คน
คือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร...นี่คือแก่นแกนของแนวความคิดที่เชื่อว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้นผู้นำจะต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีกำลังพล ๒ แสนกว่านาย มีภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติและสังคม คือการรักษาความสงบภายใน ดังนั้น ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องแสดงบทบาทของนักบริหารงานบุคคลอย่างมืออาชีพร่วมกับคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ กำกับ ดูแลตรวจสอบและแนะนำเพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดย ก.ตร.นี้มีทั้งคณะกรรมการที่เป็นตำรวจและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่ตำรวจ ดังนั้น การแต่งตั้งผู้นำตำรวจระดับนายพลหากไม่มีประสิทธิภาพจึงเป็นความรับผิดชอบของคนกลุ่มนี้!!! การที่ประชาชนได้ตำรวจที่ไร้ประสิทธิภาพมาดูแลก็เป็นผลงานของคนกลุ่มนี้เช่นกัน !!
การขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเคยเป็นความหวังที่ตำรวจส่วนใหญ่รอคอยในอดีต ก่อนหน้าที่จะปรับโครงสร้างใหญ่ก่อนยกระดับเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยหวังว่าระบบคุณธรรมในการทำงานจะเกิดขึ้นในโลกของตำรวจซึ่งจะทำให้ตำรวจที่ทุ่มเทในการทำงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี เพื่อเป็นตำรวจที่ดี แต่เมื่อพิจารณาจากจำนวนการฟ้องศาลปกครองของตำรวจ รวมถึงพฤติกรรมการวิ่งข้ามหัวรุ่นพี่(ที่ตั้งใจทำงาน)โดยไปอิงแอบสวามิภักดิ์นักการเมืองอย่างสยบยอมประหนึ่งว่าเหล่าบรรดานักการเมืองผู้มีอำนาจนั้นคือผู้บังคับบัญชาที่แท้จริงโดยไม่สนใจไยดีผู้นำตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา หรือแม้แต่การใช้เงินในรูปแบบวิธีการต่างๆ ซื้อตำแหน่งกันอย่างเปิดเผยแต่แยบยลอย่างไม่ละอายใจ ล้วนแสดงให้เห็นรูปธรรมของความล้มเหลวในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบทบาทของ ก.ตร.อย่างปฏิเสธไม่ได้
เราจะยอมปล่อยให้วัฒนธรรมเช่นนี้ดำรงอยู่ต่อไปและฝังรากลึกโดยยอมจำนน ทั้งๆ ที่รู้ว่า บรรดาตำรวจนักวิ่ง โดยมิสนใจเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์...หากเป็นเช่นนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ? อย่าลืมว่าเมื่อมีการลงทุนไปแล้วก็ต้องถอนทุนคืนด้วยวิธีการต่างๆ และในเมื่อตำรวจปฏิบัติหน้าที่อยู่กับภารกิจการบังคับใช้กฎหมาย การถอนทุนคืนจึงย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายที่บิดเบี้ยวอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้?!?
พล.ต.อ.อดุลย์
แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี
รวมถึง ก.ตร. ย่อมมีความเข้าใจในปรากฏการณ์และผลกระทบดังกล่าวเป็นอย่างดี ในขณะที่
ทุกคนต่างยอมรับว่า พล.ต.อ.อดุลย์
คือผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการสร้างภาวะผู้นำและการพัฒนาระบบงานตำรวจโดยใช้
ระบบศูนย์ปฏิบัติการตำรวจ(ศปก.)เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน
มุ่งเน้นการสั่งการ กำกับ ติดตามงานให้เป็นไปตามภารกิจ เป้าหมาย
นโยบายและข้อสั่งการต่างๆ ซึ่งจะทำให้บรรลุประสิทธิผลในงาน
แต่หากผู้ที่ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท จนทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบริหารงานบุคคล หรือใช้ภาษาง่ายๆ ว่า "คนทำงานไม่ได้ดี คนได้ดีไม่ได้ทำงาน(ให้องค์กรและประชาชน)" แต่คือคนที่วิ่งเต้นเข้าหาขั้วอำนาจ หรือใช้เงินแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งนั้น ต่อให้ระบบงานมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ไม่สามารถจูงใจให้คนทำงานได้อีกต่อไป การใช้แต่พระเดชในการลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติงานตามระบบ แต่ไม่สามารถให้พระคุณสำหรับผู้ที่ทุ่มเทปฏิบัติงาน อีกทั้งมีข้อยกเว้นในการให้พระคุณ(ให้รางวัล)แก่คนบางกลุ่ม บางพวกเป็นระยะๆ นั้นกำลังสร้างความไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจแก่ผู้นำที่เคยเป็นความหวังว่าจะเป็นผู้นำที่จะนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีซึ่งมีบทบาทเป็นประธานก.ตร. ต้องให้อำนาจเต็มในการบริหารงานบุคคลแก่ ผบ.ตร.ด้วย
ตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการ ผู้บังคับการ และผู้กำกับการสถานีตำรวจเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานตำรวจ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีกำลังพล ๒ แสนกว่านาย มีภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศชาติและสังคม คือการรักษาความสงบภายใน ดังนั้น ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องแสดงบทบาทของนักบริหารงานบุคคลอย่างมืออาชีพร่วมกับคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ กำกับ ดูแลตรวจสอบและแนะนำเพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดย ก.ตร.นี้มีทั้งคณะกรรมการที่เป็นตำรวจและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่ตำรวจ ดังนั้น การแต่งตั้งผู้นำตำรวจระดับนายพลหากไม่มีประสิทธิภาพจึงเป็นความรับผิดชอบของคนกลุ่มนี้!!! การที่ประชาชนได้ตำรวจที่ไร้ประสิทธิภาพมาดูแลก็เป็นผลงานของคนกลุ่มนี้เช่นกัน !!
การขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเคยเป็นความหวังที่ตำรวจส่วนใหญ่รอคอยในอดีต ก่อนหน้าที่จะปรับโครงสร้างใหญ่ก่อนยกระดับเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยหวังว่าระบบคุณธรรมในการทำงานจะเกิดขึ้นในโลกของตำรวจซึ่งจะทำให้ตำรวจที่ทุ่มเทในการทำงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี เพื่อเป็นตำรวจที่ดี แต่เมื่อพิจารณาจากจำนวนการฟ้องศาลปกครองของตำรวจ รวมถึงพฤติกรรมการวิ่งข้ามหัวรุ่นพี่(ที่ตั้งใจทำงาน)โดยไปอิงแอบสวามิภักดิ์นักการเมืองอย่างสยบยอมประหนึ่งว่าเหล่าบรรดานักการเมืองผู้มีอำนาจนั้นคือผู้บังคับบัญชาที่แท้จริงโดยไม่สนใจไยดีผู้นำตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา หรือแม้แต่การใช้เงินในรูปแบบวิธีการต่างๆ ซื้อตำแหน่งกันอย่างเปิดเผยแต่แยบยลอย่างไม่ละอายใจ ล้วนแสดงให้เห็นรูปธรรมของความล้มเหลวในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบทบาทของ ก.ตร.อย่างปฏิเสธไม่ได้
เราจะยอมปล่อยให้วัฒนธรรมเช่นนี้ดำรงอยู่ต่อไปและฝังรากลึกโดยยอมจำนน ทั้งๆ ที่รู้ว่า บรรดาตำรวจนักวิ่ง โดยมิสนใจเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์...หากเป็นเช่นนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ? อย่าลืมว่าเมื่อมีการลงทุนไปแล้วก็ต้องถอนทุนคืนด้วยวิธีการต่างๆ และในเมื่อตำรวจปฏิบัติหน้าที่อยู่กับภารกิจการบังคับใช้กฎหมาย การถอนทุนคืนจึงย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายที่บิดเบี้ยวอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้?!?
พล.ต.อ.
แต่หากผู้ที่ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท จนทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบริหารงานบุคคล หรือใช้ภาษาง่ายๆ ว่า "คนทำงานไม่ได้ดี คนได้ดีไม่ได้ทำงาน(ให้องค์กรและประชาชน)" แต่คือคนที่วิ่งเต้นเข้าหาขั้วอำนาจ หรือใช้เงินแลกเปลี่ยนกับตำแหน่งนั้น ต่อให้ระบบงานมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ไม่สามารถจูงใจให้คนทำงานได้อีกต่อไป การใช้แต่พระเดชในการลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติงานตามระบบ แต่ไม่สามารถให้พระคุณสำหรับผู้ที่ทุ่มเทปฏิบัติงาน อีกทั้งมีข้อยกเว้นในการให้พระคุณ(ให้รางวัล)แก่คนบางกลุ่ม บางพวกเป็นระยะๆ นั้นกำลังสร้างความไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจแก่ผู้นำที่เคยเป็นความหวังว่าจะเป็นผู้นำที่จะนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีซึ่งมีบทบาทเป็นประธานก.ตร. ต้องให้อำนาจเต็มในการบริหารงานบุคคลแก่ ผบ.ตร.ด้วย
ตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการ ผู้บังคับการ และผู้กำกับการสถานีตำรวจเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานตำรวจ
การแต่งตั้งผู้บัญชาการในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นรูปธรรมอย่างชัดเจนว่า
นายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการ
ก.ตร.ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานบุคคลในโลกของตำรวจอย่างจริงใจ
เพราะหากให้เหตุผลว่ากลุ่มบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการในครั้งนี้มีความเหมาะสมแล้วก็แสดงว่า
บรรดานายพลตำรวจในลำดับอาวุโสที่อยู่ก่อนหน้าจำนวนมากนั้นไร้ฝีมือ ขาดศักยภาพ
หรือไม่มีผลงานที่เหมาะสม
ซึ่งขัดกับเสียงจากบรรดาไพร่พลจำนวนมากที่ประหลาดใจกับการแต่งตั้งในครั้งนี้
และเกิดคำถามมากมาย ? ไพร่พลต่างพากันรู้สึกว่าการแต่งตั้งครั้งนี้เป็นสัญญาณเตือนและตอกย้ำว่า
"อย่าทำงานเลย...วิ่งและหาเงินตุนไว้จะเห็นผลว่าจะก้าวหน้ากว่าทำงาน(เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข)ในยามนี้"
ดังนั้น ขอเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยอาชญากรรมด้วยตนเองอย่างเข้มแข็ง เพราะกำลังตำรวจจะมุ่งเน้นทำหน้าที่สกัดและควบคุมฝูงชน และวิ่ง วิ่ง วิ่ง....เพื่อให้ตัวเองรอดก่อนตามสัญชาตญาณของมนุษย์!!!
อย่างนี้อย่ามาว่าไพร่พลเลวให้ช้ำใจ!!!!!
ดังนั้น ขอเตือนให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยอาชญากรรมด้วยตนเองอย่างเข้มแข็ง เพราะกำลังตำรวจจะมุ่งเน้นทำหน้าที่สกัดและควบคุมฝูงชน และวิ่ง วิ่ง วิ่ง....เพื่อให้ตัวเองรอดก่อนตามสัญชาตญาณของมนุษย์!!!
อย่างนี้อย่ามาว่าไพร่พลเลวให้ช้ำใจ!!!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น