ยากดีมีจนก็ควรจะได้รับการดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากตำรวจอย่างเท่าเทียม
เสมอภาคและเป็นธรรม
และหากกระทำการใดที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็หวังแต่เพียงว่าตำรวจจะบังคับใช้กฎหมายด้วยความเท่าเทียม
เสมอภาค และเป็นธรรม เช่นกัน
“มึงจับแต่กู ทีรถคันอื่น มึงไม่จับ” นี่คือตัวอย่างของความรู้สึกของประชาชนที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีจราจร
“เรียกตรวจค้นเฉพาะสมาชิกพรรคนี้ ทีพรรคนั้นไม่ตรวจค้น ไม่จับจ้อง ตรวจสอบ” ตัวอย่างของความเคลือบแคลงระแวงสงสัยในการทำหน้าที่ของตำรวจที่เกี่ยวพันกับการเมืองและการเลือกข้าง เลือกฝักเลือกฝ่ายในคดีการเมือง ความมั่นคง
“ถ้าชาวบ้านของหายไปแจ้งความไม่เคยสนใจ พิมพ์ๆๆ แล้วก็ให้เซ็นชื่อ อย่าไปหวังเลยว่าจะได้ของคืน หรือจะจัดการอะไรให้” ความรู้สึกของชาวบ้านในคดีเกี่ยวกับทรัพย์และความสัมพันธ์กับพนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งเหตุ
ประสบการณ์เช่นนี้ใช่หรือไม่ที่ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาทางคดี ไม่ว่าจะเป็นคดีใดก็ตาม แจ้งความไปก็เท่านั้น ตำรวจไม่ใช่ที่พึ่ง ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ตัวอย่างของทั้ง ๓ เหตุการณ์ที่กล่าวมานั้นคือตัวอย่างเล็กๆ ในจำนวนปรากฏการณ์มากมายของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างตำรวจกับประชาชนที่นำมาซึ่งความรู้สึกที่ไม่ดี อันเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจเหตุปัจจัยที่มาของการปฏิบัติหน้าที่ ยิ่งนานวันความเข้าใจผิดก็ยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง สะสม เพิ่มพูน จนไม่อยากเข้าใจให้ถูกต้อง
ในขณะที่ประชาชนรู้สึกไม่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ฝ่ายตำรวจเองกลับรู้สึกว่าได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เต็มกำลังความสามารถแล้ว พร้อมท้าทายว่า "ลองมาเป็นตำรวจดู แค่เดือนเดียวแหละ จะรู้เองว่าตำรวจเป็นอย่างไร” คำพูดดังกล่าวเกิดขึ้นจากวิธีคิดที่มาจาก การจำต้องอยู่ในสภาพถึงทางตัน หลังชนฝาของฝ่ายตำรวจ เนื่องจากปัญหา อุปสรรคในการทำงานที่รู้ทั้งรู้ แต่ไม่เคยมีผู้มีอำนาจคนใดคิดจะแก้ไขให้ตรงสาเหตุแห่งปัญหา?
จึงถึงเวลาแล้วที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะจับมือกับ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปฏิรูปตำรวจด้วยวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนผู้มีประสบการณ์ตรงโดยระดมทีมตำรวจ อดีตตำรวจที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านงานตำรวจผู้มีฝีมือ มีประสบการณ์จริง มากกว่าการอ่านจากตำราหรือมีประสบการณ์แต่เพียงในสำนักงานเท่านั้นมาทำการใหญ่ในห้วงเวลาสำคัญเช่นนี้ !!
ลองเริ่มต้นจากวิเคราะห์ภาระงานคดีที่เป็นจริงโดยการสร้างระบบและกลไกในการทำให้พนักงานสอบสวนสามารถรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์เข้ามาดำเนินคดีทั้งหมด เรียกว่า ล้มล้างระบบแยกเล่ม แยกสี ไม่ต้องซุกหรือเป่าคดี เพื่อให้ปริมาณคดีเป็นไปตามเป้าเพื่อรักษาหน้านายอันเป็นผลมาจากการให้คุณค่าและความหมายว่า จำนวนตัวเลขคดีที่ลดลงคือประสิทธิภาพในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมที่น่าชื่นชมและได้รับคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ จะต้องสร้างระบบรองรับความจริงที่ถูกเปิดเผยขึ้นมาด้วย นี่คือความท้าทายเชิงรูปธรรมของความกล้าในการเผชิญความจริงของนายและผู้มีอำนาจถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่หมักหมมและสะสมมานานหลายทศวรรษขององค์กรตำรวจ เมื่อความจริงถูกเปิดเผยออกมา ก็จะเห็นเหตุปัจจัยที่มาของปัญหา ขนาดปริมาณของอาชญากรรมที่แท้จริง และอุปสรรคข้อขัดข้องนานัปการที่ต้องแก้ไขให้ได้ผล
โจทย์ที่ตามมาก็คือ ผู้นำตำรวจและผู้มีอำนาจทั้งหลายจะร่วมมือ ร่วมใจ และร่วมคิดหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ตรงสาเหตุขั้นต่อไปอย่างไร?
