"ทำงานให้ขนาดนี้แล้ว ยังไม่ให้ขึ้นคำสั่งนี้ คงมีวิสามัญกันบ้างล่ะ"
ผู้กำกับการพูดหยอกล้อเมื่อถูกตั้งคำถามว่าทำงานอย่างหนักตามที่นาย(ผู้เคยเป็นเพื่อน)บัญชามานั้นจะมีผลให้เจริญก้าวหน้าในอาชีพรับราชการตำรวจหรือไม่?
เพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในโลกของตำรวจนั้น
ถึงแม้ว่าจะมีผลงานที่โดดเด่นและพ่วงท้ายด้วยความสัมพันธ์เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันกับผู้บังคับบัญชาก็มิได้จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับผลการพิจารณาความก้าวหน้าได้หากไม่มีพลังของตั๋วและตังค์ที่เข้มแข็งมากพอ
ถึงแม้ว่าน้ำเสียงและรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้กำกับการจะทำให้ดูเหมือนว่าคำพูดนั้นเป็นเพียง "การล้อเล่น" หากแต่เนื้อหาของคำพูดก็สะท้อนให้เห็น "แก่น" ของที่มาส่วนหนึ่งของความเครียดและความตายในโลกของตำรวจ
ความเครียดที่รุนแรงจนนำไปสู่ความตายของตำรวจไทยที่นอกเหนือจากการโดนคนร้ายฆ่าตายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงแต่ได้รับความสนใจไยดีในการฝึกฝนยุทธวิธีที่น้อยมากแล้วนั้น การฆ่าผู้บังคับบัญชาและการฆ่าตัวตายยังปรากฏบ่อยครั้งขึ้นในโลกของตำรวจจนรัฐบาลควรนำมาทบทวนและเปรียบเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น
ในขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นมุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความสุขในการทำงาน แต่กลุ่มคนที่ถือว่าเป็นปัญญาชนของสังคมอีกทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ในการปกป้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในสังคมไทยกลับกลายเป็นผู้ที่มีความเครียดในการทำงานที่รุนแรงจนถึงขั้นทำร้ายตนเอง (ยังไม่นับรวมกับจำนวนของตำรวจที่มีความเครียดในระดับที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบน มีอาการทางประสาท และอาการทางจิตอาจเรียกง่ายๆ ในภาษาชาวบ้านว่าเครียดจนสติแตก!!!) และยังไม่นับรวมถึงการทำร้ายตัวเองในรูปแบบของการกลายพันธุ์ไปเป็นโจรปล้นธนาคาร การเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติดเป็นต้น
รวมไปถึงการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนคดีที่ลูกน้องฟ้องนายหรือฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อศาลปกครอง
ตายทีก็ตื่นตัวที...แล้วก็ปล่อยให้จางหายไปโดยไม่คิดหาทางป้องกันแก้ไขอย่างจริงจังจนสมควรตั้งคำถามถึงการให้คุณค่าต่อคนกลุ่มนี้...ตำรวจไทยมีคุณค่ามากเพียงใดต่อสังคมไทย?
สังคมไทยและรัฐบาลที่บริหารงานเพื่อประชาชนอยากได้ตำรวจดีๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง (Hardy Personality) มาทำงานพิทักษ์รับใช้ประชาชนหรือไม่? ถ้าตอบว่า "ใช่" ก็สมควรที่จะต้องหาวิธีในการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้ตำรวจเป็นเช่นนั้น...อย่าปล่อยให้ตำรวจมีสภาพไม่แตกต่างจากพนักงานรักษาความปลอดภัย (ยาม) ที่เป็นแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยที่มีอยู่ดาษดื่นในสังคมไทยปัจจุบัน จนคนในสังคมเกิดความไม่มั่นใจว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยหรือว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกันแน่?
