* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๑๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อมูลโดยย่อ : ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าเมื่อครั้งผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่ งานป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้มีหนังสือจากผู้บังคับบัญชาให้ไปตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด (ยาบ้า) ในร่างกาย ผลการตรวจพิสูจน์พบสารเสพติดประเภท ๕ (กัญชา) ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้ง ๒ ชนิด ต่อมาผู้ฟ้องคดีถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหนองมะโมงได้มีคำสั่งที่ ๕๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๑แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดี กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยมีพฤติการณ์เสพยาเสพติดให้โทษและตำรวจภูธรภาค ๑ ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดีได้ติดตามผลการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงเป็นเวลา ๓ ปีกว่าจึงได้มีคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๑ ที่ ๒๕๙/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๕ ให้ยุติเรื่องทางวินัยและให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการผู้ฟ้องคดีได้ไป รายงานตัวกลับเข้ารับราชการที่สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ สุจริต มาจนครบ ๑ ปี ก็ได้รับคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๑ ที่ ๓๙๑/๒๕๔๖ ลงโทษไล่ออกจากราชการ โดยอ้างว่าอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยคณะที่ ๒ (อ.ก.ตร.วินัยคณะที่ ๒) ทำการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติให้ไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการเพราะเหตุจากผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไปร่วมรับประทานอาหารและดื่มสุรากับนายสมชายที่บ้านของนายสมชายที่ตั้งอยู่ในซอยน้ำใส แขวงสะพานใหม่ เขตดอนเมือง เป็นเหตุให้พบกัญชาในการตรวจร่างกาย แต่ที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชนของนายสมชายระบุว่าอยู่บ้านเลขที่...หมู่บ้านฝนทองนิเวศน์ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ขัดกับข้อเท็จจริง ไม่น่าเชื่อว่าเป็นการให้การตามความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีรับว่านายสมชายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่... หมู่บ้านฝนทองนิเวศน์ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร แต่นายสมชายไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น แต่ได้มาขอแบ่งเช่าบ้านที่อยู่ในซอยน้ำใส แขวงสะพานใหม่ เขตดอนเมือง เพราะว่าบ้านที่นายสมชายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่นั้นเป็นเพียงอาศัยชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดั่งเช่นคนอื่นๆ ที่มาอาศัยเรียนหนังสือหรือทำงานในกรุงเทพมหานคร มติของ อ.ก.ตร.วินัย คณะที่ ๒ อ้างเพียงว่า บ้านของนายสมชายที่ผู้ฟ้องคดีชี้แจงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อมาอนุกรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ได้พิจารณามีมติให้ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องศาล
* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อง๑๒๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อมูลโดยย่อ : นี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เดิมผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งผู้บังคับหมู่สถานีตำรวจภูธรตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการถูกดำเนินการทางวินัยจนถูกไล่ออก จากราชการ กรณีถูกร้องเรียนว่ากระทำการขู่เข็ญนายจำนงค์พยานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๒ ที่ ๑๐๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗ และอุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มีหนังสือที่ ตช ๐๐๐๙.๕/๕๙๑ ไม่ลงวันที่ระบุเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ แจ้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี คำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีเป็นการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม ผู้ร้องเรียนและพวกของผู้ร้องเรียนมีสาเหตุโกรธเคืองผู้ฟ้องคดี แต่มาเป็นพยานในการดำเนินการทางวินัยและในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ฟ้องคดี มีการว่าจ้างและขู่เข็ญนายจำนงค์และนายเกชาให้มาเป็นพยาน นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดียังถูกดำเนินการทางวินัยกรณีถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ แต่ขณะฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดียังไม่ทราบผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง
* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๗/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ข้อมูลโดยย่อ : ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีเป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เวลากลางคืนเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดินแดงในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีได้จับกุมดำเนินคดีนายชยกรกับพวกพร้อมกับได้ยึดรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า สีน้ำเงิน คันหมายเลขทะเบียน นษจ ๔๒ กรุงเทพมหานคร ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งนายชยกรกับพวกใช้ขับขี่แข่งขันกันในทางเดินรถสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้เป็นของกลาง ต่อมาวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว ๑ ได้ยื่นฟ้องนายชยกรกับพวกต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๖๗๑/๒๕๔๕ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษนายชยกรกับพวกไว้มีกำหนดหนึ่งปีพร้อมคุมความประพฤติ และสั่งให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า สีน้ำเงิน หมายเลขทะเบียน นษจ ๔๒ กรุงเทพมหานคร ของกลางคืนเนื่องจากผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวและผู้ฟ้องคดีก็มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของนายชยกรกับพวก ต่อมาวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๕ ศาลจึงได้มีคำสั่งให้คืนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีคู่ความในคดีของศาลเยาชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ๓๖๗๑/๒๕๔๕ มิได้อุทธรณ์คำพิพากษา คดีจึงถึงที่สุด ต่อมาวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้ขอรับรถจักรยานยนต์คันพิพาทคืนจากสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ร้อยตำรวจโทสาครพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้คืนรถจักรยานยนต์คันพิพาทโดยมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ถูกถอดออกไปหลายรายการ โดยชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกถอดออกไปในขณะที่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดินแดงซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพย์ของกลางได้ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีคือ
(๑) ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการซ่อมแซมรถจักรยานยนต์คันพิพาท เพื่อให้ใช้การได้ดังเดิมหลายรายการพร้อมค่าแรงเป็นเงิน ๑๔,๓๓๔.๘๑ บาท
(๒) ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ฟ้องคดียังมิได้ซ่อมแซม ได้แก่ กล่องไฟซีดีไอ ราคา ๒,๘๐๐ บาท ท่อคาร์บอน ราคา ๒,๙๐๐ บาท รวมค่าเสียหายทั้งหมดเป็นเงินจำนวน ๒๐,๐๓๔.๘๑ บาท
ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๖๙/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อมูลโดยย่อ : นี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้มีประกาศสำนักงานกำลังพลลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกด้วยวิธีสอบบุคคลภายนอกเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรผู้มีวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศสำนักงานกำลังพลลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกด้วยวิธีสอบข้าราชการตำรวจเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยในผนวก ง. ข้อ ๓.๓ ท้ายประกาศสำนักงานกำลังพล ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ และในผนวก ฉ. ข้อ ๓.๓ ท้ายประกาศสำนักงานกำลังพล ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๕ กำหนดให้มีการทดสอบบุคลิกภาพด้วย ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนได้เข้าสอบข้อเขียนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ซึ่งปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนสอบผ่านข้อเขียน และต่อมาได้เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยสอบวิ่งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ สอบว่ายน้ำเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ และเข้ารับการทดสอบบุคลิกภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๖ ได้มีการประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านและสอบไม่ผ่านการทดสอบบุคลิกภาพ ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนสอบไม่ผ่านจึงได้ทำหนังสือเพื่อขอทราบเหตุผลว่าเหตุใดจึงสอบไม่ผ่านแต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน และมีเหตุน่าเชื่อว่าการสอบบุคลิกภาพครั้งนี้ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรมแก่ผู้เข้าสอบทุกคน อีกทั้งระบบการทดสอบบุคลิกภาพก็ไม่ได้เป็นไปตามระบบมาตรฐานสากลโดยมีเพียงการแปลผลจากการตอบแบบทดสอบเพียงอย่างเดียว ต่อมาในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนได้ไปสอบถามผู้ถูกฟ้องคดีว่าเหตุใดข้าราชการตำรวจจึงต้องเข้ารับการทดสอบบุคลิกภาพ ก็ได้รับแจ้งว่าตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๖.๓๓/๑๕๒๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ เรื่องนโยบายและหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ มีมติเห็นชอบในหลักการในการนำการทดสอบบุคลิกภาพเพื่อการคัดเลือกบุคคลภายนอกเข้ารับราชการเป็นนักเรียนพลตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจและข้าราชการตำรวจในตำแหน่งกลุ่มสายงานป้องกันปราบปรามของกรมตำรวจตามที่ อ.ก.