อย่าลืมว่า ความรู้อยู่ที่ชาวบ้าน ผู้ที่มีความเข้าใจปัญหาและเหตุแห่งปัญหาที่ซับซ้อน ย้อนแย้ง ย่อมหมายถึงกลุ่มตำรวจที่ทำงานและมีประสบการณ์ตรงที่โชกโชนในงานตำรวจเป็นอย่างดี มีประวัติการทำงานที่ทุ่มเทในการทำงานเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ดี ที่เข้มแข็ง
โปรดอย่าหลงเชื่อว่านักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เคยเป็นตำรวจ ไม่มีประสบการณ์ตรง ขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในงานตำรวจจะสามารถทำหน้าที่สำคัญในการคิด วิเคราะห์ ออกแบบระบบการทำงาน และโครงสร้างองค์การตำรวจที่แก้ปัญหาต่างๆ ได้ นอกเหนือจากการเป็นผู้มีประสบการณ์ และความรู้ที่ลึกซึ้งแล้วนั้น ยังจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรตำรวจด้วยจึงจะทำให้การปฏิรูปที่เกิดขึ้นงดงาม
เรื่องใหญ่ อย่าใช้ใจอคติ
โปรดหันกลับมาให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่าตำรวจสองแสนกว่าชีวิตควรมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการออกแบบระบบงาน วัฒนธรรมการทำงาน และโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ตำรวจเป็นเจ้าภาพหลักในการปฏิรูปองค์กรตำรวจร่วมกับการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของการทำหน้าที่ของตำรวจ และการมีส่วนร่วมจากนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในฐานะผู้ประเมินและวิพากษ์วิจารณ์ น่าจะดีกว่า และตอบโจทย์ได้ถูกต้อง ถูกใจประชาชนได้มากกว่า
อย่าปล่อยให้สังคมสับสน อย่าปล่อยให้ศรัทธาเริ่มจางหาย จนเกิดการตั้งคำถามว่า
ฤาเป็นเพียงละครฉากหนึ่ง เหมือนอย่างที่แล้วมา?
“มึงจับแต่กู ทีรถคันอื่น มึงไม่จับ” นี่คือตัวอย่างของความรู้สึกของประชาชนที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีจราจร
“เรียกตรวจค้นเฉพาะสมาชิกพรรคนี้ ทีพรรคนั้นไม่ตรวจค้น ไม่จับจ้อง ตรวจสอบ” ตัวอย่างของความเคลือบแคลงระแวงสงสัยในการทำหน้าที่ของตำรวจที่เกี่ยวพันกับการเมืองและการเลือกข้าง เลือกฝักเลือกฝ่ายในคดีการเมือง ความมั่นคง
“ถ้าชาวบ้านของหายไปแจ้งความไม่เคยสนใจ พิมพ์ๆๆ แล้วก็ให้เซ็นชื่อ อย่าไปหวังเลยว่าจะได้ของคืน หรือจะจัดการอะไรให้” ความรู้สึกของชาวบ้านในคดีเกี่ยวกับทรัพย์และความสัมพันธ์กับพนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งเหตุ
ประสบการณ์เช่นนี้ใช่หรือไม่ที่ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาทางคดี ไม่ว่าจะเป็นคดีใดก็ตาม แจ้งความไปก็เท่านั้น ตำรวจไม่ใช่ที่พึ่ง ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
ตัวอย่างของทั้ง ๓ เหตุการณ์ที่กล่าวมานั้นคือตัวอย่างเล็กๆ ในจำนวนปรากฏการณ์มากมายของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างตำรวจกับประชาชนที่นำมาซึ่งความรู้สึกที่ไม่ดี อันเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจเหตุปัจจัยที่มาของการปฏิบัติหน้าที่ ยิ่งนานวันความเข้าใจผิดก็ยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง สะสม เพิ่มพูน จนไม่อยากเข้าใจให้ถูกต้อง
ในขณะที่ประชาชนรู้สึกไม่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ฝ่ายตำรวจเองกลับรู้สึกว่าได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เต็มกำลังความสามารถแล้ว พร้อมท้าทายว่า "ลองมาเป็นตำรวจดู แค่เดือนเดียวแหละ จะรู้เองว่าตำรวจเป็นอย่างไร” คำพูดดังกล่าวเกิดขึ้นจากวิธีคิดที่มาจาก การจำต้องอยู่ในสภาพถึงทางตัน หลังชนฝาของฝ่ายตำรวจ เนื่องจากปัญหา อุปสรรคในการทำงานที่รู้ทั้งรู้ แต่ไม่เคยมีผู้มีอำนาจคนใดคิดจะแก้ไขให้ตรงสาเหตุแห่งปัญหา?
