ต้นทุนทางสังคมของตำรวจต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็น
หมายความว่าหากพิจารณาถึงผลงาน บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ
เปรียบเทียบกับเงินงบประมาณต่างๆ รัฐลงทุนให้แก่ตำรวจนั้นจะพบว่ารัฐและประชาชนได้กำไรและคุ้มสุดคุ้ม
แต่ทำไมประชาชนคนไทยส่วนใหญ่จึงให้คุณค่ากับตำรวจต่ำกว่าที่ควรจะเป็น? พร้อมที่จะรับฟังและเชื่อถือข้อมูลและคำบอกเล่าเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงลบของตำรวจโดยไม่รีรอที่จะทบทวน
ไตร่ตรอง
หาเหตุผลความเชื่อถือได้มาประกอบการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้ยินได้ฟังมานั้นจริงหรือเท็จ
"เขาชวนกันเดินขบวนขับไล่ผู้กำกับที่เพิ่งย้ายมาใหม่ มันดีแต่สั่งให้จับรถมอเตอร์ไซค์โดนจับข้อหาน้ำมันเต็มถัง" ชาวบ้านวัย ๕๐ เล่าด้วยสีหน้าจริงจังราวกับว่าเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ตำรวจจับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยข้อหาน้ำมันเต็มถัง แต่เมื่อถูกซักถามว่าผู้ที่ถูกจับเป็นใครอยู่ที่ไหนผู้เล่ากลับเปลี่ยนเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ถูกตำรวจจับด้วยข้อหานำรถที่มีสภาพไม่พร้อมมาใช้งานในถนนหลวงสายหลัก "อ้าวจะให้ทำไง ก็รถเกษตรมันก็สภาพอย่างงี้” ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์กับตำรวจนำมาซึ่งความพร้อมที่จะเชื่อว่าตำรวจชอบจับ จับ และจับโดยไม่คิดถึงจิตใจและเข้าใจคนจน
ชาวนาคนเดียวกันนี้เล่าว่า เขาเคยพาหลานชายวัย ๗ ขวบขับรถมอเตอร์ไซค์อ้อมทุ่งนาเพื่อหลบการตั้งด่านของตำรวจ "มันจับหมวก(นิรภัย)” การกระทำเช่นนี้อยู่เนืองๆ มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังคือ "การจับหมวกกันน็อก...มันไม่ใช่" หมายความว่าการสวมหมวกนิรภัยไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมจำเป็นสำหรับเขา? (ในความคิดของเขา)
แต่มีความเหมาะสมและจำเป็นอย่างยิ่งในความคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายรวมถึงแพทย์และตำรวจที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยตรง
หากแต่หมอยังอาจโชคดีกว่าตำรวจเพราะในสายตาของประชาชนนั้นหมอคือผู้ที่มีบุญคุณอันเนื่องมาจากความเมตตากรุณาที่รักษาเยียวยาให้หายจากความเจ็บปวดหรือรอดชีวิตจากความตายในยามที่พวกเขาได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยอุบัติเหตุทางถนน แต่สำหรับตำรวจแล้วนั้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายมิได้มีคุณค่าและความหมายในสายตาของประชาชนว่าเป็นการป้องกันมิให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รอดพ้นจากความเจ็บปวดหรือความตายที่อาจเกิดขึ้นจากการขับรถเร็ว การเมาแล้วขับ หรือเหตุผลดังที่ประชาสัมพันธ์แต่ประการใด? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถตรวจสอบได้ปีแล้วปีเล่าต่างๆ ยืนยันว่าเมาแล้วขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุเจ็บตายมากมาย แต่ทำไมคนไทยจำนวนไม่น้อยกลับไม่ชื่นชมผู้ที่ยืนอยู่กลางถนนเพื่อตรวจจับคนเมาแล้วขับ หรือป้องปราบพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงทั้งหลาย...ตำรวจกลับกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวบ้าน?
