วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศัพท์เสียงสำเนียงร่ะยองเพื่อพี่น้องไทย : ดุ๋ม (๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๗)

แมะ : เอ้ออีหนู ออกไปดูที่หน้าบ้านฮิว่าพร่ะมาบิ้นบาด(บิณฑบาต)ใกล้จ้ะถึงบ้านเหรายัง (เราหรือยัง)
ลูกสาว : ตอนนี่พร่ะอยู่ที่บ้านพ่อแก่แม่คุณ (ตายาย) ดุ๋มท่านพี่จุกจ้ะมาด้วย งั่นเดี๋ยวแช้นขอเป็นคนตักบาตรเองหนะแมะหนะ หนะ หนะ
แมะ : แหม่ พอท่านจุกมาก็เป็นงี่ทุ่กทีเลยลูกกูนี่ เอ้า ตักก็ตัก ฮิฮิ

"ดุ๋ม” หรือ "ดุ๊ม" (บางแห่งพูด “ดึ๋ม,ดึ๊ม”) ศัพท์เสียงสำเนียงร่ะยองก็คือคำว่า “ดูเหมือน,ดูเหมือนว่า” ในภาษาภาคกลางครับซึ่งการพูดของคนร่ะยองเรานั้นส่วนหนึ่งจะพูดในลักษณะรวบคำหลายๆ คำเข้ามาไว้เป็นคำคำเดียวกันแบบเร็วๆ เพราะฉะนั้น “ดูเหมือน,ดูเหมือนว่า” ก็เลยกลายมาเป็น “ดุ๋ม” หรือ "ดุ๊ม" ด้วยประการฉะนี้ (อีกคำหนึ่งที่คนร่ะยองเราพูดและมีความหมายเหมือนกันนั่นก็คือ “แหลม” ซึ่งมาจาก “แลเหมือน,แลเหมือนว่า” ครับพี่น้อง)

จากสุพจน์ มัจฉา ลูกเพาะเหียน แมะเผือน มัจฉา คนบ้านพังราดไทย หมู่ ๔ ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวั่ดร่ะยอง

ภาพข้างล่างเนี่ย เถ้า(ถ้า)ใครไม่รู่ที่มาที่ไปอาจจ้ะพูดว่า “แหม่ ดูฮิ คา(ใครน่ะ) แหลมบ้า” ... ไม่ฉ่า(ไม่ใช่หรอก)พี่น่อง คนคนนี่ไม่ได้บ้าเหาะ(หรอก) น่ารั่กกว่าเค้าเช่ด เอาได้ แต่ที่เป็นงี่น่ะเค้าไม่ส้ะบาย “น่าสมเพด”ด้วยเกี๊ย ว่าแม้ (แหลม : คำร่ะยอง=แลเหมือน,แลเหมือนว่า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น