พอกันทีกับความคิดที่ว่า
ภารกิจทำให้ประชาชนรักตำรวจเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งใดคือ
การทำให้ประชาชนคนไทยยอมรับกฎหมายที่ทำให้คนทุกคนทุกชนชั้นอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบ
ข่มเหง ทำร้ายกันไม่ว่าจะโดยวาจา หรือการกระทำใดๆ
ที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นอย่างเกินขอบเขตต่างหาก
รูปธรรมของการไม่เคารพกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายจราจรเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นทุกวัน จนไม่สามารถเชื่อได้แล้วว่า ความไร้วินัย ไร้การเคารพกฎหมายจราจร ไร้การคำนึงถึงสิทธิในการใช้รถใช้ถนนสาธารณะร่วมกับผู้อื่นอย่างปลอดภัยนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการรณรงค์เท่านั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลและผู้ควบคุมบริหารจัดการงบประมาณทั้งหลายจะได้ทบทวนวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่ด้วยวิธีการใหม่ๆ เพราะสิ่งที่รณรงค์กันมากว่า ๑๐ ปี ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนแล้วว่าไร้ประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิผล
อุบัติเหตุจราจรไม่ลดลง การเจ็บการตายจากอุบัติเหตุทางถนนมากขึ้น การละเมิดกฎหมายทวีความรุนแรง และหยาบคายมากขึ้น ถึงแม้ว่าตำรวจจะมีจำนวนสถิติการจับกุม การเรียกตรวจที่มากขึ้นเช่นกัน พร้อมๆ กับการเกลียดชังของผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างไร้วินัยที่มีต่อตำรวจจนสร้างกระแสสะเทือนภาพลักษณ์ตำรวจทั้งองค์กรก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่าตำรวจจะท่องอุดมคติที่ว่า “...อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก ไม่มักมากในลาภผล...” ก็คงจะไม่สามารถยับยั้งความสะเทือนใจของตำรวจกับเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ หากเกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะต้องไม่ลืมว่า ตำรวจไทยทำงานอยู่ในบริบทการทำงานที่ขัดสนขาดแคลนและกำลังรอการปฏิรูปจากรัฐบาลนี้
ชายหนุ่มหน้าตาดีมีการศึกษามีงานทำในองค์กรที่สำคัญไม่น้อยสำหรับสังคมไทย...พัฒนาการเมือง ถูกตำรวจจราจรชั้นประทวนเรียกตรวจรถและจับกุมในข้อหา พ.ร.บ.หมดอายุ ถึงแม้ว่าสำนึกที่ควรจะมีสำหรับผู้ขับขี่ทุกคนคือ พ.ร.บ.เป็นกลไกสำคัญในการประกันชีวิตและคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่เขาใช้เป็นพาหนะขณะถูกจับกุมครั้งนี้ รวมถึงคนไทยควรที่จะได้รับรู้ด้วยว่า สถานการณ์โจรกรรมรถจักรยานยนต์มีสถิติที่สูงมาก มากจนกำลังและทรัพยากรต่างๆ ที่ตำรวจไทยที่มีอยู่นี้ไม่สามารถที่จะไปตามจับ ตามหารถจักรยานยนต์มาคืนผู้เสียหายได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นภารกิจของตำรวจจราจรจึงจำต้องเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งภารกิจ นอกเหนือจากการทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