ถึงแม้จะสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าในห้วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นนี้เหล่าบรรดาตำรวจไพร่พลผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายจะต้องทำงานอย่างหนักอันเนื่องมาจากการสั่งการของผู้บังคับบัญชาใน ๓ ภารกิจหลักคือป้องกันและควบคุมอาชญากรรมทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน รักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ให้แก่ประชาชนโดยตำรวจทุกนายต้องอยู่ในพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ควบคุมและติดตามการทำงานอย่างเข้มข้นผ่านตัวชี้วัดซึ่งหากไม่บรรลุเป้าหมายจะต้องรายงานชี้แจงผู้บังคับบัญชาระดับสูง
ภารกิจอันทรงเกียรติ ยิ่งใหญ่ และกดดันเช่นนี้ แทนที่พวกเขาจะได้รับความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และให้ความร่วมมือจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่....กลับมิได้เป็นเช่นนั้น!!
"ไม่รู้มันจะตั้งด่านทำไมให้รถติดยาวหลายกิโล เอาแค่คอยโบกรถอำนวยความสะดวกได้มั้ย หรือไม่ก็นั่งอยู่ในเต็นท์ข้างทางคอยบริการให้ความช่วยเหลือก็น่าจะพอนะ รถจะได้ไม่ติดด้วย”...ประชาชนต้องการให้ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ทำหน้าที่เพื่อพวกเขาเพียงแค่นี้จริงหรือ? การทำหน้าที่เพียงแค่นั้นสร้างความสบายในการปฏิบัติมากกว่าการยืนตั้งด่านเรียกตรวจกลางถนนเสียอีกแต่ทำไมตำรวจจึงเลือกที่จะตั้งด่านที่อาจสร้างความไม่พึงพอใจแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเนื่องมาจากทำให้รถติด หรือเคลื่อนไปไม่ได้เร็วอย่างใด?
“ก็เพราะมันจะรีดไถนะสิ ถ้ามันเรียกตรวจและเรายอมเบี่ยงรถเข้าจอดข้างทางนะจะโดนทุกราย” ด้วยความคิดเช่นนี้ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนที่เรามักเห็นอยู่ไม่น้อยเลือกใช้วิธีเยื้อกับตำรวจโดยจอดแช่อยู่กลางถนนโดยไม่สนใจว่าจะเป็นต้นเหตุทำให้รถติดโดยให้เหตุผลว่า "ทำไงได้ ก็ถ้าไปจอดข้างทางก็โดนแน่” ดังนั้น ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ฉันรอดโดยฉันก็ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะได้รับผลกระทบอย่างไร?
จริงหรือ?...ที่ตำรวจจราจรจะสามารถ "ยัดข้อหาความผิดให้แก่ผู้ขับขี่ได้โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ได้กระทำผิด ไม่มีหลักฐานแห่งการกระทำผิด ในยุคที่มีระบบการจับจ้องตรวจสอบมากมายเช่นนี้ ในยุคที่หากตำรวจจราจรคนหนึ่งคนใดกระทำการเยี่ยงโจรแทนที่จะกระทำการตามแบบอย่างที่ตำรวจพึงทำแล้วนั้น ตำรวจกว่าสองแสนนายจะกลายเป็นเหยื่อของการประณามผ่านสื่อมวลชนทันที”
“พวกผมหนักมาก เหนื่อยมาก กดดันมากในช่วงเทศกาลเช่นนี้ เราถูกควบคุมการทำงานโดยมีเป้าและการตรวจสอบ กำกับติดตาม และเรากล้าท้าพิสูจน์ว่าเรามีงบประมาณที่ขัดสนในการทำงาน เราต้องประสาน อ้อนวอน ข้อร้องประสานงานและงบประมาณจากหน่วยอื่นๆ ที่บูรณาการงานร่วมกันแทบขาดใจ พยายามทำทุกวิธีเพื่อให้ผ่านช่วงเทศกาลหยุดยาวนี้ไปได้เพื่อให้ประชาชนพอใจ แต่จะมีใครสักกี่คนที่เห็นใจเรา” เสียงของตำรวจที่วิงวอนขอความเข้าใจปนน้อยเนื้อต่ำใจ
แม้แต่ตำรวจระดับนายพลก็ออกตระเวนไปพบปะพูดคุยสอบถามความคิดเห็นของตำรวจจราจรขณะปฏิบัติหน้าที่กลางดึกว่า "น้องๆ" มีความคิดเห็น มีความเป็นอยู่ มีข้อเสนอแนะ มีความต้องการอะไรบ้างนอกเหนือจากการเยี่ยมเยียนผ่านระบนไลน์ (ที่ไม่มั่นใจเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ปฏิบัติหรือไม่? แต่ที่แน่ๆ คือนายชอบ!!)
