"โตมาแต่ไม่มีความรู้ ไม่ผ่านงานสอบสวน วิ่งจนได้มานั่งปิดหัว"
นายตำรวจพูดถึงจุดอ่อนของตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจที่สะท้อนความอ่อนแอของระบบการบริหารงานบุคคลและความจำเป็นในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการและความจำเป็นในการฝึกอบรมพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของบุคคลที่เติบโตมาเป็นนายโดยขาดประสบการณ์ที่จำเป็นในงานตำรวจ
ในที่นี้หมายถึง ความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานสอบสวน
หัวหน้างานสอบสวนจึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่การบริหารงานของหัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งเป็นผู้บริหารงานระดับหน่วยงานชั้นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ "โรงพักคือจุดแตกหัก” ดั่งที่ผู้นำอย่าง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มักพูดอยู่เสมอๆ ว่าการที่ตำรวจจะสร้างความพึงพอใจ สร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนได้จริงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการบริหารงานที่เข้มแข็งของเหล่าบรรดาหัวหน้าสถานีตำรวจทั้ง ๑,๔๖๕ สถานีตำรวจที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทุกอำเภอ จะเห็นได้ว่าตำรวจมีฐานที่ตั้งที่สามารถกล่าวได้ว่าใกล้ชิดกับประชาชนอย่างมาก จำนวนสถานีตำรวจมีมากกว่าอำเภอ ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าตำบล เพราะประเทศไทยยังไม่มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงพักก็ตาม
ถึงแม้ว่า พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายตำรวจใหญ่จะเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะดูแลเหล่าบรรดาพนักงานสอบสวนอย่างจริงจัง จริงใจ เพื่อให้คนทำงานสอบสวนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังตัวอย่างที่ยกมาเปรียบเทียบว่า "อย่าดีแต่ปาก แต่ไม่เคยดูแล คนมันถึงอึดอัดใจ อยากจะออกไป ถ้าอยากให้เขาอยู่ต้องเลี้ยงดูให้ดี เหมือนมีลูกหลายคน ถ้ารักลูกอยากให้ลูกอยู่บ้านก็ต้องดูแลมัน แต่ถ้าไม่อยากให้มันอยู่ก็ด่ามัน ไล่มัน ทำร้ายมัน เดี๋ยวมันก็ไปเองแหละ มันก็ไม่ทนอยู่กับเราหรอก” ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่างานสอบสวนถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญในการทำหน้าที่ตามบทบาทการบังคับใช้กฎหมายของเหล่าบรรดาตำรวจไทยนั้นมีความจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดีไม่น้อยกว่างานส่วนอื่นๆ ในโลกของตำรวจ
แต่นายตำรวจใหญ่ก็ยังมีความเห็นว่าเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนแล้วนั้น พนักงานสอบสวนก็ยังจำเป็นต้องปฏิบัติงานอยู่ในส่วนงานตำรวจที่กระจายตัวกันอยู่ตามโรงพักต่างๆ ทั่วประเทศ "สถานีตำรวจมีความเหมาะที่จะบริการประชาชนมากที่สุด" และถึงแม้ว่าพนักงานสอบสวนจะน้อยเนื้อต่ำใจระบบการบริหารงานขององค์กรที่มีข้อจำกัดมากมายเพียงใด นายตำรวจรุ่นพี่และมีสถานะเป็นนายก็ยังโน้มน้าวใจพี่น้องไพร่พลตำรวจให้ทำงานให้เต็มไม้เต็มมือ
“ท่านมีโอกาสทำงานเต็มไม้เต็มมืออยู่ไม่กี่ช่วงในชีวิตการทำงาน ช่วงแรกคือตอนนี้ ตอนที่ท่านเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจ อีกช่วงตอนเป็นผู้การ (ผู้บังคับการตำรวจ) ซึ่งไม่รู้จะได้เป็นหรือเปล่า อีกช่วงตอนเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งยิ่งมีโอกาสน้อยที่จะได้เป็น และสุดท้ายก็ตอนเป็น ผบ.ตร. เพราะฉะนั้นต้องรีบทำ ต้องมุ่งมั่น ขอให้ภูมิใจในชีวิตที่เติบโตมาได้ถึงขนาดนี้” พี่ชวนน้องมุ่งมั่นทำงานให้เต็มไม้เต็มมือ
“ต้องรู้ระบบงานสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการ นี่คือหลักการสำคัญของการบริหารงานสอบสวน รู้ไปถึงการเร่งรัด จับกุม เอาคนผิดมารับการลงโทษให้ได้ ต้องทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาการทำงานอย่างมืออาชีพของตำรวจให้ได้" รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสั่งสอนตอกย้ำเหล่าบรรดาหัวหน้าหน่วยงาน สอดคล้องกับที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเคยยกตัวอย่างเปรียบเทียบข้อคิดของขงจื้อที่ให้ข้อคิดว่า หากต้องตัดเหลือเพียงปัจจัยเดียวแล้วนั้น การทำให้ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธาถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่นคงมากกว่าการมีกองทัพที่เข้มแข็ง หรือการมีอาหาร น้ำที่อุดมสมบูรณ์
