






การอบรมวันนี้มีดังนี้
เวลา ๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ น.ลงทะเบียน






จากนั้นเข้่าสู่ห้องประชุมโดยผู้บังคับบัญชากรุณามอบหมายให้ผมทำหน้าที่พิธีกรในการอบรมครั้งนี้อีกหน้าที่หนึ่ง






เวลา ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น.เป็นการบรรยายของอาจารย์วรสฤษดิ์ ปิงเมือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายในหัวข้อเกี่ยวกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง



เวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น.เป็นการบรรยายของ พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์ รองผู้บัญชการตำรวจสอบสวนกลางซึ่งเป็นหัวหน้่าวิทยากรโครงการ อบถ.ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในหัวข้อบทบาทของตำรวจในการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน




ผลสรุปจากการประชุมสัมมนาของตำรวจผู้บริหารงานจราจรระดับตำรวจภูธรจังหวัดและระดับตำรวจภูธรภาครวมทั้งตำรวจทางหลวงและตำรวจนครบาลทั่วประเทศร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องในหลายครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดประชุมสัมมนาจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) โครงการสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (ศอจร.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ผ่านมาพบว่า “การแก้ปัญหาที่สาเหตุ” จะเป็นคำตอบสุดท้ายของแนวทางการแก้ไขและป้องกัน อบถ. เสมอ นั่นคือที่มาของ “โครงการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย
๑. พนักงานสอบสวนเวรรับผิดชอบประจำสถานีตำรวจท้องที่ที่ได้รับแจ้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนซึ่งออกไปสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำผิดในคดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอยู่แล้ว ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุอื่นๆประกอบเพิ่มเติมด้วย ได้แก่ สภาพของรถ สภาพของถนน และสภาพแวดล้อมบริเวณถนนที่เกิดเหตุ ซึ่งอาจจะเป็นองค์ประกอบที่เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วยนอกเหนือจากความประมาทของคนขับรถโดยมีตำรวจจราจรอีก ๑ คน เป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนที่ร่วมตรวจและสืบสวน อบถ. ตามแบบรายงานการสืบสวน อบถ. ที่กำหนดไว้
๒. คณะกรรมการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน (กปถ.) ของสถานีตำรวจท้องที่ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าสถานีตำรวจ รอง ผกก. และ สว. ที่ทำหน้าที่จราจรร่วมกันประชุมวิเคราะห์ข้อมูล อบถ. ตามแบบรายงานการสืบสวน อบถ. ดังกล่าวเพื่อสรุปหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกัน อบถ. ที่ถูกต้องตรงจุดต่อไป
๓. คณะกรรมการ กปถ. อำเภอ ซึ่งประกอบด้วยตำรวจท้องที่และภาคีเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องภายในอำเภอ เช่น ปภ. ขนส่งทางบก การทาง สาธารณสุข ประกันภัย สถาบันการศึกษา เป็นต้น ร่วมกันประชุมพิจารณาผลสรุปสาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกัน อบถ. ที่เกิดขึ้นตามที่คณะกรรมการ กปถ. สถานีตำรวจรวบรวมเสนอในรอบระยะเวลา ๑ เดือน เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน อบถ.ในภาพรวมระดับอำเภอ
๔. คณะกรรมการ กปถ. ระดับจังหวัด ตำรวจภูธรภาคและ ตร. ร่วมกันประชุมพิจารณาผลสรุปของสาเหตุและแนวทางแก้ไขป้องกัน อบถ. ที่เกิดขึ้นตามที่คณะกรรมการ กปถ. อำเภอ จังหวัด และตำรวจภูธรภาค รวบรวมเสนอตามลำดับจนถึงระดับ ตร. ในรอบระยะเวลา ๑ เดือน โดยมีการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็คทรอนิคส์ในทุกระดับของคณะกรรมการ กปถ. เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน อบถ. ในภาพรวมของประเทศต่อไป
(รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนนนั้นท่านสามารถคลิกดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.roadsafetyteam.police.go.th)
<< ภาพประกอบ (๖๒ ภาพ) >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น