การปฏิรูประบบงานตำรวจจะล้มเหลวเพราะแรงต้านการเปลี่ยนแปลงมีมากเหลือเกินในวงการตำรวจไทย
คือความเห็นที่เสนอต่อผู้บริหารในรายงานวิจัยของ ดร.นพ.ประยงค์ เต็มชวาลา และคณะ
ที่ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะกรรมการวิจัยและพัฒนาของวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ สอดคล้องกับข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖ ของ พล.ต.อ.วสิษฐ
เดชกุญชร
โดยเล่าถึงความหลังเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจในสมัยรัฐบาล
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยมีความสำคัญตอนหนึ่งว่า “...อันที่จริงในอดีตรัฐบาลหลายชุดได้มีการยอมรับความสำคัญของการปฏิรูปตำรวจ
และมีความพยายามที่จะปฏิรูปตำรวจมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ
เพราะมีผู้คัดค้านต่อต้านเสมอมา ผู้คัดค้านต่อต้านนั้น
ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นนายตำรวจระดับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงซึ่งสมคบกับนักการเมือง...”
อีกทั้งยังกล่าวอีกว่า "...ความต้องการของ กปปส.ต้องการที่จะให้ตำรวจพ้นจากการบังคับบัญชาของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอย่างในปัจจุบัน และให้ตำรวจเป็นตำรวจท้องถิ่นหรือส่วนภูมิภาค โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนเป็นผู้กำกับดูแลการทำงานของตำรวจนั้น ไม่ต่างจากแนวความคิดในการปฏิรูปตำรวจในอดีตที่ท่านวสิษฐเชื่อว่าจะมีอุปสรรคอย่างเดียวกันและไม่น้อยกว่าที่แล้วมา เนื่องด้วยนักการเมืองไทยยังต้องการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจสูงสุด เพราะหากนักการเมืองควบคุมผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้เพียงคนเดียวก็เท่ากับว่าได้ตำรวจทั้งประเทศไว้ในเงื้อมมือ อีกทั้งนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการตำรวจอื่นๆ ก็พอใจที่จะมีอำนาจควบคุมและสั่งการตำรวจได้ทั้งประเทศเช่นเดียวกัน"!!
ตัวอย่างข้างต้นแสดงความคิดเห็นของบุคคล ๒ คน (๒ คณะทำงาน) ที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่นำเสนอความเห็นเชิงวิชาการเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประธานคณะแรกที่กล่าวถึงเป็นหมอ ประธานคณะที่สองเป็นอดีตตำรวจ แต่ความเห็นของทั้งสองคณะไม่ได้รับการยอมรับดังที่อ้างถึงจริงหรือที่ว่า การต่อต้านข้อเสนอการปฏิรูปตำรวจที่ผ่านมาเป็นเพียงกลุ่มตำรวจระดับสูง? (ที่สมคบกับนักการเมือง)? ตำรวจอยากให้เกิดการปฏิรูปองค์กรตำรวจหรือไม่? และทิศทางควรเป็นอย่างไร?
การคิดที่จะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทและภารกิจที่มีความสำคัญอย่างมากในสังคมไทยนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิด หรือจะสรุปโดยมิได้คำนึงถึงบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และบริบททางการเมืองไทยที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับธรรมชาติงานตำรวจ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับตำรวจไทยในทุกมิติที่เกี่ยวพันกับการปฏิบัติงานของพวกเขาเหล่านั้นด้วย
ถึงแม้ว่าองค์กรตำรวจจะเปิดพื้นที่ให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์รับรู้ผลการปฏิบัติงานของตำรวจมากกว่าองค์กรใดๆ ก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดของวิถีชีวิตวัฒนธรรมและการเมืองไทย รวมถึงข้อจำกัดของทรัพยากรในการบริหารงานต่างๆ ส่งผลให้วิถีการทำงานของตำรวจไทยมีลักษณะเฉพาะที่ยากแก่การอธิบายเหตุผลที่มาของการกระทำหน้าที่บางประการให้สังคมเข้าใจ ด้วยเหตุนี้ทำให้ "การมององค์กรตำรวจด้วยสายตาคนนอกอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริง” และเป็นที่มาของเสียงจากเหล่าบรรดาไพร่พลตำรวจ ที่ตั้งคำถามว่า "ก่อนที่คิดจะมาปฏิรูปองค์กรตำรวจของพวกผมน่ะ พวกคุณแน่ใจรึเปล่าว่าพวกคุณรู้จักและเข้าใจพวกผมดีแล้ว?”