ดังนั้น เมื่อมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นในสังคมแล้วนั้นตำรวจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ประชาชนเห็นอย่างชัดเจนถึงความเป็นตำรวจมืออาชีพที่สามารถจับผู้ร้ายมารับการลงโทษได้โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว
“งานโรงพักมันหนัก มันเยอะไปหมด ไม่มีใครปฏิเสธข้อนี้ แต่หัวหน้าสถานีต้องบริหารจัดการให้ได้” นายตำรวจใหญ่พูดในสิ่งที่ทุกคนในโลกตำรวจต่างรู้กันเป็นอย่างดีและรู้ด้วยว่า ถ้าขืนบอกว่าทำไม่ได้จะต้องมีคำพูดจากนายว่า "ถ้าทำไม่ได้ก็บอกมาจะได้ให้คนอื่นไปทำแทน”
สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากและน่าจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในยุคที่ ผบ.ตร.คนที่ ๙ พยายามจะสร้างตำรวจมืออาชีพก็คือการทำให้พนักงานสอบสวนมีความรู้ความสามารถในการทำงานสืบสวนด้วย เพราะโดยเนื้อหาแห่งงานแล้วนั้นงานสอบสวนย่อมมีความจำเป็นต้องทำงานสืบสวนด้วย จึงจะทำให้การทำสำนวนคดีมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่างานสืบสวนสอบสวนแตกต่างจากงานสืบสวนปราบปราม
แต่เพราะข้อจำกัดอันเป็นผลมาจากความจำเป็นในการสร้างข้อมูลที่หลอกลวงจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องรื้อทิ้งในโลกของตำรวจ เช่น ปริมาณคดีที่ต่ำกว่าที่เป็นจริงที่ถูกปกปิดไว้ด้วยเหตุผลนานัปการกลับกลายเป็นคมดาบที่ทำให้การขออัตรากำลังพลตำรวจเพื่อมาปฏิบัติงานต้องทำตามปริมาณคดีที่เป็นตัวเลขที่หลอกลวงนั้นด้วย "เมื่อคนน้อย แต่งานเยอะ คนทำงานมันก็ทำให้ดีได้ยาก แทนที่จะสอบสวนให้มากที่สุด ให้สมบูรณ์ให้ครบถ้วนที่สุด กลับกลายเป็นสอบสวนให้สั้นที่สุด ตัดได้ตัด เพื่อให้สำนวนกะทัดรัด” บริบทการทำงานในลักษณะเช่นนี้เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อภาวะการสร้างตำรวจมืออาชีพที่มุ่งหวังให้ตำรวจผู้ปฏิบัติงานรู้จริง รู้ลึก รู้รอบ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีความดี และมีความขยันอย่างต่อเนื่อง
โจทย์นี้เป็นโจทย์ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ท้าทายผู้นำ!!
หัวหน้างานสอบสวนจึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่การบริหารงานของหัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งเป็นผู้บริหารงานระดับหน่วยงานชั้นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ "โรงพักคือจุดแตกหัก” ดั่งที่ผู้นำอย่าง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มักพูดอยู่เสมอๆ ว่าการที่ตำรวจจะสร้างความพึงพอใจ สร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนได้จริงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการบริหารงานที่เข้มแข็งของเหล่าบรรดาหัวหน้าสถานีตำรวจทั้ง ๑,๔๖๕ สถานีตำรวจที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทุกอำเภอ จะเห็นได้ว่าตำรวจมีฐานที่ตั้งที่สามารถกล่าวได้ว่าใกล้ชิดกับประชาชนอย่างมาก จำนวนสถานีตำรวจมีมากกว่าอำเภอ ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าตำบล เพราะประเทศไทยยังไม่มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงพักก็ตาม
ถึงแม้ว่า พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายตำรวจใหญ่จะเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะดูแลเหล่าบรรดาพนักงานสอบสวนอย่างจริงจัง จริงใจ เพื่อให้คนทำงานสอบสวนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังตัวอย่างที่ยกมาเปรียบเทียบว่า "อย่าดีแต่ปาก แต่ไม่เคยดูแล คนมันถึงอึดอัดใจ อยากจะออกไป ถ้าอยากให้เขาอยู่ต้องเลี้ยงดูให้ดี เหมือนมีลูกหลายคน ถ้ารักลูกอยากให้ลูกอยู่บ้านก็ต้องดูแลมัน แต่ถ้าไม่อยากให้มันอยู่ก็ด่ามัน ไล่มัน ทำร้ายมัน เดี๋ยวมันก็ไปเองแหละ มันก็ไม่ทนอยู่กับเราหรอก” ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่างานสอบสวนถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญในการทำหน้าที่ตามบทบาทการบังคับใช้กฎหมายของเหล่าบรรดาตำรวจไทยนั้นมีความจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดีไม่น้อยกว่างานส่วนอื่นๆ ในโลกของตำรวจ