ตำรวจจราจรยังต้องทำหน้าที่ในการช่วยงานของตำรวจสายป้องกันปราบปรามในการสอดส่องดูแลอาชญากรรมผ่านการเรียกตรวจรถ ตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมายภายในรถ และตรวจติดตามรถที่ถูกโจรกรรมไป รวมถึงการเข้มงวดในเรื่องของการต่อภาษีและการต่อ พ.ร.บ.ด้วยเพราะมีผลกระทบต่อเงินกองทุนที่จะช่วยเหลือเหยื่อที่บาดเจ็บ พิการ และถึงแก่ความตายจากอุบัติเหตุจราจร หากแต่ถ้อยคำผ่านการสื่อสารในโลกออนไลน์ของชายหนุ่มผู้ถูกจับกุมได้สะท้อนตัวอย่างของคนไทย(ส่วนหนึ่ง)ในลักษณะที่ไม่เคารพกฎหมายและไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างที่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นได้ในคนที่มีการศึกษา มีหน้าที่การงานในองค์กรที่ทรงเกียรติของสังคม
“แค้นและอาฆาตมากๆ กับการโดนตำรวจจับ เรื่องแค่นิดดียวคือ พ.ร.บ.หมดอายุเสียค่าปรับ ๒๐๐ บาท ต่อไปนี้ขอสาปแช่ง....” ข้อความที่ชายหนุ่มเขียนยืนยันอย่างชัดเจนถึงความคิดที่ว่า การที่เขาขับขี่รถที่ไม่มี พ.ร.บ.นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เขามีความรู้หรือไม่ว่า ทำไม พ.ร.บ.จึงกลายเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี? พ.ร.บ.เป็นสิ่งที่สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างไร? รวมถึง พ.ร.บ.จะช่วยเหยื่อที่เคราะห์ร้ายในยามที่เขาประมาทในการขับชนจนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ร่วมใช้ทางอย่างไร?
หากเขาใช้ปัญญาในการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองและทบทวนอย่างครบถ้วนจริงจังแล้ว เขาควรที่จะกล่าวคำขอบคุณตำรวจจราจรเสียด้วยซ้ำที่ช่วยเตือนสติเขาเพียงการปรับเงินแค่ ๒๐๐ บาท มิใช่การใช้ถ้อยคำสาปแช่งไปจนถึงครอบครัวของตำรวจชั้นผู้น้อยที่ยืนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยบนท้องถนน คำด่าทอที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอคติถูกตอกย้ำด้วยคำเขียนที่ว่า
“เรานั่งรถหรูไปออกงาน แต่พวกมันเป็นคนเปิดทาง เป็นคนเคลียร์รถ โบกรถ ไอ้ต่ำต้อยเอ๊ย นี่แหละตำรวจจราจรไทย”
“...วุฒิการศึกษาแค่ ม.๖ ทำเป็นเก่งกฎหมาย ...มันก็แค่ปลายแถวเป็นแค่ตำรวจโบกรถไม่ต่างอะไรกับยาม”
และแทนที่ผู้อ่านข้อความจะช่วยกันเตือนสติและวิเคราะห์ความถูกผิด แต่หญิงสาวคนหนึ่งกลับยุยงส่งเสริมว่า “เผาด่านมั้ย?”
การไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจการบังคับตามกฎหมายจราจร และแสดงการต่อต้านขัดขืนอย่างไร้ขอบเขตไร้เหตุผลเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำซากจนก่อร่างแฝงฝังในสังคม รวมถึงความเข้าใจของคนทั่วไปและตำรวจบางนายด้วยว่าบทบาทสำคัญของตำรวจคืองานบริการ? ซึ่งในความถูกต้องแล้วนั้น ตำรวจมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเป็นหลักสำคัญ ไม่ใช่หน้าที่บริการที่ควรจะเป็นเรื่องรองไม่ใช่เรื่องหลัก
หรือว่าป่วยการที่จะมานั่งคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชน(คนไทย)รักตำรวจให้เสียเวลา!!
สู้เอาเวลามานั่งคิดยุทธศาสตร์ว่า ทำอย่างไรจะป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยการบังคับใช้กฎหมายให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นมืออาชีพ มียุทธวิธีที่สมศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มิใช่ ปล่อยตัว ปล่อยกาย ทำตัวโทรม โทรมทั้งการแต่งกาย โทรมทั้งสุขภาพกาย โทรมทั้งสุขภาพจิต ยุทธวิธีในการทำงานก็ไม่เก่ง ความรู้ทางกฎหมายก็ไม่แม่นยำให้ใครเขามาหยาม ย่ำยีได้อีกต่อไป
ถ้าผู้นำตำรวจทั้งหลายยังปล่อยให้ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา (บางส่วนหรือส่วนใหญ่?) โทรมจนชาวบ้านเขาไม่เห็นว่าอยู่ในสายตาได้แล้ว จะมีใครมารัก มาศรัทธา?