S.E.X.บำบัดเป็นวิธีการป้องกันหรือลดความเครียดระดับอ่อนที่ไม่น่าจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสำหรับตำรวจเพราะสาเหตุที่มาของความเครียดในโลกของตำรวจนั้นมีมากกว่าการจะแนะนำให้ป้องกันความเครียดเพียงการนอนหลับให้เพียงพอ (s:sleep) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (e:eat) หรือการออกกำลังกาย (x:exercise) แต่เพียงเท่านั้น
การสืบสวนสอบสวนสาเหตุให้แน่ชัด เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ไขเหตุที่มาของความเครียดในการทำงานที่รุนแรงจนถึงขั้นทำร้ายตัวเองและทำร้ายผู้อื่นเพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางป้องกันแก้ไขเป็นคำสั่งที่ผู้นำตำรวจ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สั่งการให้นายแพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาลตำรวจดำเนินการ (อย่างจริงจัง!!?)
เรื่องนี้มิใช่เรื่องของจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงเท่านั้น เพราะพยานหลักฐานแวดล้อมต่างๆล้วนเกี่ยวข้องกับบริบทการทำงาน ครอบครัว และวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ปรวนแปร ดังนั้น นักจิตวิทยาองค์การ นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวนวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจงที่ถูกต้อง ลึกซึ้งด้วยเพราะความเครียดของตำรวจเกี่ยวข้องกับบริบทการทำงานอย่างแนบแน่น
บริบทในการทำงานของตำรวจมีความกดดันโดยธรรมชาติของงาน และด้วยทุกคนในโลกของตำรวจล้วนตระหนักและเข้าใจในธรรมชาตินี้จึงทำให้บ่อยครั้งที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ จะได้รับคำปลอบใจให้อดทน อดกลั้น...แต่อย่าลืมว่าตำรวจก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา
ตัวอย่างความรู้สึกลึกๆ ที่เกิดจากความพยายามอดทนอดกลั้นในการทำงานแต่พยายามหาทางออกเพื่อคลายความเครียดผ่านบทกลอนที่ส่งต่อกันในโลกของตำรวจ
ตำรวจต้องรับใช้ นั้นใช่แน่
แต่เพียงแค่ คนดี ที่เลือกสรร
ถ้าชั่วชาติ อาชญา ต้องว่ากัน
จงรับทัณฑ์ พิพากษา ไม่พาที...
ข้าเข้ามา พร้อมภักดิ์ ด้วยศักดิ์ศรี
แม้ยศน้อย ด้อยค่า ไม่ราคี
สีกากี มีพลัง ฝังเต็มกาย
ข้ามิได้ แต่งชุด เพื่อหรูหรา
เครื่องแบบข้า ทุกส่วน ล้วนความหมาย
แม้พลั้งพลาด ปราบคนชั่ว จนตัวตาย
ยังฝากลาย เหลือล้ำ ตำรวจไทย !!!
ถึงแม้ว่าน้ำเสียงและรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้กำกับการจะทำให้ดูเหมือนว่าคำพูดนั้นเป็นเพียง "การล้อเล่น" หากแต่เนื้อหาของคำพูดก็สะท้อนให้เห็น "แก่น" ของที่มาส่วนหนึ่งของความเครียดและความตายในโลกของตำรวจ
ความเครียดที่รุนแรงจนนำไปสู่ความตายของตำรวจไทยที่นอกเหนือจากการโดนคนร้ายฆ่าตายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงแต่ได้รับความสนใจไยดีในการฝึกฝนยุทธวิธีที่น้อยมากแล้วนั้น การฆ่าผู้บังคับบัญชาและการฆ่าตัวตายยังปรากฏบ่อยครั้งขึ้นในโลกของตำรวจจนรัฐบาลควรนำมาทบทวนและเปรียบเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น
ในขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นมุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความสุขในการทำงาน แต่กลุ่มคนที่ถือว่าเป็นปัญญาชนของสังคมอีกทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ในการปกป้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในสังคมไทยกลับกลายเป็นผู้ที่มีความเครียดในการทำงานที่รุนแรงจนถึงขั้นทำร้ายตนเอง (ยังไม่นับรวมกับจำนวนของตำรวจที่มีความเครียดในระดับที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบน มีอาการทางประสาท และอาการทางจิตอาจเรียกง่ายๆ ในภาษาชาวบ้านว่าเครียดจนสติแตก!!!) และยังไม่นับรวมถึงการทำร้ายตัวเองในรูปแบบของการกลายพันธุ์ไปเป็นโจรปล้นธนาคาร การเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติดเป็นต้น
รวมไปถึงการเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนคดีที่ลูกน้องฟ้องนายหรือฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อศาลปกครอง
ตายทีก็ตื่นตัวที...แล้วก็ปล่อยให้จางหายไปโดยไม่คิดหาทางป้องกันแก้ไขอย่างจริงจังจนสมควรตั้งคำถามถึงการให้คุณค่าต่อคนกลุ่มนี้...ตำรวจไทยมีคุณค่ามากเพียงใดต่อสังคมไทย?