ตร. ระบบการบริหารงานบุคคลเสนอมาใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนเห็นว่าหลักปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ ที่ ๐๐๐๖.๓๓/๑๕๒๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ และมติ ก.ตร. ดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้ใช้การทดสอบบุคลิกภาพกับบุคคลภายนอกแต่มิได้ให้ใช้ กับข้าราชการตำรวจ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๖.๓๓/๑๕๒๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ และมติ ก.ตร. มาบังคับใช้ในประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกดังกล่าว ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนถูกจำกัดสิทธิในการสอบเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น และเสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย นอกจากนี้การคัดเลือกด้วยวิธีสอบครั้งนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนเป็นผู้สอบข้อเขียนได้ และอยู่ในลำดับที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรตามสิทธิอันชอบธรรมขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๙๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ข้อมูลโดยย่อ : ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า นางนันทิชาพี่สาวของผู้ฟ้องคดีได้ยักยอกฉ้อโกงทรัพย์มรดกของนายสมุทรซึ่งเป็นบิดาของผู้ฟ้องคดีและของนางนันทิชาด้วยการโอนขายที่ดินมรดกให้กับนายสมนึกโดยไม่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีและพี่น้องคนอื่นๆ ทราบ นอกจากนี้นางนันทิชายังได้กลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีจนไม่สามารถอยู่อย่างปกติได้ รวมทั้งไม่มีอาชีพและไม่มีที่อยู่อาศัย จึงไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้ถูกฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินคดีต่อนางนันทิชา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ดำเนินการใดๆ จึงนำคดีมาฟ้องศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีเร่งรัดคดี และนำตัวนางนันทิชามาสอบสวนภายในเจ็ดวันและส่งฟ้องคดีต่อศาล
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔
เรื่อง : กรณีพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีอาญาโดยไม่ชอบและทุจริต
ข้อมูลโดยย่อ : พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่ดำเนินการสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ฟ้องคดีทราบบิดเบือนข้อเท็จจริงแห่งคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้เสียหายกรณีนายน้อยได้ไปแจ้งความร้องทุกข์กับร้อยตำรวจเอกสุทัศน์เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ละเมิดรัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองการใช้อำนาจของรัฐต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ลุแก่อำนาจ ริดรอนสิทธิ ทำลายความสงบสุขของสังคม ตำรวจเป็นเจ้าพนักงานของรัฐผู้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐบาลอันเป็นคดีปกครอง ผู้ฟ้องคดีจึงขออุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและมีคำขอ ๓ ประการคือ
๑. ให้ศาลปกครองสูงสุดรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฯ ของผู้ฟ้องคดีไว้วินิจฉัย
๒. ขอให้ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้ชะลอการพิจารณาคดีไว้ก่อน
๓. ขอให้ส่งคดีนี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าพนักงานสอบสวนนำความเท็จมาฟ้องศาลขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๔
เรื่อง : ขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย
ข้อมูลโดยย่อ :ผู้ฟ้องคดีถูกผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบ เป็นการออกคำสั่งโดยโทสจริต มีอคติ และมีความพยาบาทเป็นส่วนตัวกับผู้ฟ้องคดีตามคำสั่งกองกำกับการพิเศษ สถาบันนิติเวชวิทยา ที่ ๓/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๔ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการ ขอให้ศาลปกครองชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๐/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๔
เรื่อง : ขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ
ข้อมูลโดยย่อ :ผู้ฟ้องคดีเคยรับราชการตำรวจตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๖ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ผู้ฟ้องคดีได้ถูกศาลจังหวัดนครพนมพิพากษาตัดสินในคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกายราษฎร ให้จำคุก ๑ ปี ปรับ ๒,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ซึ่งเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีถูกลงโทษทางวินัยไล่ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์ คำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจและได้รับทราบผลการ พิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ว่ารองนายกรัฐมนตรีสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ยก อุทธรณ์ตามมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ผู้ฟ้องคดีจึงนำเรื่องนี้มายื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๔
