ฉายาตำรวจที่สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย
ประกาศออกมาในปีนี้ ไม่น่าจะเป็นที่พอใจมากนัก หากมองในมุมของตำรวจ
เพราะฉายาที่ถูกตั้งขึ้นสะท้อนถึงทัศนะในเชิงลบและจัดอยู่ในระดับแรง!
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในประเด็นการตั้งฉายาในรอบ ๔ ปีที่ผ่านมา
“ยุคสมัยของผม ใหญ่แค่ไหนก็จับ” เป็นวลีเด็ดที่สื่อมวลชนได้มาจากบทสัมภาษณ์ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการจับกุมกรณี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่สิ่งที่ทำให้สื่อมวลชนสนใจความหมายของวลีดังกล่าวมีความลึกซึ้งมากกว่าการคิดเพียงว่าเป็นเฉพาะการทำงานในคดีเท่านั้น
การที่ ผบ.ตร.พยายามที่จะแสดงให้สังคมเห็นว่า ตำรวจมีความพยายามที่จะสร้างความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายผ่านวลีเด็ดดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของ ผบ.ตร.ที่น่าสนใจ ถึงแม้สื่อมวลชน หรือประชาชนในบางส่วนอาจจะยังกังขาในข้อสงสัยว่าตำรวจจะสามารถทำได้จริงหรือ?
ความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยสถานะทางสังคม เศรษฐกิจ หรืออื่นใดก็ตามทุกคนในสังคมต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรฐานเดียวกัน และหากตำรวจสามารถปฏิบัติในลักษณะเช่นนั้นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้ว ย่อมทำให้ทัศนคติที่ประชาชนมีต่อตำรวจเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางที่ ผบ.ตร.ได้แถลงนโยบายการบริหารราชการไว้ในช่วงแรกของการรับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างแน่นอน...ด้วยหวังว่า ตำรวจจะเป็นที่รักของประชาชน
๓ เดือน ที่ผ่านมา อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการทำให้นโยบายที่สำคัญที่จะทำให้ตำรวจผู้ปฏิบัติงานมีความเข้มแข็งและมีจิตใจมุ่งมั่นในการทำงานที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทั้งหมด ตั้งแต่ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการ กองบังคับการ จนถึงผู้กำกับการ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ ที่จะต้องให้ความสำคัญกับความมุ่งมั่นในการดูแลขวัญและกำลังใจแก่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา การสัญญาว่าตำรวจจะต้องอยู่ดีกินดีเพื่อมิให้เกิดการรับสินบนหรือส่วยที่จะส่งผลต่อการอำนวยการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การดูแลเรื่องการฆ่าตัวตายของตำรวจทั้งในเรื่องงานและหนี้สินนั้น ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของปัญหาของตำรวจ
ต้องไม่ลืมว่า องค์กรตำรวจมีกำลังพลว่า ๒ แสนชีวิต มีภารกิจมากมาย ทั้งภารกิจในความรับผิดชอบโดยตรงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และภารกิจจากการประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานข้างเคียง ดังนั้นการที่จะให้ ผบ.ตร.ต้องลงรายละเอียดในทุกเรื่องด้วยตนเองนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ภายในระยะเวลาที่จำกัด ทีมงานจึงมีความสำคัญอย่างมาก
ถึงแม้ผู้นำจะมีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น แต่คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทีมงานมีความสำคัญไม่น้อย
เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถูกตั้งฉายาว่า "หน่วยงานเวนคืน" ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับฉายาว่า "เสือกระดาษ” และปี พ.ศ.๒๕๕๗ ถูกเรียกว่า "ตร.ลายพราง" ทั้ง ๓ มีความเกี่ยวพันสอดคล้องกับวลีเด็ด "ยุคสมัยของผม ใหญ่แค่ไหนก็จับ” และนี่คือบทสะท้อนภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่แสดงถึงสาเหตุรากเหง้าที่มาของความล้มเหลวในการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายไว้ได้อันเนื่องมาจากการถูกแทรกแซงอย่างต่อเนื่องเสมอมาไม่ว่าผู้มีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองจะเป็นคนกลุ่มใดก็ตาม
ขอย้อนถามกลับว่า หากคิดจะปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถแก้ไขรากเหง้าปัญหานี้ได้หรือไม่? อย่างไร? การปลดแอกเพื่อให้ตำรวจมีเสรีภาพในการบริหารราชการอย่างอิสระจะเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีใด?