แต่นายตำรวจใหญ่ก็ยังมีความเห็นว่าเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนแล้วนั้น พนักงานสอบสวนก็ยังจำเป็นต้องปฏิบัติงานอยู่ในส่วนงานตำรวจที่กระจายตัวกันอยู่ตามโรงพักต่างๆ ทั่วประเทศ "สถานีตำรวจมีความเหมาะที่จะบริการประชาชนมากที่สุด" และถึงแม้ว่าพนักงานสอบสวนจะน้อยเนื้อต่ำใจระบบการบริหารงานขององค์กรที่มีข้อจำกัดมากมายเพียงใด นายตำรวจรุ่นพี่และมีสถานะเป็นนายก็ยังโน้มน้าวใจพี่น้องไพร่พลตำรวจให้ทำงานให้เต็มไม้เต็มมือ
“ท่านมีโอกาสทำงานเต็มไม้เต็มมืออยู่ไม่กี่ช่วงในชีวิตการทำงาน ช่วงแรกคือตอนนี้ ตอนที่ท่านเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจ อีกช่วงตอนเป็นผู้การ (ผู้บังคับการตำรวจ) ซึ่งไม่รู้จะได้เป็นหรือเปล่า อีกช่วงตอนเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งยิ่งมีโอกาสน้อยที่จะได้เป็น และสุดท้ายก็ตอนเป็น ผบ.ตร. เพราะฉะนั้นต้องรีบทำ ต้องมุ่งมั่น ขอให้ภูมิใจในชีวิตที่เติบโตมาได้ถึงขนาดนี้” พี่ชวนน้องมุ่งมั่นทำงานให้เต็มไม้เต็มมือ
“ต้องรู้ระบบงานสอบสวนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการ นี่คือหลักการสำคัญของการบริหารงานสอบสวน รู้ไปถึงการเร่งรัด จับกุม เอาคนผิดมารับการลงโทษให้ได้ ต้องทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาการทำงานอย่างมืออาชีพของตำรวจให้ได้" รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสั่งสอนตอกย้ำเหล่าบรรดาหัวหน้าหน่วยงาน สอดคล้องกับที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเคยยกตัวอย่างเปรียบเทียบข้อคิดของขงจื้อที่ให้ข้อคิดว่า หากต้องตัดเหลือเพียงปัจจัยเดียวแล้วนั้น การทำให้ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธาถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่นคงมากกว่าการมีกองทัพที่เข้มแข็ง หรือการมีอาหาร น้ำที่อุดมสมบูรณ์
ดังนั้น เมื่อมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นในสังคมแล้วนั้นตำรวจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ประชาชนเห็นอย่างชัดเจนถึงความเป็นตำรวจมืออาชีพที่สามารถจับผู้ร้ายมารับการลงโทษได้โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว
“งานโรงพักมันหนัก มันเยอะไปหมด ไม่มีใครปฏิเสธข้อนี้ แต่หัวหน้าสถานีต้องบริหารจัดการให้ได้” นายตำรวจใหญ่พูดในสิ่งที่ทุกคนในโลกตำรวจต่างรู้กันเป็นอย่างดีและรู้ด้วยว่า ถ้าขืนบอกว่าทำไม่ได้จะต้องมีคำพูดจากนายว่า "ถ้าทำไม่ได้ก็บอกมาจะได้ให้คนอื่นไปทำแทน”
สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากและน่าจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในยุคที่ ผบ.ตร.คนที่ ๙ พยายามจะสร้างตำรวจมืออาชีพก็คือการทำให้พนักงานสอบสวนมีความรู้ความสามารถในการทำงานสืบสวนด้วย เพราะโดยเนื้อหาแห่งงานแล้วนั้นงานสอบสวนย่อมมีความจำเป็นต้องทำงานสืบสวนด้วย จึงจะทำให้การทำสำนวนคดีมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่างานสืบสวนสอบสวนแตกต่างจากงานสืบสวนปราบปราม
แต่เพราะข้อจำกัดอันเป็นผลมาจากความจำเป็นในการสร้างข้อมูลที่หลอกลวงจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องรื้อทิ้งในโลกของตำรวจ เช่น ปริมาณคดีที่ต่ำกว่าที่เป็นจริงที่ถูกปกปิดไว้ด้วยเหตุผลนานัปการกลับกลายเป็นคมดาบที่ทำให้การขออัตรากำลังพลตำรวจเพื่อมาปฏิบัติงานต้องทำตามปริมาณคดีที่เป็นตัวเลขที่หลอกลวงนั้นด้วย "เมื่อคนน้อย แต่งานเยอะ คนทำงานมันก็ทำให้ดีได้ยาก แทนที่จะสอบสวนให้มากที่สุด ให้สมบูรณ์ให้ครบถ้วนที่สุด กลับกลายเป็นสอบสวนให้สั้นที่สุด ตัดได้ตัด เพื่อให้สำนวนกะทัดรัด” บริบทการทำงานในลักษณะเช่นนี้เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อภาวะการสร้างตำรวจมืออาชีพที่มุ่งหวังให้ตำรวจผู้ปฏิบัติงานรู้จริง รู้ลึก รู้รอบ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีความดี และมีความขยันอย่างต่อเนื่อง
โจทย์นี้เป็นโจทย์ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ท้าทายผู้นำ!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น