มิใช่ว่าตำรวจจะไม่อยากปฏิรูปองค์กร มิใช่ว่าตำรวจจะไม่รู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กรของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการบริหารงานบุคคล ตำรวจส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ระบบผลตอบแทนในการทำงานของตำรวจเป็นระบบที่ล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนด้านตัวเงิน สวัสดิการหรือความก้าวหน้าในการทำงาน เพียงแต่ตำรวจได้ฝากเสียงสะท้อนถึงนักวิชาการทั้งหลายว่า “หลายคนที่ไม่ใช่ตำรวจ แต่ชอบทำรู้ดีเรื่องตำรวจ พูดไม่ถูกยิ่งทำให้ตำรวจยิ่งน้อยใจใหญ่ อย่างเช่น ตำรวจหิวข้าว แต่เขาบอกว่าตำรวจอยากจะไปเที่ยว ซึ่งคนละเรื่องเลย ชอบพูดเรื่องตำรวจกัน แต่ไม่รู้เรื่องตำรวจ คิดเองเออเอง” เสียงของตำรวจระดับไพร่พลที่พูดถึงนักวิชาการหรือกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่พูดถึงตำรวจและการปฏิรูปตำรวจ
แม้กระทั่งข้อเขียนของท่านวสิษฐที่ว่า “...เสียงเรียกร้องที่จะให้มีการปฏิรูปตำรวจในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่ตำรวจถูกนำมาใช้เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและจากการที่ตำรวจขัดขวางการชุมนุมและสนับสนุนคนเสื้อแดง (ซึ่งสนับสนุนรัฐบาล) อย่างเปิดเผย...” ก็สะท้อนให้เห็นว่า ยังไม่ได้เข้าไปนั่งอยู่ในฐานะคนใน (Insider View) อย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะมีสถานะเป็นอดีตตำรวจก็ตาม และหากท่านอดีตตำรวจเห็นด้วยกับข้อสรุปที่ได้หยิบยกมานี้ และนำไปสู่เหตุผลในเป้าหมายของการปฏิรูปองค์กรตำรวจด้วยแล้ว ก็ยิ่งนับได้ว่าเป็นความคิดที่ผิดพลาดตั้งแต่เริ่มคิด!!
มิใช่เห็นต่างว่า...การปฏิรูปตำรวจเป็นสิ่งจำเป็น เพียงแต่เห็นเช่นเดียวกับไพร่พลตำรวจทั้งหลายที่ว่า จงทำความเข้าใจตำรวจไทยให้ชัดเสียก่อนที่จะคิดปฏิรูปตำรวจ...เพราะถึงแม้ว่าองค์กรตำรวจจะไม่ก้าวหน้าอย่างที่ตำรวจทั้งองค์กรใฝ่ฝันถึงระบบคุณธรรมในการทำงาน (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ว่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือในโลกของตำรวจ? แต่ก็อย่าให้ถึงกับถอยหลังเข้าคลอง อย่างข้อเสนอบางประการที่ฟังแล้วน่าตกใจมากกว่าดีใจ...จนชวนให้สงสัยว่า คนที่คิด...คิดได้ไง??
มาถึงวันนี้ที่คิดจะปฏิรูปตำรวจน่ะ ได้ถามตำรวจเขาหรือยังว่า เขาอยากจะเป็นอย่างไร? ถ้าถามแล้วมีคำตอบตรงกันก็คงจะไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ตรงกัน คงต้องอภิปรายหาข้อสรุปที่สามารถทำให้ตำรวจทำงานอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจะดีกว่ามาคิดเอาเองดีกว่ามั้ย!!
อีกทั้งยังกล่าวอีกว่า "...ความต้องการของ กปปส.ต้องการที่จะให้ตำรวจพ้นจากการบังคับบัญชาของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอย่างในปัจจุบัน และให้ตำรวจเป็นตำรวจท้องถิ่นหรือส่วนภูมิภาค โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนเป็นผู้กำกับดูแลการทำงานของตำรวจนั้น ไม่ต่างจากแนวความคิดในการปฏิรูปตำรวจในอดีตที่ท่านวสิษฐเชื่อว่าจะมีอุปสรรคอย่างเดียวกันและไม่น้อยกว่าที่แล้วมา เนื่องด้วยนักการเมืองไทยยังต้องการให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจสูงสุด เพราะหากนักการเมืองควบคุมผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้เพียงคนเดียวก็เท่ากับว่าได้ตำรวจทั้งประเทศไว้ในเงื้อมมือ อีกทั้งนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการตำรวจอื่นๆ ก็พอใจที่จะมีอำนาจควบคุมและสั่งการตำรวจได้ทั้งประเทศเช่นเดียวกัน"!!
ตัวอย่างข้างต้นแสดงความคิดเห็นของบุคคล ๒ คน (๒ คณะทำงาน) ที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่นำเสนอความเห็นเชิงวิชาการเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประธานคณะแรกที่กล่าวถึงเป็นหมอ ประธานคณะที่สองเป็นอดีตตำรวจ แต่ความเห็นของทั้งสองคณะไม่ได้รับการยอมรับดังที่อ้างถึงจริงหรือที่ว่า การต่อต้านข้อเสนอการปฏิรูปตำรวจที่ผ่านมาเป็นเพียงกลุ่มตำรวจระดับสูง? (ที่สมคบกับนักการเมือง)? ตำรวจอยากให้เกิดการปฏิรูปองค์กรตำรวจหรือไม่? และทิศทางควรเป็นอย่างไร?
