วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ศัพท์เสียงสำเนียงร่ะยองเพื่อพี่น้องไทย : ผะหวะ (๒๙ กันยายน ๒๕๕๘)

เจ้ย้อก : เฮ่อ พี่ทิ่ดเจ้ก ปีนี่พังราดบ้านเรามันแล่งเหลือเกิน จ้ะปลูกอ้ะไร จ้ะทำอ้ะไรก็ม่ายด้าย แล่วเราจ้ะทำไงกันดีล่ะพี่ทิ่ด
พี่ทิ่ดเจ้ก : เอางี่ดีกว่า พรุ่งนี่แช้นกะว่าจ้ะไปขอผะหวะสวนยางพี่ทิ่ดชัยซัก ๕-๖ ไร่ มันคงช่วยชีวิ่ตเราให้ดีขึ้นอีกหน่อย คนอย่างพี่ทิ่ดชัยน่ะเอาได้ น่าจ้ะดีหนะแช้นว่า
..........
สมัยก่อนคนทางบ้านเราอยู่กันตามมีตามเกิด ไม่ต้องดิ้นรนหรือเดือดร้อนอะไรมากนัก ที่ดินที่นาที่ทำกินมีเยอะแยะมากมายจากมรดกที่พ่อแม่สืบต่อมาให้ บางคนมีจนทำไม่หวัดไม่ไหว บางคนก็มีพอแค่เลี้ยงตัวเองและครอบครัวเท่านั้นแต่ก็ไม่เดือดร้อนอะไร มีอะไรก็กิน มีอะไรก็ใช้ไปเท่าที่มี

แต่ก็มีบางช่วงบางปีที่ฝนฟ้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในชีวิตของคนเราไม่ตกต้อง ลงมาตามฤดูกาล มองไปไหนไหนมีแต่ความแห้งแล้งกันดาร ข้าวกล้าในนามยืนต้นตาย พืชผักที่ปลูกไว้ก็พลอยเหี่ยวเฉาไปด้วย ทีนี้ไม่ว่าจะยากดีมีจนทุกคนต้องกิน กินอะไร “กินข้าว” นั่นแหละ ถ้ามีสะตุ้งสตางค์ก็ไม่มีปัญหาทุกอย่างผ่านฉลุย แต่ถ้าไม่มีล่ะ แบบนี้คงต้องหาวิธี ซึ่งวิธีการอย่างหนึ่งสมัยผมเป็นเด็กๆ ก็คือคนเหล่านั้นมักจะไป “ผะหวะ” เรือกสวนไร่นาหรือแม้แต่กระทั่งวัวควายของคนที่มีสมบัติเยอะๆ เอาไปปลูกไปเลี้ยง พอถึงเวลาก็แบ่งสรรปันสวนให้เจ้าของเขาตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านั้นส่วนที่ เหลือก็เอาเก็บไว้เลี้ยงลูกเลี้ยงเมียต่อไปทำให้บรรเทาความเดือดร้อนไปได้พอ สมควร แต่สมัยนี้การ “ผะหวะ” แบบที่ว่าจะมีอยู่หรือเปล่าผมไม่รู้ วานคนบ้านเราตอบหน่อยก็ดีครับ


“ผะหวะ” ศัพท์เสียงสำเนียงร่ะยองซึ่งบางแห่งพูด “ก้ะ-หวะ , พ่ะ-หวะ , หวะ” หมายถึงการแบ่ง,การปันส่วนระหว่างคนสองคนหรือสองกลุ่มตามที่ตกลงกันไว้โดย กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของเจ้าของอยู่ส่วนคนที่ขอแบ่งหรือปันส่วนนั้นได้สิ่ง ของหรือสิทธิ์ต่างๆ ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างหรือรับจ้าง โดยใช้แรงงานครับ เช่น การขอเลี้ยงวัวของเจ้าของโดยมีข้อตกลงว่าให้ลูกวัวที่ออกมาเป็นของคนที่มาขอ เลี้ยง , การขอตัดหรือกรีดยางในสวนโดยมีข้อตกลงกันว่าให้คนตัดหรือกรีดได้ ๓๐% ส่วนอีก ๗๐% เป็นของเจ้าของสวน อย่างนี้เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น