รูปธรรมของการไม่เคารพกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายจราจรเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นทุกวัน จนไม่สามารถเชื่อได้แล้วว่า ความไร้วินัย ไร้การเคารพกฎหมายจราจร ไร้การคำนึงถึงสิทธิในการใช้รถใช้ถนนสาธารณะร่วมกับผู้อื่นอย่างปลอดภัยนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการรณรงค์เท่านั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลและผู้ควบคุมบริหารจัดการงบประมาณทั้งหลายจะได้ทบทวนวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่ด้วยวิธีการใหม่ๆ เพราะสิ่งที่รณรงค์กันมากว่า ๑๐ ปี ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนแล้วว่าไร้ประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิผล
อุบัติเหตุจราจรไม่ลดลง การเจ็บการตายจากอุบัติเหตุทางถนนมากขึ้น การละเมิดกฎหมายทวีความรุนแรง และหยาบคายมากขึ้น ถึงแม้ว่าตำรวจจะมีจำนวนสถิติการจับกุม การเรียกตรวจที่มากขึ้นเช่นกัน พร้อมๆ กับการเกลียดชังของผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างไร้วินัยที่มีต่อตำรวจจนสร้างกระแสสะเทือนภาพลักษณ์ตำรวจทั้งองค์กรก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่าตำรวจจะท่องอุดมคติที่ว่า “...อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก ไม่มักมากในลาภผล...” ก็คงจะไม่สามารถยับยั้งความสะเทือนใจของตำรวจกับเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ หากเกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะต้องไม่ลืมว่า ตำรวจไทยทำงานอยู่ในบริบทการทำงานที่ขัดสนขาดแคลนและกำลังรอการปฏิรูปจากรัฐบาลนี้
ชายหนุ่มหน้าตาดีมีการศึกษามีงานทำในองค์กรที่สำคัญไม่น้อยสำหรับสังคมไทย...พัฒนาการเมือง ถูกตำรวจจราจรชั้นประทวนเรียกตรวจรถและจับกุมในข้อหา พ.ร.บ.หมดอายุ ถึงแม้ว่าสำนึกที่ควรจะมีสำหรับผู้ขับขี่ทุกคนคือ พ.ร.บ.เป็นกลไกสำคัญในการประกันชีวิตและคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่เขาใช้เป็นพาหนะขณะถูกจับกุมครั้งนี้ รวมถึงคนไทยควรที่จะได้รับรู้ด้วยว่า สถานการณ์โจรกรรมรถจักรยานยนต์มีสถิติที่สูงมาก มากจนกำลังและทรัพยากรต่างๆ ที่ตำรวจไทยที่มีอยู่นี้ไม่สามารถที่จะไปตามจับ ตามหารถจักรยานยนต์มาคืนผู้เสียหายได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นภารกิจของตำรวจจราจรจึงจำต้องเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งภารกิจ นอกเหนือจากการทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
ตำรวจจราจรยังต้องทำหน้าที่ในการช่วยงานของตำรวจสายป้องกันปราบปรามในการสอดส่องดูแลอาชญากรรมผ่านการเรียกตรวจรถ ตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมายภายในรถ และตรวจติดตามรถที่ถูกโจรกรรมไป รวมถึงการเข้มงวดในเรื่องของการต่อภาษีและการต่อ พ.ร.บ.ด้วยเพราะมีผลกระทบต่อเงินกองทุนที่จะช่วยเหลือเหยื่อที่บาดเจ็บ พิการ และถึงแก่ความตายจากอุบัติเหตุจราจร หากแต่ถ้อยคำผ่านการสื่อสารในโลกออนไลน์ของชายหนุ่มผู้ถูกจับกุมได้สะท้อนตัวอย่างของคนไทย(ส่วนหนึ่ง)ในลักษณะที่ไม่เคารพกฎหมายและไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างที่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นได้ในคนที่มีการศึกษา มีหน้าที่การงานในองค์กรที่ทรงเกียรติของสังคม
“แค้นและอาฆาตมากๆ กับการโดนตำรวจจับ เรื่องแค่นิดดียวคือ พ.ร.บ.หมดอายุเสียค่าปรับ ๒๐๐ บาท ต่อไปนี้ขอสาปแช่ง....” ข้อความที่ชายหนุ่มเขียนยืนยันอย่างชัดเจนถึงความคิดที่ว่า การที่เขาขับขี่รถที่ไม่มี พ.ร.บ.นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เขามีความรู้หรือไม่ว่า ทำไม พ.ร.บ.จึงกลายเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี? พ.ร.บ.เป็นสิ่งที่สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างไร? รวมถึง พ.ร.บ.จะช่วยเหยื่อที่เคราะห์ร้ายในยามที่เขาประมาทในการขับชนจนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ร่วมใช้ทางอย่างไร?