“อยากให้กำลังใจพวกเขา เขาทำหน้าที่ด้วยความเหนื่อยยากตั้งแต่เช้าตรู่ถึงค่ำดึก เป็นนักรบแนวหน้าที่อยู่กับความจริงและใกล้ชิดประชาชนที่สุด รู้ปัญหาดีที่สุด” พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แม่ทัพใหญ่หัวเรี่ยวหัวแรงในการกำกับดูแลงานจราจรเล่าถึงเหตุผลของการออกตรวจเยี่ยมลูกน้องกลางดึก
ถึงแม้ว่าคนในวงการตำรวจอาจรู้กันเป็นอย่างดีว่านายใหญ่ๆ ไม่มีทางได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นจริง เพราะด้วยวิถีการปฏิบัติที่สะสมมาเป็นเวลาช้านานจนกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานอย่างหนึ่งของตำรวจก็คือ การรับรู้ว่านายชอบฟังแต่สิ่งดีๆ ชอบฟังความสำเร็จ และชอบฟังสิ่งที่คุณจะทำมิใช่ให้นายมานั่งรับฟังปัญหาข้อขัดข้องที่คุณบอกว่าจะทำไม่ได้ แต่เหล่าบรรดาไพร่พลตำรวจก็ยังรู้สึกเป็นสุขที่นายลงมาเห็นว่าพวกเขาทำงานในบริบทเช่นใด!!
มิต้องให้ตำรวจได้มีวันหยุดยาวเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสังคมไทย เพียงแต่ขอให้ตำรวจไทยได้รับความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเหนื่อยยากบ้างได้หรือไม่? ลองใส่ไมตรีจิตและความเมตตาโดยยิ้มให้ตำรวจ ขอทาแป้งตำรวจ ขอพรมน้ำหอมๆ ให้ตำรวจที่เรียกตรวจคุณอยู่กลางถนนดูเถอะ รับรองได้คุณจะรู้ว่าที่แท้แล้ว ตำรวจไทยไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด!!
"เขาชวนกันเดินขบวนขับไล่ผู้กำกับที่เพิ่งย้ายมาใหม่ มันดีแต่สั่งให้จับรถมอเตอร์ไซค์โดนจับข้อหาน้ำมันเต็มถัง" ชาวบ้านวัย ๕๐ เล่าด้วยสีหน้าจริงจังราวกับว่าเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ตำรวจจับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยข้อหาน้ำมันเต็มถัง แต่เมื่อถูกซักถามว่าผู้ที่ถูกจับเป็นใครอยู่ที่ไหนผู้เล่ากลับเปลี่ยนเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ถูกตำรวจจับด้วยข้อหานำรถที่มีสภาพไม่พร้อมมาใช้งานในถนนหลวงสายหลัก "อ้าวจะให้ทำไง ก็รถเกษตรมันก็สภาพอย่างงี้” ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์กับตำรวจนำมาซึ่งความพร้อมที่จะเชื่อว่าตำรวจชอบจับ จับ และจับโดยไม่คิดถึงจิตใจและเข้าใจคนจน
ชาวนาคนเดียวกันนี้เล่าว่า เขาเคยพาหลานชายวัย ๗ ขวบขับรถมอเตอร์ไซค์อ้อมทุ่งนาเพื่อหลบการตั้งด่านของตำรวจ "มันจับหมวก(นิรภัย)” การกระทำเช่นนี้อยู่เนืองๆ มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังคือ "การจับหมวกกันน็อก...มันไม่ใช่" หมายความว่าการสวมหมวกนิรภัยไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมจำเป็นสำหรับเขา? (ในความคิดของเขา)
แต่มีความเหมาะสมและจำเป็นอย่างยิ่งในความคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายรวมถึงแพทย์และตำรวจที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยตรง
หากแต่หมอยังอาจโชคดีกว่าตำรวจเพราะในสายตาของประชาชนนั้นหมอคือผู้ที่มีบุญคุณอันเนื่องมาจากความเมตตากรุณาที่รักษาเยียวยาให้หายจากความเจ็บปวดหรือรอดชีวิตจากความตายในยามที่พวกเขาได้รับความทุกข์ทรมานจากภัยอุบัติเหตุทางถนน แต่สำหรับตำรวจแล้วนั้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายมิได้มีคุณค่าและความหมายในสายตาของประชาชนว่าเป็นการป้องกันมิให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รอดพ้นจากความเจ็บปวดหรือความตายที่อาจเกิดขึ้นจากการขับรถเร็ว การเมาแล้วขับ หรือเหตุผลดังที่ประชาสัมพันธ์แต่ประการใด? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถตรวจสอบได้ปีแล้วปีเล่าต่างๆ ยืนยันว่าเมาแล้วขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุเจ็บตายมากมาย แต่ทำไมคนไทยจำนวนไม่น้อยกลับไม่ชื่นชมผู้ที่ยืนอยู่กลางถนนเพื่อตรวจจับคนเมาแล้วขับ หรือป้องปราบพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงทั้งหลาย...ตำรวจกลับกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวบ้าน?
ถึงแม้จะสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าในห้วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นนี้เหล่าบรรดาตำรวจไพร่พลผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายจะต้องทำงานอย่างหนักอันเนื่องมาจากการสั่งการของผู้บังคับบัญชาใน ๓ ภารกิจหลักคือป้องกันและควบคุมอาชญากรรมทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน รักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ให้แก่ประชาชนโดยตำรวจทุกนายต้องอยู่ในพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ควบคุมและติดตามการทำงานอย่างเข้มข้นผ่านตัวชี้วัดซึ่งหากไม่บรรลุเป้าหมายจะต้องรายงานชี้แจงผู้บังคับบัญชาระดับสูง
ภารกิจอันทรงเกียรติ ยิ่งใหญ่ และกดดันเช่นนี้ แทนที่พวกเขาจะได้รับความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และให้ความร่วมมือจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่....กลับมิได้เป็นเช่นนั้น!!
"ไม่รู้มันจะตั้งด่านทำไมให้รถติดยาวหลายกิโล เอาแค่คอยโบกรถอำนวยความสะดวกได้มั้ย หรือไม่ก็นั่งอยู่ในเต็นท์ข้างทางคอยบริการให้ความช่วยเหลือก็น่าจะพอนะ รถจะได้ไม่ติดด้วย”...ประชาชนต้องการให้ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ทำหน้าที่เพื่อพวกเขาเพียงแค่นี้จริงหรือ? การทำหน้าที่เพียงแค่นั้นสร้างความสบายในการปฏิบัติมากกว่าการยืนตั้งด่านเรียกตรวจกลางถนนเสียอีกแต่ทำไมตำรวจจึงเลือกที่จะตั้งด่านที่อาจสร้างความไม่พึงพอใจแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเนื่องมาจากทำให้รถติด หรือเคลื่อนไปไม่ได้เร็วอย่างใด?
“ก็เพราะมันจะรีดไถนะสิ ถ้ามันเรียกตรวจและเรายอมเบี่ยงรถเข้าจอดข้างทางนะจะโดนทุกราย” ด้วยความคิดเช่นนี้ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนที่เรามักเห็นอยู่ไม่น้อยเลือกใช้วิธีเยื้อกับตำรวจโดยจอดแช่อยู่กลางถนนโดยไม่สนใจว่าจะเป็นต้นเหตุทำให้รถติดโดยให้เหตุผลว่า "ทำไงได้ ก็ถ้าไปจอดข้างทางก็โดนแน่” ดังนั้น ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ฉันรอดโดยฉันก็ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะได้รับผลกระทบอย่างไร?
