วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันนี้ที่เวียงป่าเป้า (๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔)


วันนี้วันจันทร์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ วันแรกในรอบสัปดาห์ของการทำงานสำหรับหลายๆ ท่านรวมถึงผมด้วยหลังจากหยุดพักผ่อนกันมา ๒ วันเต็มๆ วันนี้ทุกคนคงกระชุ่มกระชวยกระฉับกระเฉงและมีัเรี่ยวแรงทำงานกันเป็นอย่างดี

อากาศที่เวียงป่าเป้าวันนี้ร้อนมาตั้งแต่เช้า ท้องฟ้าปลอดโปร่ง แจ่มใส ไม่มีวี่แววว่าฝนจะตกแน่นอน เมฆสีขาวลอยละล่องทั่วไปกลางท้องฟ้าสีนวลตา เป็นภาพที่น่าดูน่าชมและชวนหลงไหลยิ่งนักหลังจากที่เมื่อวานกับวานซืนฝนตกลง มาค่อนข้างหนักแต่ไม่มีความเสียหายอะไรเกิดขึ้น




งานที่ทำวันนี้เนื่องจากเป็นวันแรกในรอบสัปดาห์จึงมีค่อนข้างมากกว่าวันอื่นๆ แต่เหมือนเดิมครับเป็นงาน Routine หรืองานประจำอีกนั่นแหละใช้เวลาไม่นานก็สามารถนำเสนอผู้ิบังคับบัญชาลงนามหรือสั่งการได้



มีงานงานหนึ่งที่อยากจะุบันทึกไว้คือตำรวจภููธรจังหวัดเชียงรายมีหนังสือที่ ชร ๐๐๒๙.๑๕/๕๖๙๗ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ แจ้งให้สถานีตำรวจทุกแห่งในสังกัดรายงานผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจของ กต.ตร. (คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ) ตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ.๒๕๔๙ ตามเวลาที่กำหนด ในแบบรายงานของหนังสือฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจตอนหนึ่งคือแนวทางการดำเนินการซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

๑. ติดตั้งป้ายรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน กต.ตร.และข้าราชการตำรวจ



๒. ประชาสัมพันธ์ผลงานของตำรวจและ กต.ตร.ให้ประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นทราบผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในท้องถิ่น หอกระจายเสียงในชุมชนและท้องถิ่นหรือบัตรการ์ดแสดงผลงานของตำรวจและ กต.ตร.ออกไปพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ



๓. ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่้นโดยสร้างความรักความสามัคคี ความอยู่ดีกินอยู่และความสงบสุขให้เกิดขึ้นในชุมชนและท้องถิ่น



๔. จัดเวทีประชาคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น
(รายละเอียดทั้งหมดของหนังสือฉบับนี้คลิกดูได้ที่นี่)

ผมขอเพิ่มเติมข้อมูลในระเบียบ ก.ต.ช.นี้อีกสักเล็กน้อยครับนั่นก็คือลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจซึ่งมีดังนี้

ข้อ ๕ ลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ ได้แก่
(๑) การมีส่วนร่วมในการคิด ศึกษา และค้นคว้าหาสภาพและสาเหตุของปัญหา ตลอดจนความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน
(๒) การมีส่วนร่วมในการริเริ่มและตัดสินใจกำหนดกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและชุมชน



(๓) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ/หรือการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติและ/หรือการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและชุมชน
(๔) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินกิจกรรม
(๕) การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและปรับปรุง

การมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจในด้านต่างๆ

ข้อ ๖ ท้องถิ่นหรือชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้



(๑) ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
(๒) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชน
(๓) ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด



(๔) ด้านการจราจร
(๕) ด้านการดูแลสาธารณสมบัติ
(๖) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น

โดยให้ กต.ตร.สน. และ กต.ตร.สภ. มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดลักษณะ รูปแบบและวิธีการให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจตามข้อ ๕ เพื่อดำเนินกิจการตามข้อ ๖ โดยให้คำนึงถึงปัจจัยทางด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละท้องถิ่นและชุมชนเป็นสำคัญ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันทิศทางการดำเนินการและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในแวดวงตำรวจเรานั้นเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนและท้องถิ่ีนเป็นอย่างดียิ่งโดยทุกหน่วยงานได้นำยุทธศาสตร์เหล่านี้มาปฏิบัติอย่างจริงจังตลอดเรื่อยมาเปรียบเสมือนหนึ่งปลาขาดน้ำไม่ได้ฉันใด ตำรวจก็ขาดพี่น้องประชาชนไม่ได้ฉันนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น