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อมูลโดยย่อ : ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าเมื่อครั้งผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่ งานป้องกันและปราบปรามสถานีตำรวจภูธรอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้มีหนังสือจากผู้บังคับบัญชาให้ไปตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด (ยาบ้า) ในร่างกาย ผลการตรวจพิสูจน์พบสารเสพติดประเภท ๕ (กัญชา) ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้ง ๒ ชนิด ต่อมาผู้ฟ้องคดีถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหนองมะโมงได้มีคำสั่งที่ ๕๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๑แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดี กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยมีพฤติการณ์เสพยาเสพติดให้โทษและตำรวจภูธรภาค ๑ ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดีได้ติดตามผลการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงเป็นเวลา ๓ ปีกว่าจึงได้มีคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๑ ที่ ๒๕๙/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๕ ให้ยุติเรื่องทางวินัยและให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการผู้ฟ้องคดีได้ไป รายงานตัวกลับเข้ารับราชการที่สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ สุจริต มาจนครบ ๑ ปี ก็ได้รับคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๑ ที่ ๓๙๑/๒๕๔๖ ลงโทษไล่ออกจากราชการ โดยอ้างว่าอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยคณะที่ ๒ (อ.ก.ตร.วินัยคณะที่ ๒) ทำการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติให้ไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการเพราะเหตุจากผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไปร่วมรับประทานอาหารและดื่มสุรากับนายสมชายที่บ้านของนายสมชายที่ตั้งอยู่ในซอยน้ำใส แขวงสะพานใหม่ เขตดอนเมือง เป็นเหตุให้พบกัญชาในการตรวจร่างกาย แต่ที่อยู่ตามบัตรประจำตัวประชาชนของนายสมชายระบุว่าอยู่บ้านเลขที่...หมู่บ้านฝนทองนิเวศน์ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ขัดกับข้อเท็จจริง ไม่น่าเชื่อว่าเป็นการให้การตามความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีรับว่านายสมชายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่... หมู่บ้านฝนทองนิเวศน์ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร แต่นายสมชายไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น แต่ได้มาขอแบ่งเช่าบ้านที่อยู่ในซอยน้ำใส แขวงสะพานใหม่ เขตดอนเมือง เพราะว่าบ้านที่นายสมชายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่นั้นเป็นเพียงอาศัยชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดั่งเช่นคนอื่นๆ ที่มาอาศัยเรียนหนังสือหรือทำงานในกรุงเทพมหานคร มติของ อ.ก.ตร.วินัย คณะที่ ๒ อ้างเพียงว่า บ้านของนายสมชายที่ผู้ฟ้องคดีชี้แจงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อมาอนุกรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ได้พิจารณามีมติให้ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องศาล
* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อง๑๒๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อมูลโดยย่อ : นี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เดิมผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งผู้บังคับหมู่สถานีตำรวจภูธรตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการถูกดำเนินการทางวินัยจนถูกไล่ออก จากราชการ กรณีถูกร้องเรียนว่ากระทำการขู่เข็ญนายจำนงค์พยานในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๒ ที่ ๑๐๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗ และอุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มีหนังสือที่ ตช ๐๐๐๙.๕/๕๙๑ ไม่ลงวันที่ระบุเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ แจ้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี คำสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีเป็นการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม ผู้ร้องเรียนและพวกของผู้ร้องเรียนมีสาเหตุโกรธเคืองผู้ฟ้องคดี แต่มาเป็นพยานในการดำเนินการทางวินัยและในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ฟ้องคดี มีการว่าจ้างและขู่เข็ญนายจำนงค์และนายเกชาให้มาเป็นพยาน นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดียังถูกดำเนินการทางวินัยกรณีถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ แต่ขณะฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดียังไม่ทราบผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง
* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๗/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ข้อมูลโดยย่อ : ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีเป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เวลากลางคืนเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดินแดงในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีได้จับกุมดำเนินคดีนายชยกรกับพวกพร้อมกับได้ยึดรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า สีน้ำเงิน คันหมายเลขทะเบียน นษจ ๔๒ กรุงเทพมหานคร ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งนายชยกรกับพวกใช้ขับขี่แข่งขันกันในทางเดินรถสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้เป็นของกลาง ต่อมาวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว ๑ ได้ยื่นฟ้องนายชยกรกับพวกต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๖๗๑/๒๕๔๕ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษนายชยกรกับพวกไว้มีกำหนดหนึ่งปีพร้อมคุมความประพฤติ และสั่งให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า สีน้ำเงิน หมายเลขทะเบียน นษจ ๔๒ กรุงเทพมหานคร ของกลางคืนเนื่องจากผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวและผู้ฟ้องคดีก็มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของนายชยกรกับพวก ต่อมาวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๕ ศาลจึงได้มีคำสั่งให้คืนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดีคู่ความในคดีของศาลเยาชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ๓๖๗๑/๒๕๔๕ มิได้อุทธรณ์คำพิพากษา คดีจึงถึงที่สุด ต่อมาวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้ขอรับรถจักรยานยนต์คันพิพาทคืนจากสถานีตำรวจนครบาลดินแดง ร้อยตำรวจโทสาครพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้คืนรถจักรยานยนต์คันพิพาทโดยมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ถูกถอดออกไปหลายรายการ โดยชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกถอดออกไปในขณะที่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลดินแดงซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพย์ของกลางได้ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีคือ
(๑) ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการซ่อมแซมรถจักรยานยนต์คันพิพาท เพื่อให้ใช้การได้ดังเดิมหลายรายการพร้อมค่าแรงเป็นเงิน ๑๔,๓๓๔.๘๑ บาท
(๒) ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ฟ้องคดียังมิได้ซ่อมแซม ได้แก่ กล่องไฟซีดีไอ ราคา ๒,๘๐๐ บาท ท่อคาร์บอน ราคา ๒,๙๐๐ บาท รวมค่าเสียหายทั้งหมดเป็นเงินจำนวน ๒๐,๐๓๔.๘๑ บาท
ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
* คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๖๙/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อมูลโดยย่อ : นี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้มีประกาศสำนักงานกำลังพลลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกด้วยวิธีสอบบุคคลภายนอกเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรผู้มีวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศสำนักงานกำลังพลลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกด้วยวิธีสอบข้าราชการตำรวจเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยในผนวก ง. ข้อ ๓.๓ ท้ายประกาศสำนักงานกำลังพล ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ และในผนวก ฉ. ข้อ ๓.๓ ท้ายประกาศสำนักงานกำลังพล ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๕ กำหนดให้มีการทดสอบบุคลิกภาพด้วย ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนได้เข้าสอบข้อเขียนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ซึ่งปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนสอบผ่านข้อเขียน และต่อมาได้เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยสอบวิ่งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ สอบว่ายน้ำเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ และเข้ารับการทดสอบบุคลิกภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๖ ได้มีการประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านและสอบไม่ผ่านการทดสอบบุคลิกภาพ ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนสอบไม่ผ่านจึงได้ทำหนังสือเพื่อขอทราบเหตุผลว่าเหตุใดจึงสอบไม่ผ่านแต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน และมีเหตุน่าเชื่อว่าการสอบบุคลิกภาพครั้งนี้ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรมแก่ผู้เข้าสอบทุกคน อีกทั้งระบบการทดสอบบุคลิกภาพก็ไม่ได้เป็นไปตามระบบมาตรฐานสากลโดยมีเพียงการแปลผลจากการตอบแบบทดสอบเพียงอย่างเดียว ต่อมาในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนได้ไปสอบถามผู้ถูกฟ้องคดีว่าเหตุใดข้าราชการตำรวจจึงต้องเข้ารับการทดสอบบุคลิกภาพ ก็ได้รับแจ้งว่าตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๖.๓๓/๑๕๒๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ เรื่องนโยบายและหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ มีมติเห็นชอบในหลักการในการนำการทดสอบบุคลิกภาพเพื่อการคัดเลือกบุคคลภายนอกเข้ารับราชการเป็นนักเรียนพลตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจและข้าราชการตำรวจในตำแหน่งกลุ่มสายงานป้องกันปราบปรามของกรมตำรวจตามที่ อ.ก.ตร. ระบบการบริหารงานบุคคลเสนอมาใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนเห็นว่าหลักปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ ที่ ๐๐๐๖.