จึงถึงเวลาแล้วที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะจับมือกับ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปฏิรูปตำรวจด้วยวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนผู้มีประสบการณ์ตรงโดยระดมทีมตำรวจ อดีตตำรวจที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านงานตำรวจผู้มีฝีมือ มีประสบการณ์จริง มากกว่าการอ่านจากตำราหรือมีประสบการณ์แต่เพียงในสำนักงานเท่านั้นมาทำการใหญ่ในห้วงเวลาสำคัญเช่นนี้ !!
ลองเริ่มต้นจากวิเคราะห์ภาระงานคดีที่เป็นจริงโดยการสร้างระบบและกลไกในการทำให้พนักงานสอบสวนสามารถรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์เข้ามาดำเนินคดีทั้งหมด เรียกว่า ล้มล้างระบบแยกเล่ม แยกสี ไม่ต้องซุกหรือเป่าคดี เพื่อให้ปริมาณคดีเป็นไปตามเป้าเพื่อรักษาหน้านายอันเป็นผลมาจากการให้คุณค่าและความหมายว่า จำนวนตัวเลขคดีที่ลดลงคือประสิทธิภาพในการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมที่น่าชื่นชมและได้รับคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ จะต้องสร้างระบบรองรับความจริงที่ถูกเปิดเผยขึ้นมาด้วย นี่คือความท้าทายเชิงรูปธรรมของความกล้าในการเผชิญความจริงของนายและผู้มีอำนาจถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่หมักหมมและสะสมมานานหลายทศวรรษขององค์กรตำรวจ เมื่อความจริงถูกเปิดเผยออกมา ก็จะเห็นเหตุปัจจัยที่มาของปัญหา ขนาดปริมาณของอาชญากรรมที่แท้จริง และอุปสรรคข้อขัดข้องนานัปการที่ต้องแก้ไขให้ได้ผล
โจทย์ที่ตามมาก็คือ ผู้นำตำรวจและผู้มีอำนาจทั้งหลายจะร่วมมือ ร่วมใจ และร่วมคิดหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ตรงสาเหตุขั้นต่อไปอย่างไร?
อย่าลืมว่า ความรู้อยู่ที่ชาวบ้าน ผู้ที่มีความเข้าใจปัญหาและเหตุแห่งปัญหาที่ซับซ้อน ย้อนแย้ง ย่อมหมายถึงกลุ่มตำรวจที่ทำงานและมีประสบการณ์ตรงที่โชกโชนในงานตำรวจเป็นอย่างดี มีประวัติการทำงานที่ทุ่มเทในการทำงานเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ดี ที่เข้มแข็ง
โปรดอย่าหลงเชื่อว่านักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เคยเป็นตำรวจ ไม่มีประสบการณ์ตรง ขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในงานตำรวจจะสามารถทำหน้าที่สำคัญในการคิด วิเคราะห์ ออกแบบระบบการทำงาน และโครงสร้างองค์การตำรวจที่แก้ปัญหาต่างๆ ได้ นอกเหนือจากการเป็นผู้มีประสบการณ์ และความรู้ที่ลึกซึ้งแล้วนั้น ยังจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรตำรวจด้วยจึงจะทำให้การปฏิรูปที่เกิดขึ้นงดงาม
เรื่องใหญ่ อย่าใช้ใจอคติ
โปรดหันกลับมาให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่าตำรวจสองแสนกว่าชีวิตควรมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการออกแบบระบบงาน วัฒนธรรมการทำงาน และโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ตำรวจเป็นเจ้าภาพหลักในการปฏิรูปองค์กรตำรวจร่วมกับการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของการทำหน้าที่ของตำรวจ และการมีส่วนร่วมจากนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในฐานะผู้ประเมินและวิพากษ์วิจารณ์ น่าจะดีกว่า และตอบโจทย์ได้ถูกต้อง ถูกใจประชาชนได้มากกว่า
อย่าปล่อยให้สังคมสับสน อย่าปล่อยให้ศรัทธาเริ่มจางหาย จนเกิดการตั้งคำถามว่า
ฤาเป็นเพียงละครฉากหนึ่ง เหมือนอย่างที่แล้วมา?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น