ขอย้ำเตือนว่า ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมย่อมไม่สามารถให้ความเป็นธรรมใครได้เช่นกัน!!
“จอมโปรเจกท์” เคยเป็นฉายาที่สื่อมวลชนมอบให้อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ ในขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้รับฉายาว่า "จูดี้ อีเวนท์”ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ เนื่องมาจากการมีกิจกรรมที่หลากหลายมีโครงการต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำให้เป็นข่าวได้ และในปี พ.ศ.๒๕๕๖ พล.ต.อ.พงศพัศได้รับฉายาที่ไม่แตกต่างจากเดิมนักคือ จูดี้...Showface เนื่องจากการติดตามคนใหญ่คนโตอย่างใกล้ชิดผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ตลอดเวลาและบ่อยมาก แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ ฉายา "มิสเตอร์โปรเจกท์" กลับกลายเป็นคำเรียกขานของ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เนื่องมาจากการนำเสนอโครงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งโครงการที่มีโอกาสเป็นไปได้ และโครงการที่เป็นข้อสงสัยว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่? รวมถึงผลสำเร็จและความยั่งยืนของโครงการจำนวนไม่น้อยที่ถูกตั้งข้อคำถามทั้งจากประชาชนและตำรวจผู้ปฏิบัติงาน
พล.ต.ต.อดุลย์ รอง ผบช.น. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความขยันหมั่นเพียรอย่างต่อเนื่องเสมอมา ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ พล.ต.ต.อดุลย์ ได้รับฉายาจากสมาคมนักข่าวว่า "โฆษก ย่ำราตรี” เนื่องมาจากเป็นหัวหน้าชุดเฉพาะกิจตรวจสถานบริการอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้พฤตินิสัยของความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความคิดดีๆ โครงการดีๆ จำเป็นต้องมี "ทีมที่ดี" เรียกได้ว่า "นายคิดดี" และ "ลูกน้องทำดี" ด้วย อย่างนี้ฝันก็จะสามารถเป็นจริงได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน!!
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในประเด็นการตั้งฉายาในรอบ ๔ ปีที่ผ่านมา
“ยุคสมัยของผม ใหญ่แค่ไหนก็จับ” เป็นวลีเด็ดที่สื่อมวลชนได้มาจากบทสัมภาษณ์ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการจับกุมกรณี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แต่สิ่งที่ทำให้สื่อมวลชนสนใจความหมายของวลีดังกล่าวมีความลึกซึ้งมากกว่าการคิดเพียงว่าเป็นเฉพาะการทำงานในคดีเท่านั้น
การที่ ผบ.ตร.พยายามที่จะแสดงให้สังคมเห็นว่า ตำรวจมีความพยายามที่จะสร้างความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายผ่านวลีเด็ดดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของ ผบ.ตร.ที่น่าสนใจ ถึงแม้สื่อมวลชน หรือประชาชนในบางส่วนอาจจะยังกังขาในข้อสงสัยว่าตำรวจจะสามารถทำได้จริงหรือ?
ความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยสถานะทางสังคม เศรษฐกิจ หรืออื่นใดก็ตามทุกคนในสังคมต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรฐานเดียวกัน และหากตำรวจสามารถปฏิบัติในลักษณะเช่นนั้นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้ว ย่อมทำให้ทัศนคติที่ประชาชนมีต่อตำรวจเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางที่ ผบ.ตร.ได้แถลงนโยบายการบริหารราชการไว้ในช่วงแรกของการรับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างแน่นอน...ด้วยหวังว่า ตำรวจจะเป็นที่รักของประชาชน
๓ เดือน ที่ผ่านมา อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการทำให้นโยบายที่สำคัญที่จะทำให้ตำรวจผู้ปฏิบัติงานมีความเข้มแข็งและมีจิตใจมุ่งมั่นในการทำงานที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทั้งหมด ตั้งแต่ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการ กองบังคับการ จนถึงผู้กำกับการ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ ที่จะต้องให้ความสำคัญกับความมุ่งมั่นในการดูแลขวัญและกำลังใจแก่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา การสัญญาว่าตำรวจจะต้องอยู่ดีกินดีเพื่อมิให้เกิดการรับสินบนหรือส่วยที่จะส่งผลต่อการอำนวยการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การดูแลเรื่องการฆ่าตัวตายของตำรวจทั้งในเรื่องงานและหนี้สินนั้น ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของปัญหาของตำรวจ
ต้องไม่ลืมว่า องค์กรตำรวจมีกำลังพลว่า ๒ แสนชีวิต มีภารกิจมากมาย ทั้งภารกิจในความรับผิดชอบโดยตรงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และภารกิจจากการประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานข้างเคียง ดังนั้นการที่จะให้ ผบ.ตร.ต้องลงรายละเอียดในทุกเรื่องด้วยตนเองนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ภายในระยะเวลาที่จำกัด ทีมงานจึงมีความสำคัญอย่างมาก
ถึงแม้ผู้นำจะมีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น แต่คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทีมงานมีความสำคัญไม่น้อย
เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถูกตั้งฉายาว่า "หน่วยงานเวนคืน" ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับฉายาว่า "เสือกระดาษ” และปี พ.ศ.๒๕๕๗ ถูกเรียกว่า "ตร.ลายพราง" ทั้ง ๓ มีความเกี่ยวพันสอดคล้องกับวลีเด็ด "ยุคสมัยของผม ใหญ่แค่ไหนก็จับ” และนี่คือบทสะท้อนภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่แสดงถึงสาเหตุรากเหง้าที่มาของความล้มเหลวในการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายไว้ได้อันเนื่องมาจากการถูกแทรกแซงอย่างต่อเนื่องเสมอมาไม่ว่าผู้มีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองจะเป็นคนกลุ่มใดก็ตาม
ขอย้อนถามกลับว่า หากคิดจะปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถแก้ไขรากเหง้าปัญหานี้ได้หรือไม่? อย่างไร? การปลดแอกเพื่อให้ตำรวจมีเสรีภาพในการบริหารราชการอย่างอิสระจะเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีใด?
ขอย้ำเตือนว่า ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมย่อมไม่สามารถให้ความเป็นธรรมใครได้เช่นกัน!!
“จอมโปรเจกท์” เคยเป็นฉายาที่สื่อมวลชนมอบให้อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ ในขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้รับฉายาว่า "จูดี้ อีเวนท์”ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ เนื่องมาจากการมีกิจกรรมที่หลากหลายมีโครงการต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำให้เป็นข่าวได้ และในปี พ.ศ.๒๕๕๖ พล.ต.อ.พงศพัศได้รับฉายาที่ไม่แตกต่างจากเดิมนักคือ จูดี้...Showface เนื่องจากการติดตามคนใหญ่คนโตอย่างใกล้ชิดผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ตลอดเวลาและบ่อยมาก แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ ฉายา "มิสเตอร์โปรเจกท์" กลับกลายเป็นคำเรียกขานของ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เนื่องมาจากการนำเสนอโครงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งโครงการที่มีโอกาสเป็นไปได้ และโครงการที่เป็นข้อสงสัยว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่? รวมถึงผลสำเร็จและความยั่งยืนของโครงการจำนวนไม่น้อยที่ถูกตั้งข้อคำถามทั้งจากประชาชนและตำรวจผู้ปฏิบัติงาน
พล.ต.ต.อดุลย์ รอง ผบช.น. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความขยันหมั่นเพียรอย่างต่อเนื่องเสมอมา ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ พล.ต.ต.อดุลย์ ได้รับฉายาจากสมาคมนักข่าวว่า "โฆษก ย่ำราตรี” เนื่องมาจากเป็นหัวหน้าชุดเฉพาะกิจตรวจสถานบริการอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้พฤตินิสัยของความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความคิดดีๆ โครงการดีๆ จำเป็นต้องมี "ทีมที่ดี" เรียกได้ว่า "นายคิดดี" และ "ลูกน้องทำดี" ด้วย อย่างนี้ฝันก็จะสามารถเป็นจริงได้เร็วขึ้นอย่างแน่นอน!!
(ฉายาตำรวจประจำปี ๒๕๕๗ เป็นอย่างไรคลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น