จริงหรือ?...ที่ตำรวจจราจรจะสามารถ "ยัดข้อหาความผิดให้แก่ผู้ขับขี่ได้โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ได้กระทำผิด ไม่มีหลักฐานแห่งการกระทำผิด ในยุคที่มีระบบการจับจ้องตรวจสอบมากมายเช่นนี้ ในยุคที่หากตำรวจจราจรคนหนึ่งคนใดกระทำการเยี่ยงโจรแทนที่จะกระทำการตามแบบอย่างที่ตำรวจพึงทำแล้วนั้น ตำรวจกว่าสองแสนนายจะกลายเป็นเหยื่อของการประณามผ่านสื่อมวลชนทันที”
“พวกผมหนักมาก เหนื่อยมาก กดดันมากในช่วงเทศกาลเช่นนี้ เราถูกควบคุมการทำงานโดยมีเป้าและการตรวจสอบ กำกับติดตาม และเรากล้าท้าพิสูจน์ว่าเรามีงบประมาณที่ขัดสนในการทำงาน เราต้องประสาน อ้อนวอน ข้อร้องประสานงานและงบประมาณจากหน่วยอื่นๆ ที่บูรณาการงานร่วมกันแทบขาดใจ พยายามทำทุกวิธีเพื่อให้ผ่านช่วงเทศกาลหยุดยาวนี้ไปได้เพื่อให้ประชาชนพอใจ แต่จะมีใครสักกี่คนที่เห็นใจเรา” เสียงของตำรวจที่วิงวอนขอความเข้าใจปนน้อยเนื้อต่ำใจ
แม้แต่ตำรวจระดับนายพลก็ออกตระเวนไปพบปะพูดคุยสอบถามความคิดเห็นของตำรวจจราจรขณะปฏิบัติหน้าที่กลางดึกว่า "น้องๆ" มีความคิดเห็น มีความเป็นอยู่ มีข้อเสนอแนะ มีความต้องการอะไรบ้างนอกเหนือจากการเยี่ยมเยียนผ่านระบนไลน์ (ที่ไม่มั่นใจเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ปฏิบัติหรือไม่? แต่ที่แน่ๆ คือนายชอบ!!)
“อยากให้กำลังใจพวกเขา เขาทำหน้าที่ด้วยความเหนื่อยยากตั้งแต่เช้าตรู่ถึงค่ำดึก เป็นนักรบแนวหน้าที่อยู่กับความจริงและใกล้ชิดประชาชนที่สุด รู้ปัญหาดีที่สุด” พล.ต.ท.เรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แม่ทัพใหญ่หัวเรี่ยวหัวแรงในการกำกับดูแลงานจราจรเล่าถึงเหตุผลของการออกตรวจเยี่ยมลูกน้องกลางดึก
ถึงแม้ว่าคนในวงการตำรวจอาจรู้กันเป็นอย่างดีว่านายใหญ่ๆ ไม่มีทางได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นจริง เพราะด้วยวิถีการปฏิบัติที่สะสมมาเป็นเวลาช้านานจนกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานอย่างหนึ่งของตำรวจก็คือ การรับรู้ว่านายชอบฟังแต่สิ่งดีๆ ชอบฟังความสำเร็จ และชอบฟังสิ่งที่คุณจะทำมิใช่ให้นายมานั่งรับฟังปัญหาข้อขัดข้องที่คุณบอกว่าจะทำไม่ได้ แต่เหล่าบรรดาไพร่พลตำรวจก็ยังรู้สึกเป็นสุขที่นายลงมาเห็นว่าพวกเขาทำงานในบริบทเช่นใด!!
มิต้องให้ตำรวจได้มีวันหยุดยาวเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในสังคมไทย เพียงแต่ขอให้ตำรวจไทยได้รับความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเหนื่อยยากบ้างได้หรือไม่? ลองใส่ไมตรีจิตและความเมตตาโดยยิ้มให้ตำรวจ ขอทาแป้งตำรวจ ขอพรมน้ำหอมๆ ให้ตำรวจที่เรียกตรวจคุณอยู่กลางถนนดูเถอะ รับรองได้คุณจะรู้ว่าที่แท้แล้ว ตำรวจไทยไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น