การคิดที่จะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทและภารกิจที่มีความสำคัญอย่างมากในสังคมไทยนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิด หรือจะสรุปโดยมิได้คำนึงถึงบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และบริบททางการเมืองไทยที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับธรรมชาติงานตำรวจ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับตำรวจไทยในทุกมิติที่เกี่ยวพันกับการปฏิบัติงานของพวกเขาเหล่านั้นด้วย
ถึงแม้ว่าองค์กรตำรวจจะเปิดพื้นที่ให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์รับรู้ผลการปฏิบัติงานของตำรวจมากกว่าองค์กรใดๆ ก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดของวิถีชีวิตวัฒนธรรมและการเมืองไทย รวมถึงข้อจำกัดของทรัพยากรในการบริหารงานต่างๆ ส่งผลให้วิถีการทำงานของตำรวจไทยมีลักษณะเฉพาะที่ยากแก่การอธิบายเหตุผลที่มาของการกระทำหน้าที่บางประการให้สังคมเข้าใจ ด้วยเหตุนี้ทำให้ "การมององค์กรตำรวจด้วยสายตาคนนอกอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริง” และเป็นที่มาของเสียงจากเหล่าบรรดาไพร่พลตำรวจ ที่ตั้งคำถามว่า "ก่อนที่คิดจะมาปฏิรูปองค์กรตำรวจของพวกผมน่ะ พวกคุณแน่ใจรึเปล่าว่าพวกคุณรู้จักและเข้าใจพวกผมดีแล้ว?”
มิใช่ว่าตำรวจจะไม่อยากปฏิรูปองค์กร มิใช่ว่าตำรวจจะไม่รู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กรของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการบริหารงานบุคคล ตำรวจส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ระบบผลตอบแทนในการทำงานของตำรวจเป็นระบบที่ล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนด้านตัวเงิน สวัสดิการหรือความก้าวหน้าในการทำงาน เพียงแต่ตำรวจได้ฝากเสียงสะท้อนถึงนักวิชาการทั้งหลายว่า “หลายคนที่ไม่ใช่ตำรวจ แต่ชอบทำรู้ดีเรื่องตำรวจ พูดไม่ถูกยิ่งทำให้ตำรวจยิ่งน้อยใจใหญ่ อย่างเช่น ตำรวจหิวข้าว แต่เขาบอกว่าตำรวจอยากจะไปเที่ยว ซึ่งคนละเรื่องเลย ชอบพูดเรื่องตำรวจกัน แต่ไม่รู้เรื่องตำรวจ คิดเองเออเอง” เสียงของตำรวจระดับไพร่พลที่พูดถึงนักวิชาการหรือกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่พูดถึงตำรวจและการปฏิรูปตำรวจ
แม้กระทั่งข้อเขียนของท่านวสิษฐที่ว่า “...เสียงเรียกร้องที่จะให้มีการปฏิรูปตำรวจในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการที่ตำรวจถูกนำมาใช้เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและจากการที่ตำรวจขัดขวางการชุมนุมและสนับสนุนคนเสื้อแดง (ซึ่งสนับสนุนรัฐบาล) อย่างเปิดเผย...” ก็สะท้อนให้เห็นว่า ยังไม่ได้เข้าไปนั่งอยู่ในฐานะคนใน (Insider View) อย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะมีสถานะเป็นอดีตตำรวจก็ตาม และหากท่านอดีตตำรวจเห็นด้วยกับข้อสรุปที่ได้หยิบยกมานี้ และนำไปสู่เหตุผลในเป้าหมายของการปฏิรูปองค์กรตำรวจด้วยแล้ว ก็ยิ่งนับได้ว่าเป็นความคิดที่ผิดพลาดตั้งแต่เริ่มคิด!!
มิใช่เห็นต่างว่า...การปฏิรูปตำรวจเป็นสิ่งจำเป็น เพียงแต่เห็นเช่นเดียวกับไพร่พลตำรวจทั้งหลายที่ว่า จงทำความเข้าใจตำรวจไทยให้ชัดเสียก่อนที่จะคิดปฏิรูปตำรวจ...เพราะถึงแม้ว่าองค์กรตำรวจจะไม่ก้าวหน้าอย่างที่ตำรวจทั้งองค์กรใฝ่ฝันถึงระบบคุณธรรมในการทำงาน (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ว่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือในโลกของตำรวจ? แต่ก็อย่าให้ถึงกับถอยหลังเข้าคลอง อย่างข้อเสนอบางประการที่ฟังแล้วน่าตกใจมากกว่าดีใจ...จนชวนให้สงสัยว่า คนที่คิด...คิดได้ไง??
มาถึงวันนี้ที่คิดจะปฏิรูปตำรวจน่ะ ได้ถามตำรวจเขาหรือยังว่า เขาอยากจะเป็นอย่างไร? ถ้าถามแล้วมีคำตอบตรงกันก็คงจะไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ตรงกัน คงต้องอภิปรายหาข้อสรุปที่สามารถทำให้ตำรวจทำงานอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจะดีกว่ามาคิดเอาเองดีกว่ามั้ย!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น