สังคมไทยและรัฐบาลที่บริหารงานเพื่อประชาชนอยากได้ตำรวจดีๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง (Hardy Personality) มาทำงานพิทักษ์รับใช้ประชาชนหรือไม่? ถ้าตอบว่า "ใช่" ก็สมควรที่จะต้องหาวิธีในการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้ตำรวจเป็นเช่นนั้น...อย่าปล่อยให้ตำรวจมีสภาพไม่แตกต่างจากพนักงานรักษาความปลอดภัย (ยาม) ที่เป็นแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยที่มีอยู่ดาษดื่นในสังคมไทยปัจจุบัน จนคนในสังคมเกิดความไม่มั่นใจว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยหรือว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกันแน่?
S.E.X.บำบัดเป็นวิธีการป้องกันหรือลดความเครียดระดับอ่อนที่ไม่น่าจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสำหรับตำรวจเพราะสาเหตุที่มาของความเครียดในโลกของตำรวจนั้นมีมากกว่าการจะแนะนำให้ป้องกันความเครียดเพียงการนอนหลับให้เพียงพอ (s:sleep) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (e:eat) หรือการออกกำลังกาย (x:exercise) แต่เพียงเท่านั้น
การสืบสวนสอบสวนสาเหตุให้แน่ชัด เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ไขเหตุที่มาของความเครียดในการทำงานที่รุนแรงจนถึงขั้นทำร้ายตัวเองและทำร้ายผู้อื่นเพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางป้องกันแก้ไขเป็นคำสั่งที่ผู้นำตำรวจ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว สั่งการให้นายแพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาลตำรวจดำเนินการ (อย่างจริงจัง!!?)
เรื่องนี้มิใช่เรื่องของจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงเท่านั้น เพราะพยานหลักฐานแวดล้อมต่างๆล้วนเกี่ยวข้องกับบริบทการทำงาน ครอบครัว และวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ปรวนแปร ดังนั้น นักจิตวิทยาองค์การ นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวนวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจงที่ถูกต้อง ลึกซึ้งด้วยเพราะความเครียดของตำรวจเกี่ยวข้องกับบริบทการทำงานอย่างแนบแน่น
บริบทในการทำงานของตำรวจมีความกดดันโดยธรรมชาติของงาน และด้วยทุกคนในโลกของตำรวจล้วนตระหนักและเข้าใจในธรรมชาตินี้จึงทำให้บ่อยครั้งที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ จะได้รับคำปลอบใจให้อดทน อดกลั้น...แต่อย่าลืมว่าตำรวจก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา
ตัวอย่างความรู้สึกลึกๆ ที่เกิดจากความพยายามอดทนอดกลั้นในการทำงานแต่พยายามหาทางออกเพื่อคลายความเครียดผ่านบทกลอนที่ส่งต่อกันในโลกของตำรวจ
แต่เพียงแค่ คนดี ที่เลือกสรร
ถ้าชั่วชาติ อาชญา ต้องว่ากัน
จงรับทัณฑ์ พิพากษา ไม่พาที...
ข้าเข้ามา พร้อมภักดิ์ ด้วยศักดิ์ศรี
แม้ยศน้อย ด้อยค่า ไม่ราคี
สีกากี มีพลัง ฝังเต็มกาย
ข้ามิได้ แต่งชุด เพื่อหรูหรา
เครื่องแบบข้า ทุกส่วน ล้วนความหมาย
แม้พลั้งพลาด ปราบคนชั่ว จนตัวตาย
ยังฝากลาย เหลือล้ำ ตำรวจไทย !!!
ที่่มา : http://goo.gl/1ljumU
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น