนา รวมทั้งที่ด้านล่างบนพื้นดินก็จะมีอีกหนึ่งอันเพื่อบูชาพระแม่ธรณี เชื่อว่าจะเกิดสิริมงคต่อบ้าน การกระทำนี้จะทำกันเป็น หม้ง หรือแปลว่า บ้านที่อาศัยร่วมกันใกล้เคียงที่ไม่มีรั้วกั้นเหมือนเป็นวงเดียวกัน ถ้ามีรั้วกั้นจะถือว่าอีก หม้ง แต่ละหม้งก็จะมีต้าวตังสี่อยู่ ผู้ที่กระทำพิธีภาคเหนือเรียก ปู๋จ๋านหรือมัคทายกนั้นเองและในวันนี้จะมีการบูชาเทียนปีใหม่ในช่วงค่ำขึ้นมาอีกเวลา จะเป็นพิธีกรรมในส่วนของครอบครัวที่จะกระทำกันในบ้านเรือนของตน พิธีกรรมดังกล่าวคือ การจุดเทียนบูชาบ้านเรือนหรือคนล้านนาเรียกว่า ต๋ามเตียนปู่จาพระเจ้า โดยเทียนดังกล่าวจะมีอยู่สามเล่ม คือ เทียนบูชาลดเคราะห์ เทียนบูชาสืบชะตา และเทียนบูชาโชคลาภ โดยมีการปลุกเสกโดยพระหรือมัคทายก(ปู่จ๋าน)บางท้องถิ่นจะมีการ "ต๋ามขี้สายเท่าอายุ" (การจุดเส้นไฟเท่าจำนวนอายุ) ขี้สายหรือเส้นไฟนี้จะทำมาจากเส้นด้ายพื้นเมือง นำไปชุบขี้ผึ้งหรือไขมัน หรือน้ำมันมะพร้าว ปัจจุบันนิยมชุบน้ำมันพืชที่ใช้ในครัวเพราะง่ายดี พอค่ำลง ก็จะเอาขี้สายเท่าอายุไปจุดบูชาที่ลานพระธาตุเจดีย์ในวัด หรืออาจจุดที่ลานทรายหน้าพระวิหาร ตรงที่สายตาพระเจ้าตก หรืออาจจุดที่ลานบ้านของตัวเองก็ได้ การต๋ามขี้สายเท่าอายุนี้ บางท่านก็ว่า เป็นการเผาอายุสังขารเก่าให้พ้นไป บางท่านก็ว่าเป็นการเผาเสนียดจัญไร อุบาทว์ อาถรรพณ์ ขึดขวงต่างๆ ที่ติดตัวเรามาให้หมดสิ้นไป บางท้องถิ่นก็ให้เพิ่มขี้สายไปอีกเส้นหนึ่ง ถือว่าเป็นการสืบชะตาตัวเรา ให้รุ่งเรืองรุ่งโรจน์ประดุจเปลวไฟในปีใหม่ที่มาถึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น