๓๓/๑๕๒๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ และมติ ก.ตร. ดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้ใช้การทดสอบบุคลิกภาพกับบุคคลภายนอกแต่มิได้ให้ใช้ กับข้าราชการตำรวจ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๖.๓๓/๑๕๒๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ และมติ ก.ตร. มาบังคับใช้ในประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกดังกล่าว ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนถูกจำกัดสิทธิในการสอบเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น และเสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย นอกจากนี้การคัดเลือกด้วยวิธีสอบครั้งนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกคนเป็นผู้สอบข้อเขียนได้ และอยู่ในลำดับที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรตามสิทธิอันชอบธรรมขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๙๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
เรื่อง : คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ข้อมูลโดยย่อ : ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า นางนันทิชาพี่สาวของผู้ฟ้องคดีได้ยักยอกฉ้อโกงทรัพย์มรดกของนายสมุทรซึ่งเป็นบิดาของผู้ฟ้องคดีและของนางนันทิชาด้วยการโอนขายที่ดินมรดกให้กับนายสมนึกโดยไม่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีและพี่น้องคนอื่นๆ ทราบ นอกจากนี้นางนันทิชายังได้กลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีจนไม่สามารถอยู่อย่างปกติได้ รวมทั้งไม่มีอาชีพและไม่มีที่อยู่อาศัย จึงไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้ถูกฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินคดีต่อนางนันทิชา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ดำเนินการใดๆ จึงนำคดีมาฟ้องศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีเร่งรัดคดี และนำตัวนางนันทิชามาสอบสวนภายในเจ็ดวันและส่งฟ้องคดีต่อศาล
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔
เรื่อง : กรณีพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีอาญาโดยไม่ชอบและทุจริต
ข้อมูลโดยย่อ : พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่ดำเนินการสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ฟ้องคดีทราบบิดเบือนข้อเท็จจริงแห่งคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้เสียหายกรณีนายน้อยได้ไปแจ้งความร้องทุกข์กับร้อยตำรวจเอกสุทัศน์เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ละเมิดรัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองการใช้อำนาจของรัฐต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ลุแก่อำนาจ ริดรอนสิทธิ ทำลายความสงบสุขของสังคม ตำรวจเป็นเจ้าพนักงานของรัฐผู้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐบาลอันเป็นคดีปกครอง ผู้ฟ้องคดีจึงขออุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและมีคำขอ ๓ ประการคือ
๑. ให้ศาลปกครองสูงสุดรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฯ ของผู้ฟ้องคดีไว้วินิจฉัย
๒. ขอให้ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้ชะลอการพิจารณาคดีไว้ก่อน
๓. ขอให้ส่งคดีนี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าพนักงานสอบสวนนำความเท็จมาฟ้องศาลขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๔
เรื่อง : ขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย
ข้อมูลโดยย่อ :ผู้ฟ้องคดีถูกผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบ เป็นการออกคำสั่งโดยโทสจริต มีอคติ และมีความพยาบาทเป็นส่วนตัวกับผู้ฟ้องคดีตามคำสั่งกองกำกับการพิเศษ สถาบันนิติเวชวิทยา ที่ ๓/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๔ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการ ขอให้ศาลปกครองชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
* คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๐/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๔
เรื่อง : ขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ
ข้อมูลโดยย่อ :ผู้ฟ้องคดีเคยรับราชการตำรวจตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๖ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ผู้ฟ้องคดีได้ถูกศาลจังหวัดนครพนมพิพากษาตัดสินในคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกายราษฎร ให้จำคุก ๑ ปี ปรับ ๒,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ซึ่งเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีถูกลงโทษทางวินัยไล่ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์ คำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจและได้รับทราบผลการ พิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ว่ารองนายกรัฐมนตรีสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ยก อุทธรณ์ตามมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ผู้ฟ้องคดีจึงนำเรื่องนี้มายื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น