หากเขาใช้ปัญญาในการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองและทบทวนอย่างครบถ้วนจริงจังแล้ว เขาควรที่จะกล่าวคำขอบคุณตำรวจจราจรเสียด้วยซ้ำที่ช่วยเตือนสติเขาเพียงการปรับเงินแค่ ๒๐๐ บาท มิใช่การใช้ถ้อยคำสาปแช่งไปจนถึงครอบครัวของตำรวจชั้นผู้น้อยที่ยืนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยบนท้องถนน คำด่าทอที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอคติถูกตอกย้ำด้วยคำเขียนที่ว่า
“เรานั่งรถหรูไปออกงาน แต่พวกมันเป็นคนเปิดทาง เป็นคนเคลียร์รถ โบกรถ ไอ้ต่ำต้อยเอ๊ย นี่แหละตำรวจจราจรไทย”
“...วุฒิการศึกษาแค่ ม.๖ ทำเป็นเก่งกฎหมาย ...มันก็แค่ปลายแถวเป็นแค่ตำรวจโบกรถไม่ต่างอะไรกับยาม”
และแทนที่ผู้อ่านข้อความจะช่วยกันเตือนสติและวิเคราะห์ความถูกผิด แต่หญิงสาวคนหนึ่งกลับยุยงส่งเสริมว่า “เผาด่านมั้ย?”
การไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจการบังคับตามกฎหมายจราจร และแสดงการต่อต้านขัดขืนอย่างไร้ขอบเขตไร้เหตุผลเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำซากจนก่อร่างแฝงฝังในสังคม รวมถึงความเข้าใจของคนทั่วไปและตำรวจบางนายด้วยว่าบทบาทสำคัญของตำรวจคืองานบริการ? ซึ่งในความถูกต้องแล้วนั้น ตำรวจมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเป็นหลักสำคัญ ไม่ใช่หน้าที่บริการที่ควรจะเป็นเรื่องรองไม่ใช่เรื่องหลัก
หรือว่าป่วยการที่จะมานั่งคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชน(คนไทย)รักตำรวจให้เสียเวลา!!
สู้เอาเวลามานั่งคิดยุทธศาสตร์ว่า ทำอย่างไรจะป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยการบังคับใช้กฎหมายให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นมืออาชีพ มียุทธวิธีที่สมศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มิใช่ ปล่อยตัว ปล่อยกาย ทำตัวโทรม โทรมทั้งการแต่งกาย โทรมทั้งสุขภาพกาย โทรมทั้งสุขภาพจิต ยุทธวิธีในการทำงานก็ไม่เก่ง ความรู้ทางกฎหมายก็ไม่แม่นยำให้ใครเขามาหยาม ย่ำยีได้อีกต่อไป
ถ้าผู้นำตำรวจทั้งหลายยังปล่อยให้ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา (บางส่วนหรือส่วนใหญ่?) โทรมจนชาวบ้านเขาไม่เห็นว่าอยู่ในสายตาได้แล้ว จะมีใครมารัก มาศรัทธา?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น